<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_streth_koko.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> ว่าด้วยการยืดเส้น_โกโก้

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.49<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

ว่าด้วยการยืดเส้น

 

เมื่อวานผมแวะไปยืมหนังสือเรียนที่ห้องสมุด ก็เลยลองหาหนังสือเกี่ยวกับการวิ่งมาอ่านเพิ่มเติม พอดีนึกได้ว่าการยืดเส้นก็สำคัญเช่นกัน ตามที่ผู้รู้ทั้งหลายย้ำเลยย้ำอีก ผมก็เลยลองหาๆ ดู เลยเจอหนึ่งเล่มชื่อ Stretching ของ Bob Anderson ซึ่งเคยผ่านตาว่า หนังสือเล่มนี้หลายเว็บเขาแนะนำว่าดี ก็เลยลองยืมมาอ่าน

หลังจากอ่านจบ บอกได้เลยว่าดีมากๆ ครับ มีท่ายืดต่างๆ ครบทุกส่วนของร่างกาย พร้อมคำแนะนำอย่างละเอียด นอกจากนั้นยังมีการแนะนำท่ายืดที่เหมาะสมสำหรับต่างๆ ประเภทกีฬาทั้งก่อนและหลังซ้อม

และยังทำให้ผมรู้อีกว่าที่ผ่านมา ผมยืดเส้นแบบผิดๆ มาตลอด คือ พยายาม overstretch มากเกินไป และ การจัดวางร่างกายระหว่างยืดเส้นก็ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือ ยืดเส้นได้ไม่เต็มที่ หรือ ยืดผิดจุดที่ต้องการ

มีอยู่หลักการหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจมาก และคิดว่าหลายท่านอาจยังไม่ทราบ คือ การยืดเส้น ควรแบ่งเป็นสองช่วงในแต่ละท่า คือ ช่วง easy stretch กับ ช่วง development stretch

ช่วง easy stretch คือ เริ่มต้นในการยืดเส้นในแต่ละท่า ควรยืดแบบสบายๆ ก่อน (การวิ่งยังต้องมีวอร์มอัพก่อน ยืดเส้นก็ควรทำเหมือนกันครับ) คือเตรียมจัดท่าและออกแรงยืดเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องออกแรงเลยในบ้างท่า ค้างไว้ ซัก 10-20 วินาที

หลังจากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มระยะการยืดเข้าไปนิดหน่อย ซึ่งช่วงนี้เรียกว่า development stretch ซึ่งระยะที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล การยืดในระยะนี้ต้องห้ามเกิดอาการเจ็บโดยเด็ดขาด เพราะการยืดเส้นคือการผ่อนคลายไม่ใช่การทรมานร่างกาย และไม่ใช่การแข่งตัวอ่อนชิงแชมป์โลก ในระยะนี้จะต้องเป็นระยะที่เรารู้สึกว่าสามารถอยู่ในท่านี้ได้ตลอด โดยไม่รู้สึกทรมานหรืออึดอัด ระยะเวลาในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าส่วนที่ต้องการยืด มีความตึงมากแค่ไหน ถ้าตึงมากก่อนนานหน่อย

หวังว่าคงมีประโยชน์กับเพื่อนนักวิ่งไม่มากก็น้อยครับ

ป.ล. ขอย้ำอีกที่ว่าการยืดเส้นต้องทำช้าๆ และนุ่มนวล ห้ามทำแบบขึ้นๆ ลงๆ กระตุกๆ หรือ พยายามยืดจนการอาการเจ็บโดยเด็ดขาดครับ

รายละเอียดของหนังสือตาม link นี้ครับ


http://www.amazon.com/gp/product/0936070226/qid=1140664499/sr=1-1/ref=sr_1_1/102-3507526-5140122?s=books&v=glance&n=283155

 

เก็บมาฝากโดย...โกโก้   sutee.s@gmail.com 23/02/2006 10:18 AM