<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_surface_running_route.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> พื้นของเส้นทางวิ่ง_นพ.เอาชัย_กาญจนพิทักษ์

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 2ก.ค.49<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

พื้นของเส้นทางวิ่ง

 

โดย...ศาสตราจารย์คลินิก
นพ.เอาชัย กาญจนพิทักษ์

 



พื้นวิ่งยางสังเคราะห์ ในสนามกีฬาสามารถดูดซึมแรงกระแทกได้ดี
แต่โอกาสที่นักวิ่งจะได้วิ่งในลู่วิ่งมีน้อย
เมื่อเจ้าของสนามไม่เปิดโอกาสให้ใช้
เพราะกลัวสนามเสีย



 

 

สนามหญ้าที่มีพื้นเรียบเมืองไทยหาได้ยาก
 


 

ถนนที่ลาดยางมะตอย พื้นผิวเรียบ
 แต่การซึมซับแรงกระแทกทำได้น้อย ขึ้นอยู่กับอายุของพื้นถนน
 ถ้าสร้างมานานความเสื่อมของยางก็จะมาก ส่วนผสมที่เป็นหินแข็งจะโผล่มากขึ้น
ทำให้การดูดซึมแรงกระแทกน้อยลง



พื้นถนนที่เป็นคอนกรีต
 


 

โรคที่ผู้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งกลัวมาก คือ โรคข้อเข่าเสื่อม มีผู้รู้ (จริงบ้างไม่จริงบ้าง ) จะห้ามปรามผู้ที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งว่า "อย่าวิ่งมากนักประเดี๋ยวข้อเข่าจะพัง "  ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วการวิ่งจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมนั้นเกิดจากการที่ข้อเข่าทำงานมากเกินปกติ  หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เนื่องจากข้อเข่าได้รับแรงกระแทกมากเกินปกติ

 

ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมจากการวิ่งมีดังต่อไปนี้

1.ห้ามน้ำหนักตัวของผู้วิ่งมากเกินปกติ

2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่พยุงข้อเข่าไม่ดีพอ

3.ความเร็วของการวิ่ง

4.ความลาดลงของเส้นทางวิ่ง เช่น วิ่งลงบันได เป็นต้น

5.พื้นรองเท้าที่ใช้สวมใส่ในการวิ่ง

6.พื้นของเส้นทางวิ่ง

 

สำหรับปัจจัย 1 ถึง 5 นั้น ผู้วิ่งสามารถแก้ไขได้เอง เช่นพยายามลดน้ำหนักให้น้อยลงด้วยวิธีอื่นๆด้วย หรือเริ่มต้นการวิ่งให้ช้าลงก่อนหรืออาจจะเดินก่อนจนน้ำหนักดัวลดลงแล้วค่อยเพิ่มความเร็วของการวิ่ง มีการออกกำลังกล้ามเนื้อด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบเข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อต้นขาที่หุ้มข้อเข่า มีความแข็งแรงร่วมด้วยกับากรวิ่ง หลีกเลี่ยงรองเท้าที่เหมาะสมเพื่อรับแรงกระแทก

 

ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้ข้อเข่าเสื่อม โดยทั้งหมดจะทำให้มีแรงกระแทกจากข้อเท้าขึ้นมาถึงเข่าทั้งหมด เช่นถ้าน้ำหนักตัวผู้วิ่ง 50 กก. เมื่อเร็วน้ำหนักที่มากระแทกที่เข่าอาจจะเป็น 4-5 เท่า ขึ้นอยู่กับความเร็วและความลาดลงของทางวิ่ง ก็อาจจะมากกว่านั้น ซึ่งอาจจะเป็น 200-300 กก. และแรงกระแทกทั้งหมดอาจจะลดลง ถ้ากล้ามเนื้อรอบเข่าที่ช่วยพยุงน้ำหนักได้หรือพื้นรองเท้า หรือพื้นการวิ่งนุ่ม ก็จะสามารถลดแรงกระแทกของข้อเข่าได้มาก

 

ปัจจัยที่สำคัญที่นักวิ่งเลือกได้น้อยหรือไม่คิดว่ามีความสำคัญคือ ปัจจัยข้อที่ 6 พื้นของทางวิ่ง ซึ่งควรจะเป็นพื้นที่สามารถดูดซึมแรงกระแทกได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อลดอันตรายของข้อเข่า

 

ชนิดของพื้นที่สามารถลดแรงกระแทกข้อเข่าได้ดีตามลำดับดังต่อไปนี้

 

อันดับ1 พื้นของลู่วิ่ง ( Trade mill )

ลู่วิ่งปัจจุบันมีขายตามท้องตลาดทั่วไป ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพ ลู่วิ่งที่ดีจะต้องมีความกว้างพอสมควร ที่สำคัญที่สุด คือมี shock absorbe ( ภาษาท้องตลาดเรียกว่า โช้คอัพ ) ที่ดียืดหยุ่นได้ดีจะรับแรงกระแทกจากตัวมายังข้อเข่าได้มาก ซึ่งเป็นพื้นที่ดีที่สุดของเส้นทางวิ่ง  แต่เนื่องจากราคาแพง และการวิ่งบนลู่วิ่งจะให้ความจำเจ เกิดความเบื่อหน่ายหรือมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะ  trade mill ตามสถานออกกำลังกายต่างๆ  ในการวิ่ง นักวิ่งบางคนอาจจะใช้การดูโทรทัศน์ หรือฟังเพลงเพื่อลดความเบื่อหน่าย

 

อันดับที่ 2   พื้นลู่วิ่งที่เป็นยางสังเคราะห์ เรียกกันว่าลู่ tarton

ในสนามกีฬา พื้นเป็นยางสังเคราะห์สามารถดูดซึมแรงกระแทกได้ดีเช่นเดียวกัน แต่โอกาสที่นักวิ่งเพื่อสุขภาพจะมีโอกาสวิ่งในลู่วิ่งได้น้อย เมื่อเจ้าของสนาม (ซึ่งอาจจะเป็นมหาวิทยาลัยหรือตามจังหวัดต่างๆ ) ไม่เปิดโอกาสให้นักวิ่งที่ไม่ใช่นักกีฬาเข้าไปวิ่ง ในความเป็นจริงแล้ว รองเท้าที่นักวิ่งใช้วิ่งทำความเสียหายให้แก่ลู่ยางสังเคราะห์น้อยกว่ารองเท้าตะปูของนักกีฬา และเนื่องจากความยาวของลู่วิ่งมาตราฐาน 400 เมตร นักวิ่งระยะยาวอาจจะรู้สึกเบื่อ เพราะจะต้องวิ่งถึง 20-30 รอบ ในการวิ่งแต่ละครั้ง

 

อันดับที่ 3  พื้นลู่วิ่งที่เป็นพรมเช่นเดียวกันหายาก

มีระยะค่อนข้างสั้น การดูดซับแรงกระแทกก็ทำได้ดีเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยหรือประเทศที่มีอากาศร้อนจะไม่มี  เนื่องจากการดูแลรักษาทำได้ยากและมีราคาแพง

 

อันดับที่ 4   พื้นลู่วิ่งที่เป็นสนามหญ้า  สนามหญ้าที่มีพื้นเรียบเมืองไทยหาได้ยาก

ซึ่งสนามแบบนี้โดยแท้จริงแล้ว เป็นพื้นที่เหมาะสมมาก  แต่เนื่องจากส่วนใหญ่สนามหญ้าพื้นจะไม่เรียบ ในการวิ่งบางครั้งจะทำให้มีอันตรายกับส่วนอื่นของข้อเท้า เช่น  ข้อเท้าพลิก เป็นต้น การดูแล รักษายากเช่นเดียวกัน และไม่สะดวกในการซ้อมวิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน

 

อันดับ 1- 4 จะต้องมีการบำรุงรักษาที่ดี และมีราคาแพง

 

อันดับที่ 5   พื้นถนนที่ลาดยางมะตอย

สมัยเก่าหรือแอสฟัจส์ มีข้อดี  คือ พื้นผิวเรียบ แต่การซึมซับแรงกระแทกทำได้น้อยลง การดูดซึมแรงกระแทกนี้ขึ้นอยู่กับอายุของพื้นถนน เพราะความแข็งของพื้นชนิดนี้ขึ้นอยู่กับเวลา ถ้าพื้นสร้างมานานใช้งานนาน ความเสื่อมของยาง asphalt ก็จะมากขึ้น ส่วนผสมที่เป็นหินแข็งจะโผล่มากขึ้น ทำให้การ ดูดซึมแรงกระแทกน้อยลง แต่ถ้าเป็นพื้นใหม่จะดูดซึมแรงกระแทกได้สูงที่สุด

 

อันดับที่ 6   พื้นถนนที่เป็นคอนกรีต

ถ้าคอนกรีตดีมาก (แข็งมาก) เท่าไหร่ และการดูดซึมแรงกระแทกจะต้องมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นว่าพื้นคอนกรีตที่แข็งมาก เช่น รันเวย์ของสนามบินการดูดซึมแรงกระแทกจะทำได้น้อยมาก แต่มีส่วนดีคือมีความเรียบมาก

 

อันดับที่ 7   อันดับสุดท้าย  คือ  แผ่นคอนกรีตอัดแรง

(ซีแพค) เป็นพื้นที่นอกจากจะไม่เรียบแล้ว ยังแข็ง จนไม่สามารถที่จะดูดซึมแรงกระแทกได้เลย

 

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าพื้นของเส้นทางวิ่งมีความสำคัญอย่างมาก กับการเกิดอันตรายกับข้อเข่า ในการสร้างเส้นทางสำหรับเดินหรือวิ่งด้านในสวนสาะรณะหรือสวนสุขภาพ  ถ้ามีจุดประสงค์เพื่อการออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งแล้ว  ควรจะสร้างพื้นทางวิ่งให้เหมาะสม ไม่ควรจะคำนึงถึงความสวยงาม ความคงทน การดูแลรักษาง่ายแต่อย่างเดียว

ในความเป็นจริงแล้ว  ในการสร้างพื้นเส้นทางวิ่งไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่ดีที่สุด เช่น พื้นลู่สังเคราะห์  พรม  หรือ สนามหญ้า เพราะค่าใช้จ่ายในการสร้างสูง  รวมถึงการบำรุงรักษาสูงมากเกินความจำเป็น การสร้างพื้นด้วยวัสดุที่มีราคาพอสมควรและบำรุงรักษาง่าย เช่นแอร์ฟัสท์จะได้ประโยชน์มากกว่า  แต่ไม่ควรใช้วัสดุที่ดูสวยงาม บำรุงรักษาง่าย เช่นซีเมนต์หรือแผ่นคอนกรีตอัดแข็ง จะเป็นอันตรายแก่ผู้ที่มาวิ่ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิ่งเพื่อสุขภาพ)

 

 

หมายเหตุ.-ขอขอบคุณ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.เอาชัย กาญจนพิทักษ์

และ อ.ณรงค์เทียมเฆม

จากวารสารสมาพันธ์ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพไทย เดือน พ.ค.-มิ.ย.49

www.thaijoggingclub.com

 

ประวัติและผลงานโดยย่อ ของ นพ.เอาชัย

ชื่อ-นามสกุล  

   ศ.คลินิกนพ. เอาชัย กาญจนพิทักษ์

แพทย์เฉพาะทาง - ศัลยศาสตร์ทั่วไป
- ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก


การศึกษา  -คณะแพทยศาสตร์ เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

วุฒิบัตร/ ประกาศนียบัตร

 - อนุมัติบัตรสาขาศัลยศาสตร์
                - อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

อบรม/ดูงาน/ประสบการณ์

 - แพทย์ประจำบ้านภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
                 - หัวหน้าภาควิชาศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี
                 - รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สมาชิกสมาคมการแพทย์

- ราชวิทยาลัยศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย
                - สมาคมศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทย


คลิกดูเพิ่มเติมที่ เวปไซต์ รพ.เวชธานี

http://www.vejthani.com/html/thai/doctor1.htm#