<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_painbottom_hip.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> บาดเจ็บบริเวณต้นขา  ก้น ตะโพก

 

 

   ท่านที่ไม่ได้วิ่งอยู่เป็นประจำ  ถ้าลองไปวิ่งแข่งกับเพื่อนๆ ระยะทางแค่ 400 เมตร  จะพบว่าเมื่อหยุดวิ่งหรือวิ่งถึงเส้นชัยแล้ว  จะมีอาการปวดที่ก้นมาก  ขนาดนักวิ่งที่ฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขันอยู่เป็นประจำยังมีอาการเลย   นักวิ่งระดับชาติคนหนึ่งมาพบข้าพเจ้าแล้วพูดว่า " คุณหมอขา หนูปวดตูด "  ( ขอประทานโทษที่ไม่สุภาพ  แต่เด็กนักวิ่งผู้นั้นกล่าวตามความรู้สึกเช่นนั้นจริง )  ซึ่งเป็นอาการของการบาดเจ็บที่เกิดที่เกิดขึ้นกับปุ่มกระดูกใกล้ง่ามก้นซึ่งเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อแฮมสะตริง  ถูกกระตุกหรือดึงจากเร่งความเร็ว โดยที่กล้ามเนื้อนั้นไม่แข็งแรงพอ และไม่สามารถทนได้  จึงเกิดการอักเสบขึ้น  นอกจากนี้บาดเจ็บที่เกิดขึ้นบริเวณก้น   ตะโพก และต้นขา  ยังมีอีกมาก  ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไปดังนี้

1. บาดเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของตะโพก  ( Greater  trochanteric  bursitie )

          มีอาการเจ็บหรือกอกเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของตะโพก  สาเหตุเกิดได้  จากการอักเสบ ของถุงน้ำบริเวณกระดูกนี้  เนื่องจากการเสียดสีกับแผ่นพังผืดที่ปกคลุมอยู่   ทำให้มีอาการเจ็บปวด  บวมแดง  หรือกดเจ็บ  บริเวณปุ่มกระดูกนี้  พบในนักวิ่งที่วิ่งกระโดดหลบหลุมบ่อ หรือวิ่งตามพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ  ที่บริเวณของถนนหรือชายฝั่งแม่น้ำ  พวกนักวิ่งที่โครงสร้างของร่างกายไม่ปรกติ  เช่น กระดูกเชิงกรานกว้าง  ขายาวไม่เท่ากัน  ทำให้ตะโพกเอียง  พวกที่เดินไม่ปรกติ  และพวกที่ขาหนีบเข้าใน  กางขาไม่ได้เต็มที่  สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณนี้ได้ง่าย

 

การปฐมพยาบาลและรักษา

          เมื่อวิ่งแล้วมีอาการนี้  ให้หยุดพักทันที  ประคบด้วยน้ำแข็ง  ให้ยาแก้ปวด  ถ้าอการมากหรืออาการไม่หายภายใน 3 วัน  ให้ยาต้านการอักเสบนาน 3 สัปดาห์  และให้การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย  คือประคบร้อน  หรือใช้คลื่นเหนือเสียง ( อุลตราซาวด์ )  ถ้ายังไม่ดีขึ้นหรือไม่หาย  ให้ฉีดยาต้านการอักเสบหรือสเตียรอยด์เฉพาะที่ได้ 3 เข็ม  ห่างกัน 1 สัปดาห์   ถ้ายังไม่หายอีก   จำเป็นต้องทำการผ่าตัดรักษา  โดยเอาถุงน้ำนั้นออก  นอกจากนั้นยังต้องปรับปรุงเรื่องโครงสร้างของร่างกายให้เป็นปรกติด้วย  เช่นถ้าขาสั้นยาว กว่ากันไม่มาก  ก็ให้เสริมรองเท้า  ถ้าสั้นยาวกว่ากันมากเกิน  2-3 เซนติเมตร  ก็ให้ทำการผ่าตัดยืดกระดูกให้ยาวเท่ากัน  หรือในรายที่ที่ขาหนีบเข้าหากันมากๆ  ต้องแก้ไขให้กว้างออก  โดยการบริหารหรือถ้าเป็นมากก็ต้องผ่าตัดยืดเอ็นบริเวณนั้น  หลังจากอาการต่างๆ หายไปแล้ว  ให้บริหารเพื่อผ่าตัดยืดเอ็นบริเวณนั้น  หลังจากอาการต่างๆ หายไปแล้ว  ให้บริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อด้านนอกของตะโพกให้มีความยืดหยุ่นและแข็งแรง

การป้องกัน  

         1. หลีกเลี่ยงการวิ่งที่จะต้องกระโดด  กระโจนหลบหลุมบ่อ  หรือวิ่งเบี่ยงเบนไปมาบนพื้นวิ่งที่ไม่เรียบ  เช่นการวิ่งริมถนนที่พื้นไม่เรียบ   หรือวิ่งริมฝั่งแม่น้ำ

         2. ปรับปรุงโครงสร้างร่างกายให้เป็นปรกติ  ไม่ว่าจะเป็นการเสริมแต่ง  เช่น  การเสริมรรองเท้าในกรณีที่ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน  หรือแก้ไขโดยการผ่าตัด

        3. บริหารให้กล้ามเนื้อที่ด้านข้างของตะโพกและต้นขาให้แข็งแรงและยืดหยุ่นอยู่เสมอ

2.การบาดเจ็บที่บริเวณด้านข้างของตะโพก  ( Abductor  strain)

     เกิดจากการฉีกขาดของกล้ามเนื้อบริเวณด้านนอกของตะโพกที่ใช้ในการกางขา  ทำให้มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณด้านข้าง และด้านหลังของตะโพก  ซึ่งอาจจะมีอาการบาดเจ็บเป็นแห่ง ๆ บริเวณนั้น  หรือมีอาการเจ็บปวดลอดแนวเลยก็ได้  จะบวมมีเลือดออกบ้างตามความรุนแรงของการบาดเจ็บ  เดินไม่ได้เต็มที่  หนีบขาแล้วจะปวดมากเพราะไปยืดกล้ามเนื้อมัดนี้  หรือกางขาแล้วจะปวด  เดินไม่ได้เต็มที่  หนีบขาแล้วจะปวดมากมากเพราะไปยืดกล้ามเนื้อมัดนี้  หรือกางขาแล้วจะปวด  เพราะไปเกร็งกล้ามเนื้อนี้

การปฐมพยาบาลและการรักษา

      เมื่อเกิดอาการขณะวิ่ง  เช่น วิ่ง  กระโดดหลบหลุมแล้วมีการเจ็บปวดที่ด้านนอกของตะโพกทันที  ให้หยุดวิ่งทันที  พัก  ประคบด้วยน้ำแข็งนาน 15-20 นาที    พัก 5 นาที  สลับกันไปจนกระทั่งการบวมไม่เพิ่มขึ้น  ถ้าสามารถทำได้ให้พันหรือรัดด้วยผ้ายืด  แล้วให้ยาแก้ปวด  ให้พักจริงๆ นาน 3 สัปดาห์ให้ยาต้านการอักเสบด้วย    จะทำให้หายเร็วขึ้น  อาจให้การรักษาทางกสยภาพบำบัดร่วมด้วย  ก็จะทำให้การหาาายเร็วขึ้นเช่นกัน  คือ  เร็วขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์  หลังจากนั้นต้องบริหารให้กล้ามเนื้อต้นขา และด้านนอกของตะโพกแข็งแรง  และมีความยืดหยุ่นดี  จึงจะกลับไปวิ่งได้อย่างปรกติ  เหมือนเดิม

การป้องกัน

      1.บริหารกล้ามเนื้อต้นขาบริเวณด้านนอก  และกล้ามเนื้อด้านนอกตะโพกให้แข็งแรงและยืดหยุ่นอยู่เสมอ

      2. ปรับปรุงโครงสร้างของร่างกายให้เป็นปรกติมากที่สุด อาจโดยการเสริมบางส่วนที่ขาดหาายไป เช่น เสริมรองเท้าในรายที่ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน  ในรายที่โครงสร้างของร่างกายผิดปรกติแต่ไม่มากนัก  การที่มีกล้ามเนื้อกลุ่มนี้แข็งแรงมากๆ จะสามารถทนได้ไม่เกิดอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด

     3. ควรวิ่งบนพื้นที่เรียบสม่ำเสมอ  หลีกเลี่ยงพื้นที่ไม่เรียบ  ขรุขระเป็นหลุ่มบ่อ  เพื่อจะไม่ต้องกระโดดหลบ  ไม่มีการเกร็งการกระตุกของกล้ามเนื้อ  ก็จะไม่เกิดโรคนี้

3.การเจ็บปวดบริเวณปุ่มกระดูกก้น ( Ischial bursitis, fracture of ischial apophysis,tendinitis of ischail tuberosity )

     มีอาการเจ็บปวดบริเวณปุ่มกระดูกใกล้ง่ามก้น  สาเหตุที่เกิดมีได้หลายอย่างคือ  จากการอักเสบของถุงน้ำบริเวณกระดูกนี้  หรือเกิดจากการอักเสบของเอ็นที่เกาะบริเวณปุ่มกระดูกนี้   ที่ร้ายแรงกว่านั้น ( มักพบในเด็ก ) คือ มีการแตกหรือหักของส่วนปลายของปุ่มกระดูกที่มีเอ็นของกล้ามเนื้อแฮมสะตริงมาเกาะ  จะพบในนักวิ่งที่เร่งความเร็วเมื่อเข้าใกล้เส้นชัย  หรือวิ่งด้วยความเร็วตลอดเวลานานเกินไป  ทำให้มีการอักเสบของถุงน้ำนี้เกิดขึ้น  หรือในเด็กที่วิ่งด้วยความเร็วอย่างกระทันหัน  ทำให้มีการกระตุกของกล้ามเนื้อแฮมสะตริงทันที  มีการกระชากทำให้กระดูกร้าวหลุดออกมาตามแรงดึงของกล้ามเนื้อแฮมสะตริงนี้ จะมีอาการเจ็บปวดมากวิ่งต่อไปอีกไม่ได้

การปฐมพยาบาลและการรักษา

      เมื่อมีอาการเกิดขึ้น  ให้หยุดวิ่งทันที  พัก  แล้วประคบด้วยน้ำแข็งนาน 15-20 นาที  หยุด 5 นาที  จนอาการบวมไม่เพิ่มขึ้น  ในรายที่เป็นมากถึงกับมีการแตกร้าวของกระดูก ( ในเด็ก ) จะบวมมาก  อาจมีเลือดออกใต้ผิวหนัง   เห็นลักษณะเป็นจ้ำเลือดดวง ๆ สีม่วงคล้ำ  พวกนี้ต้องรีบส่งพบแพทย์ทันที  เพื่อเอกซเรย์  ถ้าพบว่ามีกระดูกหักและเคลื่อนที่ออกมามาก  ต้องรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อเอากระดูกเข้าที่   ถ้ามีกระดูกหักแต่ไม่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่น้อย   ให้นอนพักบนเตียงในท่านอนตรงไม่มีการงอตะโพกเลยเป็นระยะเวลานาน 3-6 สัปดาห์  ในรายที่มีอาการแต่ไม่ถึงกับกระดูกร้าวหรือแตก  เมื่อไม่มีอาการบวมเพิ่มมากขึ้นแล้ว   ให้ยาแก้ปวด  ถ้ายังไม่หายไปใน 3 วัน แสดงว่า มีอาการค่อนข้างมาก  ให้ยาต้านอักเสบ 3 สัปดาห์  พร้อมกันนี   ให้การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย  เช่น  ประคบร้อนหรือคลื่นเหนือเสียง ( อุลตราซาวด์ ) ทำให้ระยะเวลาการหายเร็วขึ้น  ในรายที่อาการเป็นไม่มาก  หรืออาการไม่ได้เกิดขึ้นในทันที  เราจะสังเกตุได้ว่า     ถ้าเรานั่งนานๆ เป็นชั่วโมงๆ หรือวิ่งขึ้นที่สูง  จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณนี้  ในรายให้ยาต้านการอักเสบและให้การรักษาทางกายภาพบำบัดแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น  การให้ยาต้านการอักเสบเฉพาะที่ประเภทเสเตียรอยด์  ชนิดฉีดทำให้หายได้  หลังจากอาการหายไปแล้ว  ต้องบริหารให้กล้ามเนื้อแฮมสะตริงที่มาเกาะบริเวณปุ่มกระดูกนี้แข็งแรงเสียก่อน  จึงจะกลับไปวิ่งใหม่อีกได้  บริหารโดยใช้ถุงทราย 1-2 กก.ถ่วงข้อเท้า   บริหารเที่ยวละ 10 ครั้ง เช้า , เย็น

    การป้องกัน

1.ตรวจดูสภาพร่างกายว่า มีขาสั้นและยาวไม่เท่ากันหรือไม่  ซึ่งมักเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้  ถ้ามีขาสั้นกว่าอีกข้างก็ควรเสริมรองเท้าให้สูงเท่ากันเสียก่อนจะใส่       

2. บริหารกล้ามเนื้อแฮมสะตริงให้แข็งแรงอยู่เสมอ  เพื่อให้ทนต่อการเกิดการกระชากหรือกระตุกบริเวณปุ่มกระดูกนี้  เพื่อให้ทนต่อการเกิดการกระชากหรือกระตุกบริเวณปุ่มกระดูกนี้  นอกจากนี้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะทำให้มีเลือดมาก  และดูดซับการอักเสบทำให้ไม่มีอาการหรือหายได้เร็วขึ้น  และแข็งแรงทนทาน  วิ่งเร่งความเร็วได้อย่างปลอดภัย

3. ก่อนหรือหลังวิ่งทุกครั้งต้องให้มีการยืดกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นก่อน

4. หลีกเลี่ยงพื้นวิ่งที่ไม่สม่ำเสมอหรือเป็นหลุมบ่อ  เพราะการวิ่งหลบทันทีทำให้เกิดการกระตุกกระชากของกล้ามเนื้อ  ทำให้ปุ่มกระดูกที่กล้ามเนื้อเกาะเกิดการบาดเจ็บได้

 

4. กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง  ( กล้ามเนื้อแฮมสะตริง)  ฉีกขาด

          มีอาการเจ็บปวดหรือกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง อาจในบริเวณหรือตำแหน่งใดก็ได้  แต่ส่วนใหญ่มักเป็นกล้ามเนื้อต้นขาตอนบน จะเจ็บมากขึ้นเมื่อยืดกล้ามเนื้อต้นขาตอนบน  จะเจ็บมากขึ้นเมื่อยืดกล้ามเนื้อโดยก้มตวไปทางด้านหน้า หรือนั่งนานๆ  จะรู้สึกเจ็บบริเวณดังกล่าว  บางครั้งจะพบว่ามีอาการค่อยเป็นค่อยไป  เนื่องจากมีการฉีกขาดครั้งแรกเล็กน้อย  และไม่ได้พักรักษาตัวให้หาย  ต่อมาไปวิ่งอีกอาการก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุที่เกิดมักพบในพวกที่วิ่งด้วยความเร็วแล้วเปลี่ยนทิศทางทันที  เช่น วิ่งเร็ว  หลบหลุมบ่อ ทำให้มีการกระตุกกระชาก  บริเวณกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดขึ้นด้วย  จะพบในนักวิ่งที่กล้ามเนื้อแฮมสะตริงไม่แข็งแรงและไม่ได้บริหารให้กล้ามเนื้อมัดนี้ยืดหรือบริหารน้อยไป  ทั้งก่อนและหลังการวิ่ง  ทำให้การยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ  เกิดการฉีกขาดได้ง่าย

การปฐมพยาบาลและการรักษา

       เมื่อมีการเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังให้หยุดวิ่งทันที  แล้วประคบด้วยน้ำแข็งนาน 15-20 นาที  พัก 5 นาที  จนกระทั่งการบวมไม่เพิ่มขึ้น  จากนั้นให้ยาแก้ปวด  พันผ้ายืดรัดไว้เพื่อไม่ให้เลือดออกมากขึ้นในรายที่เป็นไม่มากอาการก็จะหายไปภายใน 3 วัน  ถ้า 3 วันยังไม่หาย  ให้ยึดตรึงกล้ามเนื้อมีดนี้ด้วยเฝือกอ่อน ( โดยใช้ปลาสเตอร์พันทับกัน ) นาน 3 สัปดาห์  พร้อมทั้งกินยาต้านการอักเสบด้วย  ในรายที่อาการไม่มากนักอาาจไม่ต้องเข้าเฝือกอ่อน  แต่ให้การรักษาทางกายภาพบำบัด  เช่นใช้ความร้อน  อุลตราซาวด์  ช่วยด้วย  จะทำให้การหายเร็วขึ้น  ในรายที่เป็นบาดเจ็บเรื้อรัง  ให้ทำการรักษาโดยการกายภาพบบำบัด  เช่นดังกล่าวแล้ว  ให้ยาต้านการอักเสบ  ใช้ครีมนวดต้านการอักเสบนาน  3 สัปดาห์หมายถึงรวมการพักใช้ขาข้างนั้น  เช่นเดิน  วิ่ง  หรือขี่จักรยานเป็นต้น  จะทำให้อาการหายไปได้  สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อจาการหายก่อนกลับไปวิ่งต่อ  ต้องบริหารกล้ามเนื้อแฮมสะตริงนี้ให้แข็งแรงเป็นปรกติเสียก่อน

การป้องกัน 

         ปฏิบัติเหมือนกับการป้องกัน  การบาดเจ็บที่ปุ่มก้นกระดูกที่กล้ามเนื้อแฮมสะตริงและที่ขอย้ำเป็นพิเศษคือ  การยืดกล้ามเนื้อมัดนี้ก่อนหรือหลังการวิ่ง   เพื่อให้เกิดการยืดหยุ่นก่อน  โดยเฉพาะการวิ่งเร่งความเร็ว

      5. บาดเจ็บบริเวณตะโพกด้านล่าง

มีอาการปวดบริเวณตะโพกด้านข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ระหว่างปุ่มกระดูกใกล้ง่ามก้นและปุ่มกระดูกด้านนอกของต้นขาตอนบน สาเหตุเกิดจากการวิ่งการกระแทกกระทั้นหรือวิ่งหลบหลุมเกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณตะโพก ทำให้กล้ามเนื้อพิริฟอร์มมิส (เม็ดเล็ด ๆ มัดหนึ่ง) ไปเกร็งทับเส้นประสาท ทำให้เกิดการปวดขึ้นมาทันทีขณะวิ่ง

การปฐมพยาบาลและการรักษา

เมื่อมีอาการปวดบริเวณนี้ขณะวิ่ง ให้หยุดพักทันที ประคบน้ำแข็งประมาณ 15 – 20 นาที เมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว ยืดกล้ามเนื้อพิรพิฟอร์มมิสมัดนี้ โดยให้ยืนไขว้ขาแล้วก้มตัวไปข้างหน้าให้มากที่สุด จะทำให้อาการปวดหายไป ไม่มีการกดทับเส้นประสาท ถ้ามีอาการมาต้องให้ยาคลายกล้ามเนื้อประมาณ 3 – 5 วัน พร้อม ๆ กัน บริหารท่าดังกล่าวประมาณ 10 ครั้ง เช้าและเย็น

การป้องกัน

1. ก่อนการวิ่งทุกครั้งต้องมีการบริหารยืดกล้ามเนื้อมัดนี้ด้วยโดยท่าไขว้ขาและโน้มตัวไปทางด้านหน้า ทำประมาณ 10 ครั้ง

2. บริหารกล้ามเนื้อมัดนี้ให้แข็งแรง โดยการนอนตะแคงเอาข้างที่จะบริหารขึ้น เหยียดท่าตรงยกขาขึ้นทางด้านข้างและด้านหลัง ทำประมาณ 10 ครั้งต่อวัน ในรายที่เคยมีอาการแล้ว กล้ามเนื้อมัดนี้ต้องแข็งแรงเป็นพิเศษ การบริหารต้องเพิ่มน้ำหนักถ่วงที่ข้อเท้า โดยเริ่มจากน้ำหนัก 1 กิโลกรัมจนยกได้ประมาณ 5 – 6 กิโลกรัม กล้ามเนื้อจะแข็งแรงทนต่อการเกิดโรคนี้ได้

3. หลีกเลี่ยงการวิ่งกระแทกกระทั้นหรือวิ่งหลบหลุ่มบ่อที่จะทำให้เกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มมิสมัดนี้

6.ปวดบริเวณกลางตะโพก

มีอาการปวดบริเวณตรงกลางตะโพกด้านใดด้านหนึ่งหรือบริเวณรอบ ๆ บางครั้งมีอาการปวดร้าวมาที่ต้นขาด้านหลังและไล่มาถึงขาและเท้า อาจพบมีอาการชาร่วมด้วย ในรายที่เป็นมาก ๆ จะมีกำลังขาข้างนั้นลดลง อ่อนแรง สาเหตุไม่ได้เกิดที่ตะโพก แต่เกิดจากบริเวณหลังนั่นเองต่อกับตะโพก (ซึ่งบางครั้งมีอาการปวดหลังร่วมด้วย) โดยหมอนรองกระดูกสันหลัง ปลิ้นออกไปทับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงต้นขาด้านหลังขาและเท้า ทำให้มีความปวดเสียวมาโดยตลอด สาเหตุเกิดจากการมีการกระแทกตัวของกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวที่ต่อกับสะโพก บีบกดหมอนรองกระดูกสันหลังที่อยู่ระหว่างให้ปลิ้นออกมาทางด้านหลังกดทับเส้นประสาทด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน ทำให้ปวดเสียวร้าวหรือชามาที่สะโพก ต้นขา ด้านหลัง ขา และเท้า ตามทางเดินของเส้นประสาทนั้น (จะพบในพวกที่วิ่งหรือกระโดดจากที่สูงแล้วลงน้ำหนักกระแทกทันที และพบในพวกที่กล้ามเนื้อหลังไม่แข็งแรงด้วย ทำให้ไม่สามารถรั้งหรือประคองกระดูกสันหลังไว้ได้ อาจพบในทารกที่ไอจามรุนแรงด้วย

การปฐมพยาบาลและการรักษา

เมื่อมีอาการนี้ให้หยุดพักทันที นอนพัก ประคบน้ำแข็งบริเวณหลังส่วนบั้นเอวประมาณ 15 – 20 นาที ในรายที่อาการไม่มากเมื่อได้นอนพักและได้รับยาแก้ปวดอาการจะหายไปก่อน 3 วัน หลังจากอาการหายแล้วต้องบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข้งแรงอยู่เสมอ เพื่อประคับประคองหลังไว้ให้ได้ไม่ไห้เกิดอาการเช่นนี้อีก ในรายที่อาการเป็นมาก ถึงกับมีอาการก้มหลังไม่ได้ หรือนอนหงายและยกขาข้างนั้นในท่าเข่าเหยียดตรงให้ตั้งฉากกับพื้นไม่ได้ เพราะเมื่อยกขาระดับหนึ่งจะปวดเสียวร้าวไปที่ขาและบางครั้งมีกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงในรายที่มีอาการมากเช่นนี้ ต้องให้นอนพักมากที่สุดทั้งกลางวันและกลางคืน ให้ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาบำรุงประสาท (วิตามิน B1) นาน 2 – 6 สัปดาห์ พร้อม ๆ กันให้การรักษาทางกายภาพบำบัดโดยการใช้เครื่องดึงเอวและให้ความร้อนหรือคลื่นเหนือเสียง (อุลตร้าซาวด์) นาน 2 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น หลังจากนั้นให้บริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข้งแรงอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเป้นซ้ำอีก ในบางรายระหว่างที่ให้การรักษาอยู่นั้นอาการไม่ดีขึ้น ปวด ชา อยู่ตลอดเวลา หรือมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น พวกนี้มักต้องลงเอยด้วยการผ่าตัด หลังรักษาโดยเอาหมอนรองกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาทนั้นออก หรือในรายที่ได้รับการรักษาแล้วดีขึ้น แต่ 3 เดือนแล้วอาการยังไม่หายไป พวกนี้ต้องพิจารราผ่าตัดเช่นกัน หลังอาการหายแล้วไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม ต้องบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลังจากนั้นจึงกลับไปวิ่งได้อีก

การป้องกัน

1. วิ่งบนพื้นที่ราบ หลีกเลี่ยงการวิ่งแบบกระแทกหรือกระโดดหรือระวังหกล้มก้นกระแทก เพื่อป้องกันแรงกระแทกที่จะเกิดที่กระดูกสันหลัง

2. บริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงอยู่เสมอ

3. ก่อนการวิ่งทุกครั้งต้องบริหารกล้ามเนื้อหลังให้ยืด มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังเมื่อมีการวิ่งที่จะทำโรคนี้ขึ้น กล้ามเนื้อหลังจะได้ประคับประคองไปได้

(จากหนังสือบาดเจ็บจากการวิ่ง  รศ.นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ )

 ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค.44<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

ประเภทและระดับของนักวิ่ง

การออกกำลังกายในผู้หญิง

โอปร้า วินฟรีย์  นักวิ่งเพื่อชีวิต