% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_taper_before_10k.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %>
ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.49<%
L=Len(NewHits)
i = 1
For i = i to L
num = Mid(NewHits,i,1)
Display = Display & ""
Next
Response.Write Display
%>
การเรียวแผนฝึกลงก่อนไปแข่งขันระยะสิบกิโล
โดย กฤตย์ ทองคง
ความคิดที่ลดความเข้มข้นและความหนักหน่วงของการฝึกวิ่งลงก่อนไปแข่งขันเพื่อคืนความสด มักมีข้อพิจารณากันอยู่ที่ เราจะ Taper กันขนาดไหน และสมควรจะเริ่มเมื่อไร จะได้เอื้อให้นักวิ่งมีผลการแข่งขันที่ดีที่สุด จากการศึกษาที่ Malaspina College รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ร่วมกับมหาวิทยาลัย Alberta ที่ศึกษาจากนักกรีฑาวิ่งจำนวน 25 รายที่ฝึกในระดับ 75-85% ของความหนักสูงสุด มีการฝึกแต่ละครั้งราว 1 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 6 สัปดาห์ ก่อนไปทดสอบและวัดระดับกลัยโคเจนสะสม และทดสอบวัดระดับ Lactate threshold (L.T.) มีรายละเอียดที่ผู้วิจัยแบ่ง Subjects ลงเป็น 4 กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มที่ 1 ใช้การ Taper 3 วัน ก่อนไปแข่งทดสอบ โดยการลดความร้อนแรงของปริมาณแผนฝึกลงแต่ ให้ทรงระดับความเข้มเท่าเดิมไว้ กลุ่มที่ 2 ใช้การ Taper 6 วัน ก่อนไปแข่งทดสอบ กลุ่มที่ 3 ใช้ Taper ด้วยการหยุดสนิทเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 4 วันเต็ม กลุ่มที่ 4 ไม่ใช้ Taper เลย โดยให้ออกกำลังทั้งปริมาณความเข้มเท่าเดิมไปจนวันแข่ง
ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีระดับของ Lactic-acid-threshold หรือ Lactate threshold (L.T.) เพิ่มขึ้น 12% (ค่า L.T. นี้เป็นค่าที่เราวัดความสามารถที่ร่างกายจัดตั้งความต่อเนื่องของ การออกแรงทางร่างกายอย่างหนักไปได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ) กลุ่มที่ 3 (ไม่มีการออกกำลังกายเลย) ในช่วงของ Taper ไม่พบว่ามีระดับ L.T. เปลี่ยนแปลง คือเท่าเดิม กลุ่มที่ 4 (ฝึกต่อไปจนแข่ง) พบว่าระดับ L.T. ลดลง
ส่วนการศึกษาที่ว่าจำเพาะเรื่องปริมาณกลัยโคเจนสะสมมีเท่าไร พบว่า
กลุ่มที่ 2 (ที่ใช้เวลา Taper 6 วัน) มีระดับกลัยโคเจนถูกยกระดับขึ้นไป 25% กลุ่มที่ 1 (3 วัน) และ กลุ่มที่ 3 (ไม่ออกกำลังกายเลย) กลัยโคเจนสูงขึ้น 12% กลุ่มที่ 4 (ฝึกตลอด) กลัยโคเจน 12% เหมือนกันครับ แต่ -12% คือตกลง 12%
หัวหน้าคณะวิจัย J.P.Neary , Ph.d. กล่าวผลสรุปให้พวกเราเห็นภาพว่า การพัก Taper จะช่วยให้เซลล์กล้ามเนื้อทำงานได้หนักอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น Dr.Neary กล่าวเน้นย้ำว่า แม้เราจะพอมองเห็นความสำคัญของการ Taper ที่มีต่อการวิ่งแข่งขันแล้วก็จริง แต่ระดับของแต่ละคนที่จะได้ผลของ Taper สูงสุด ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะระบุกันได้อย่างชัดเจน แต่ละคนมีความผันแปรไม่เหมือนกัน แล้วยังขึ้นกับแต่ละสนามอีกด้วย เช่นสนามที่แข่งระยะยาว และ นักกีฬาสูงวัย ย่อมต้องใช้เวลา Taper ที่นานออกไป เป็นต้น ควรใช้สามัญสำนึกนำหลักเกณฑ์ไปปรับทดลอง และให้ผู้วิ่งสังเกตดูผลที่ออกมาดีกับตัวเองมากที่สุด เพื่อจะได้เป็นแนวทางของตัวเองต่อไป
22:20 น.29 พฤศจิกายน 2548 จาก Tapering Tips โดย John M. Mora Edited by Bob Cooper R.T. April 193 P.19
|