<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_poman_ultra24.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> ป้อหมานอัลตร้า

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 1พ.ย.48<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

ป้อหมาน....ผู้โอหัง

 

โดย...ป้อหมาน

 


หน้านิ่วคิดๆๆปรับแผนการวิ่ง


คอยรายงานทางมือถือให้ไทยรันนิ่ง

ภรรยามาเป็นกำลังใจ
คนเล็กฝากคุณยายไว้


2ลูกชายคนนี้
มาเชียร์ติดขอบสนาม


เปลี่ยนเบอร์
ที่เปียกชุ่ม

 

ว่าด้วยเรื่องการวิ่งอุลตร้ามาราธอน 24 ชั่วโมง



คำว่า อุลตร้า  หมายถึงเหนือกว่า  เช่น แสงอุลตร้าไวโอเล็ต  แปลว่า  แสงเหนือสีม่วง   หรืออุลตร้าแมน  ก็แปลว่า  มนุษย์เหนือมนุษย์  หรือเก่งกว่ามนุษย์ธรรมดา   ดังนั้นการวิ่งอุลตร้ามาราธอน คือ การวิ่งที่เหนือกว่าการวิ่งมาราธอน  ทั้งระยะทาง หรือเวลาในการวิ่ง    การวิ่งอุลตร้ามาราธอน  24 ชั่วโมง  คือการวิ่ง 1 วัน 1 คืนเต็มๆ   จนได้เวลาครบ 24 ชั่วโมง แล้วค่อยมาวัดระยะกันว่าผู้ใดวิ่งได้ระยะทางไกลสุด คือผู้ชนะ สำหรับคนธรรมดาสามัญทั่วไป   ที่ยังไม่คว่ำหวอดกับวงการวิ่ง  หรือนักวิ่งเพื่อสุขภาพธรรมดา เมื่อได้ยินว่า  วิ่งต่อเนื่อง เพียง 1 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง ก็ถือว่าวิ่งมากแล้ว  นี้อะไร   วิ่งกันเข้าไปตั้ง 24 ชั่วโมง   ก็จะเกิดคำถามว่า “บ้าหรือเปล่า”   “ไม่มีอะไรทำหรืออย่างไร”   สำหรับคนที่ตัดสินใจวิ่ง หรือคนที่ชอบวิ่งระยะนี้   ต้องตอบคำถามตนเอง และคำถามผู้อื่นแบบนี้ได้  เพราะนี้คือแรงเสียดทาน  ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เรายังไม่ได้วิ่ง   ไม่อย่างนั้น เราก็จะรู้สึกไม่ดี  ไม่กล้าวิ่ง  ไม่กล้าซ้อม  กลัวถูกคนอื่นมองว่าบ้า  การวิ่งทั้งวันทั้งคืน 24 ชั่วโมง ถือว่าบ้าหรือเปล่า ผิดหรือเปล่า   ในความคิดเห็นของผมเอง   แล้วไม่ได้ถือว่าผิดถูก หรือว่าบ้า แต่ประการใด     ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลมากกว่า   อย่างเช่น คนที่เขาชอบดื่มสุรา ตั้งวงกัน เขาบ้าหรือไม่   เขาผิดหรือไม่   เขาก็ไม่ได้บ้า  ไม่ได้ผิด  แต่เขาชอบ  เขาจึงทำแบบนั้น    เช่นเดียวกัน  การวิ่งทั้งวันทั้งคืน 24 ชั่วโมง  นี้ก็ไม่ได้ถือว่าบ้า  ไม่ได้ถือว่าผิด   แต่เป็นความชอบส่วนบุคคล  ที่เขาชอบแบบนั้น   จึงได้ทำแบบนั้น


แล้วจะถือว่าเป็นการวิ่งมากเกินไปหรือเปล่า  อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือไม่  วิ่งแล้วได้อะไร   คำถามนี้  ก็ต้องตอบว่า  เป็นการวิ่งที่มากเกินไปแน่นอน   และอาจทำให้บาดเจ็บได้  แต่ถ้าหากเราตัดสินใจจะวิ่ง   เราต้องรู้ร่างกายตัวเราก่อนว่า   เราต้องเคยผ่านการวิ่ง ระยะมาราธอนมาแล้ว   และเคยฝึกวิ่งต่อเนื่อง วิ่งนาน   เกินระยะ 6 ชั่วโมงมาแล้ว  รู้ตัวเองว่า เรื่องกายสามารถเก็บสะสมพลังงานไว้มากเพียงใด  รู้ว่าเราสามารถวิ่งได้ต่อเนื่องได้นานขนาดไหน   รู้ว่าเรามีความทรหดอดทนขนาดไหน      ส่วนคำถามที่ว่าวิ่งแล้วได้ประโยชน์อะไร  ถ้าจะมองให้มีประโยชน์ การวิ่งอุลตร้ามาราธอน  ก็มีประโยชน์เช่นเดียวกัน คือ เป็นการฝึกให้ร่างกายแข็งแกร่งเคยชินกับการวิ่งได้ทั้งวันทั้งคืน   เมื่อเราเคยผ่านการวิ่งไปครั้งหนึ่งแล้ว  เราก็สามารถวิ่งได้อีก   ร่างกายคนที่ผ่านการวิ่ง ย่อมแข็งแกร่งกว่าคนที่ไม่เคยผ่านการวิ่งแบบนี้มาแน่นอน   เป็นการฝึกจิตใจเราให้มีความทรหดอดทน  เพราะการวิ่งนานขนาดนั้น  ถือว่า จิตใจ ต้องมีความมุ่งมั่น   มีความตั้งมั่น ในเป้าหมาย  ว่าเราจะวิ่งไปเรื่อยๆ จนครบ 24 ชั่วโมง การวิ่งอุลตร้ามาราธอน 24 ชั่วโมง  เป็นการวิ่งที่มีความท้าทาย ความสามารถ  หรือจิตใจ ว่าจะทรหดอดทน ขนาดไหน  ซึ่งจะหาไม่ได้ในการวิ่งมาราธอน  เพราะการวิ่งมาราธอน   เป็นการวิ่งเพียง  42 กม. หรือเป็นการวิ่งโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 6 ชั่วโมงเท่านั้น   นอกจากนี้การวิ่งอุลตร้ามาราธอน 24 ชั่วโมง  ถือว่าเป็นการวิ่งช้า  วิ่งนาน  วิ่งไกลขนานแท้  สามารถพักการวิ่งได้ทุกเมื่อ ไม่เหมือนการวิ่งมาราธอน  ที่ต้องวิ่งโดยพยายามทำเวลา    จึงมีหลายคนชื่นชอบการวิ่งลักษณะนี้  สำหรับท่านที่ชื่นชอบการวิ่งลักษณะนี้  เผื่อว่าถ้ามีการจัดการวิ่งลักษณะนี้อีก แล้วจะได้สมัครเข้าวิ่ง  ผมก็ได้สรุปเทคนิคข้อคิดต่างๆ  จากประสบการณ์ที่ได้ผ่านการวิ่งมาแล้วดังนี้


ข้อคิดและเทคนิคเกี่ยวกับการวิ่งอุลตร้ามาราธอน 24 ชั่วโมง


1.ด้านจิตใจ   คนที่จะวิ่ง ระยะนี้ ต้องเป็นคนที่ชอบความท้าทาย  รักชีวิตผจญภัย สู้กับความลำบากได้ทุกรูปแบบ มีความทรหดอดทน  ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก  เพราะการวิ่งระยะนี้  เกิดความลำบากมาก ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีความจำเป็นว่าต้องผ่านการวิ่งมาราธอนมาก่อน   เพราะถ้าผู้ใดผ่านการวิ่งมาราธอนมาแล้ว ก็จะมีพื้นฐานระดับหนึ่ง 

 2.ด้านร่างกาย  ตามตำราที่มีผู้เขียนไว้แล้วบอกว่า  ต้องผ่านการวิ่งมาราธอนมาแล้วอย่างน้อย 5 สนาม  หรือผ่านการวิ่ง มีอายุงานการวิ่ง 5 ปี ขึ้นไป   นี้อาจจะเป็นมาตราฐานกลาง   แต่ความเป็นจริงที่เห็นกันมาแล้ว  ผู้ที่มีอายุงานวิ่งยังไม่ถึง 1 ปี  เพิ่งจะผ่านการวิ่งมาราธอนมีเพียง 1 สนาม ก็สามารถวิ่งได้  แต่ก่อนที่จะมาวิ่งนี้  ต้องผ่านการฝึกวิ่งยาว  วิ่งไกล  เกินกว่า 4-5 ชั่วโมงก่อน  แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของท่านเอง  เจ้าตัวของร่างกายต้องวิเคราะห์เองนะครับ ไม่มีผู้ใดรู้ดีกว่าเจ้าของร่างกายแน่นอน  ว่าจะวิ่งได้หรือไม่

3.เทคนิคการซ้อม  ในเรื่องเทคนิคการซ้อมนี้  เรายังไม่มีข้อมูลว่า  แชมป์ของต่างประเทศเขาซ้อมอย่างไร  และแชมป์ประเทศไทย ซ้อมอย่างไร  เมื่อมีโอกาส ผมจะไปสัมภาษณ์แชมป์ประเทศไทย   คุณมนัส   ประทอง  แล้วจะมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะครับ  เอาเป็นว่า  เอาเทคนิคตามความคิดเห็นของผมไปก่อน   ตอนนี้ ผมคิดแผนซ้อมใหม่แล้วคิดว่า การซ้อมสำหรับวิ่งอุลตร้ามาราธอน 24 ชั่วโมง สัปดาห์หนึ่ง ควรมีการซ้อมวิ่งยาว 1 ครั้ง  โดยนับเป็นจำนวนชั่วโมงจะดีกว่า   โดยเริ่มจาก ชั่วโมง ต่อมาเพิ่มเป็น 3 ชั่วโมง,4 ชั่วโมง ถึงสูงสุด  5 ชั่วโมง   ก็เพียงพอแล้ว 

 โดยคิดมาจากวันวิ่งจริง ซึ่งมีจำนวน 24 ชั่วโมง  แบ่งเป็น  4 ชุด ๆ ละ 6 ชั่วโมง  คือ เช้า,บ่าย ,ก่อนเที่ยงคืน  และหลังเที่ยงคืน   ในจำนวน 6 ชั่วโมงนี้  ให้วิ่งประมาณ 5 ชั่วโมง พัก 1 ชั่วโมง  หรือจะพักมากขึ้น  วิ่งน้อยลง  แล้วแต่สภาพร่างกาย  ที่ผ่านมายังไม่มีผู้ใดวิ่งโดยไม่พักเลย  ในการวิ่ง 5 ชั่วโมง นี้ ก็ให้มีการพักครึ่งระหว่างนั้นอีกเล็กน้อย อาจจะ 5-15 นาที  ส่วนเวลาที่เหลืออีก 45 นาทีให้พักยาว หลังการวิ่ง 5 ชั่วโมง  แล้วค่อยเข้าสู่การวิ่งในช่วงต่อไปอีก 

  จากการวิ่งแบบนี้ จึงเห็นว่า การซ้อมวิ่งเพียง 5 ชั่วโมง ก็ถือว่าน่าจะเพียงพอแล้ว     จากนั้น เราจึงเปลี่ยนเวลาการซ้อม  ให้ครบทั้ง 4 ช่วงดังกล่าว  เช่นสัปดาห์นี้ ซ้อมยาวช่วงเช้า  สัปดาห์ต่อไป ก็เปลี่ยนเป็นซ้อมยาวช่วงบ่าย,ช่วงก่อนเที่ยงคืน  และหลังเที่ยงคืน  ให้ครบทุกแบบ   

 ส่วนที่ผ่านมา  ผมซ้อมวิ่งแบบจำลองสถานการณ์จริง  วิ่งยาว 9,12, และ 14 ชั่วโมง อาจจะถือว่า วิ่งเกินความจำเป็นสำหรับการซ้อมก็ได้ ส่วนหลังวิ่งยาวก็พัก  แล้ววิ่งเบา และลงคอร์ทเพื่อคงประสิทธิภาพของหัวใจและปอดไว้ตามปกติ  แต่อย่างไรก็ตาม สูตรที่คิดใหม่นี้  ยังไม่ได้ทดสอบ  ผมจะทดสอบการวิ่งสูตรนี้  หลังวิ่งขอนแก่นมาราธอน 2006 เสร็จ  เพื่อจะทำระยะ 160 กม. ใน 24 ชั่วโมงลองดู  แล้วจะเขียนเป็นบทความมาให้อ่านกันอีกครั้ง

 4.เทคนิคการวิ่งในวันวิ่งจริงหรือวันซ้อม   ยังต้องใช้เทคนิคแบบ Negative Split  คือ วิ่งช้าไว้ตั้งแต่ต้น  แล้ววิ่งแบบสม่ำเสมอไปเรื่อยๆ  (ไม่ต้องวิ่งเร็ว เพื่อทำระยะไว้ก่อนเป็นอันขาด) แล้วจะวิ่งความเร็วขนาดไหน  อันนี้ ผมได้ข้อสรุปจากการทดลองวิ่งแล้ว  ความเร็วที่เหมาะสมสำหรับตัวเรา  ในการวิ่งระยะอุลตร้ามาราธอน 24 ชั่วโมง คือความเร็ว ของการวิ่งมาราธอน บวกไปอีก 2 นาที  เช่น ถ้าเราวิ่งระยะมาราธอนโดยเฉลี่ย ใช้ความเร็ว 4 นาที ต่อ กม.  ในระยะอุลตร้า  ความเร็วที่เหมาะคือ 6 นาที ต่อ กม.  หรือถ้าเราวิ่งมาราธอนด้วยความเร็ว 6 นาที ต่อ กม. เมื่อมาวิ่งอุลตร้า ก็ต้องใช้ความเร็ว 8 นาที ต่อ กม. ตั้งแต่เริ่มต้นเลย   หรือถ้าถืออัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก  ก็คือให้วิ่งแล้วอัตราการเต้นหัวใจ ต้องประมาณ  65-70 % ของอัตราการเต้นสูงสุดของตัวเรา  เช่นถ้าเรามีอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่ 185 ครั้ง ต่อนาที   การวิ่งระยะอุลตร้าของเรา ก็ควรวิ่งให้หัวใจเต้นอยู่ระยะ 125-130 ครั้ง ต่อนาที   เมื่อเราทำแบบนี้ จะทำให้เราวิ่งได้ยาวนานที่สุด  โดยแรงไม่ตกง่ายๆ   ตัวอย่างในวันแข่งจริง คุณมนัส  ประกาทอง ใช้ความเร็วประมาณ 6 นาที ต่อ กม. ตั้งแต่เริ่มต้น และคงความเร็วแบบนั้นตลอด  ใน 1 ชั่วโมง วิ่งได้ 10 กม.   และใน 24 ชั่วโมงมีวิ่งจริง 20 ชั่วโมง พักประมาณ 4 ชั่วโมง   จึงได้ระยะทาง 200 กม. ส่วนแชมป์โลกชาย ที่ว่าเคยวิ่งได้ 290 กม. (ไม่ทราบว่าสภาพสนามวิ่งเป็นอย่างไร)  จะใช้ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 5 นาที ต่อ กม. การที่เราจะทำได้อย่างนั้น ต้องฝึกร่างกายให้แข็งแกร่งขึ้นอีกเป็นอย่างมาก


ป้อหมานกับ 120 กม.ในอุลตร้ามาราธอน 24 ชั่วโมง


ทีนี้มารู้เรื่องราวของป้อหมาน  ผู้โอหัง ที่เคยประกาศศักดาว่าจะวิ่งให้ได้ 150 กม. แต่ปรากฏว่า ทำได้เพียง 120 กม.  เกิดอะไรขึ้นกับเขาบ้าง  ท่านทั้งหลายคงอยากทราบใช่ไหมครับ เรื่องราวก็เป็นดังนี้คือ  ตั้งแต่รู้ข่าวว่า จะมีการวิ่ง 24 ชั่วโมง  ป้อหมานก็ชอบและอยากวิ่งในทันที  แต่ก่อนหน้านั้น  ป้อหมานตั้งใจว่า จะซ้อมเพื่อทำเวลามาราธอนให้ได้ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง  และได้พบกับกุนซือและอาจารย์หลายๆท่านที่ให้ความรู้แล้ว  กุนซือ อาจารย์ทั้งหลายทัดทานว่า  ไม่อยากให้วิ่งเลย กลัวจะได้รับบาดเจ็บเสียก่อน  แต่ป้อหมานก็ถือเอาความคิด และร่างกายตนเองเป็นใหญ่ว่าสามารถวิ่งได้แน่  ประกอบกับ การวิ่ง 24 ชั่วโมงนี้ จะมีการจัดวิ่งครั้งเดียว ไม่แน่ว่าจะมีการจัดอีกหรือไม่  ป้อหมานจึงตัดสินใจสมัครวิ่ง  โดยไปสมัครเมื่อวันที่  9 สิงหาคม 2548  ซึ่งวันแข่งขันคือวันที่ 10 กันยายน 2548 จึงเหลือเวลาฝึกซ้อมเพียง 1 เดือน จากนั้นป้อหมานก็ได้วางแผนฝึกซ้อม  ในขณะนั้น  มีความคิดว่า  การวิ่ง 24 ชั่วโมง  การซ้อมวิ่ง ก็ต้องทำเสมือนจริง  วันวิ่งยาวป้อหมานจึงวิ่งยาวมาก 

 โดยคิดเป็นชั่วโมง ดังนี้

1.วิ่งยาวครั้งที่ 1 เมื่อวันที่  14 สิงหาคม 2548  ที่สวนจตุจักร เริ่มตั้งแต่ 06.00 น. จำนวน 9 ชั่วโมง ก่อนเที่ยงได้ระยะทาง 48 กม. และได้ระยะทางทั้งหมด 61 กม. วิ่งแบบช้าๆ ตั้งแต่แรก  และมีการพักทุกระยะที่วิ่งครบ 10 กม. ในช่วงหลังๆ แรงน้อยต้องพักนานขึ้น และมีเดินสลับด้วย

2.วิ่งยาวครั้งที่ 2 เมื่อวันที่  20 สิงหาคม 2548  ที่สวนจตุจักร เริ่มตั้งแต่ 06.00 น. วิ่งแบบทำความเร็วตั้งแต่ต้น  ช่วงแรกประมาณ 5 นาที ต่อกม.  แล้วค่อยลดลงเรื่อยๆ  พักทุก 10 กม. พักช่วงละประมาณ 10 นาที  ก่อนเที่ยงวิ่งได้ 55 กม. จนครบ 12 ชั่วโมง ได้ระยะทาง 81 กม.

3.วิ่งยาวครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 ที่ทางหลวงสมเด็จ-บัวขาว จังหวัดกาฬสินธุ์ วิ่งแบบ 30 นาที พัก 10 นาที  ปรากฏว่าก่อนเที่ยงวิ่งได้ระยะทาง  45 กม. และสุดท้าย วิ่งถึง 20.35 น. คิดเป็นชั่วโมงได้ 14 ชั่วโมง 35 นาที แล้ว วิ่งได้ทั้งหมด 89 กม. จากการซ้อมยาวทั้ง 3 ครั้ง ป้อหมาน เห็นว่าการซ้อมวิ่งครั้งที่ 2 ดีสุด จึงได้สรุปว่า วิ่งเร็วไว้ก่อน จะได้ทางเยอะสุด  เพราะอย่างไรเสีย  เมื่อวิ่งครบ 12 ชั่วโมงแล้ว ก็เหนื่อยอยู่ดี  แต่ป้อหมานลืมคิดไปว่า 

 การซ้อมครั้งที่ 2 สภาพร่างกายพร้อมกว่า การซ้อมครั้งที่ 3

 ส่วนการซ้อมนอกจากนั้น ก็มีวันพักหลังซ้อมยาว  พักวันที่เข้าเวรบ่าย  วันที่เหลือก็วิ่งเบาปกติ วันละ 8-10 กม. และมีลงคอร์ท 400 เมตร เป็นบางวัน สัปดาห์ละครั้ง 

 แต่หลังวันที่ 29 สิงหาคม 2548 มาแล้ว ก็วิ่งเบาๆ มาโดยตลอด เพื่อรอวันแข่งอย่างใจจดใจจ่อ  โดยในขณะนั้นคิดว่า  ต้องวิ่งได้ระยะทาง 150 กม.ขึ้นไปแน่  และหวังว่าอาจจะติดอันดับ 1 ใน 10  เพื่อจะถือได้ว่าเป็นแนวหน้าในการวิ่งระยะนี้กับเขาบ้าง  ในการวิ่งครั้งนี้ ป้อหมาน ได้นำบุตรชายคนที่ 1 และ 2 พร้อมภรรยามาร่วมเชียร์ด้วย  บุตรและภรรยาพากันเดินทางมาถึงบ่ายวันที่ 9 กันยายน 2548 ป้อหมานจึงพาไปพักที่โรงแรม แกรนทาวเวอร์อินน์  คืนนั้นได้พากันปิดไฟนอนประมาณ 4 ทุ่ม ด้วยความสดที่พักวิ่งมานาน  ด้วยความคิดฟุ้งซ่าน ด้วยความตื่นเต้น ทำให้นอนไม่หลับ แต่ก็ต้องนอน และคืนนั้น ก็หลับไปจนได้

 ในช่วงเวลาประมาณ 01.00 น.  ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ที่ 04.00 น. จึงได้พากันตื่นทั้งครอบครัว  ทั้ง 4 คนทำภารกิจเสร็จเวลา 05.00 น. แวะไปเอาสิ่งของจำเป็นที่ สน.บางซื่อ แล้วก็รีบเดินทางไปสนามแข่ง  กระทรวงสาธารณะสุขทันที  ถึงสนามแข่งก่อนเวลาเพียง 5 นาที  ไม่มีเวลาดูอะไรเลย รายงานตัวเสร็จได้ป้ายหมายเลข แล้วรีบนำมาติดเสื้อ  ทางผู้จัดการแข่ง จึงได้เลื่อนเวลาปล่อยตัวให้ผู้มาช้าเตรียมตัว ซึ่งมีป้อหมานและคนอื่นรวม 4 คน  อีก 3 นาที 

 แล้วเวลาปล่อยตัวก็เริ่มขึ้น “ป้อหมานและคนที่มาช้า ต้องวิ่งอ้อมไปผ่านซุ้มประตูที่มีเครื่องจับสัญญาณกับชิฟ  ทำให้คนอื่น ออกตัวไปก่อนได้ประมาณ 50 เมตร ขณะนั้นเป็นเวลาเช้ามืดรุ่งสางแล้ว  คนมาร่วมงานวิ่งครั้งนี้ ทั้งหญิงและชายรวมแล้วประมาณ 150 คน พากันออกตัววิ่งอย่างสนุกสนาน ด้วยความเร็วช้า  วิ่งไปคุยไป  ส่วนป้อหมานนั้น  เนื่องจากคิดไว้แล้วตั้งแต่ต้นว่า จะวิ่งด้วยความเร็ว เพื่อทำระยะทางไว้ก่อน  จึงได้ออกตัวด้วยความเร็ว  แซงทุกคนขึ้นไปหมด จนมาถึงระยะ 1 กม.แรก  มาทันอันดับ 2 และ 3  (อันดับ 3 คือพี่หมอเจ)  ทั้งอันดับ 2 และ 3 พร้อมกับป้อหมานอันดับ ใช้ความเร็วระดับเดียวกัน จึงได้วิ่งไปคุยกันไป  ด้วยความเร็วเฉลี่ยประมาณ 4.30-4.40 นาที ต่อ กม.

ขณะนั้นทราบว่า ยังมีอีกคนหนึ่ง วิ่งนำโด่งไปข้างหน้าแล้ว   ทั้งสามคน วิ่งไปด้วยกันได้ประมาณ 4 รอบ หรือ ประมาณ 9 กม. อันดับ 2 ก็เพิ่มความเร็วแยกตัวไป   ป้อหมานและหมอเจ  ยังวิ่งไปด้วยกันต่อ   ป้อหมานดูเครื่องวัดระยะทางความเร็วที่ข้อมือ ทราบว่า วิ่งได้ 10 กม.แล้ว  โดยใช้เวลา 45 นาที  พอใกล้ระยะ 20 กม. หมอเจ ลดความเร็วลง  ป้อหมานยังไปต่อ 

 ด้วยความฮึกเหิมที่วิ่งเร็ว แล้วแรงไม่ตก  ยังคงวิ่งได้ด้วยความเร็ว สม่ำเสมอ เหมือนตอนออกตัว  จนผ่านระยะ 20 กม. ดูเวลาที่ใช้ไป 1 ชั่วโมง 30 นาที แล้ว  ป้อหมานก็เกิดความคิดว่า  ลองวิ่งไม่หยุดเลยซิ  จะทำลายสถิติเวลามาราธอนได้หรือไม่ 

 จากนั้นป้อหมานก็วิ่งต่อไม่หยุดพักเลย  มีหยุดดื่มน้ำเพียงนิดหน่อยเท่านั้น  ขณะนั้น ป้อหมานยังอยู่ที่อันดับ และเมื่อวิ่งได้ประมาณ 35 กม.แล้ว จึงเริ่มอ่อนแรงลงบ้าง   แต่ก็ยังไปได้ จนวิ่งได้ครบ 42 กม. ใช้เวลาไป 3.39 ชั่วโมง  ป้อหมานดีใจมาก  ที่สามารถทำสถิติขึ้นมาใหม่ 

 

จากนั้น จึงได้หยุดพักการวิ่งไปประมาณ 30 นาที เพื่อทานอาหาร  นวดขา  ช่วงหยุดเมื่อครบ 4 ชั่วโมงแรก มีการรายงานอันดับ ป้อหมานถูกแซงแล้ว  ตกมาอยู่อันดับ 25 หยุดพักได้เพียง 20 นาที  จิตใจก็อยากวิ่งต่อ  จึงลุกขึ้นมาวิ่ง โดยสวมเสื้อคลุมแขนยาว  เนื่องจากอากาศร้อนแล้ว  แต่ด้วยความที่ใช้ความเร็วในช่วงแรก   รู้สึกเส้นเอ็นจะตึงๆ  คราวนี้ จึงวิ่งไม่ดีเท่าทีควร  แต่ก็สามารถไปได้เรื่อยๆ ด้วยความเร็วประมาณ 7-8 นาที ต่อ กม. ต้องดื่มน้ำทุก  บรรยากาศในช่วงนี้  คนที่วิ่งอยู่ก็บางตาแล้ว  เพราะพากันพักนอนหลบแดด  หลังจากที่คึกคักกันในช่วงเช้า ก็พากันเริ่มอ่อนละทวยเป็นส่วนใหญ่  ต่างคนต่างวิ่งช้าๆ  สลับเดิน  ไม่ค่อยคุยกัน  มีเพียงแนวหน้าประมาณ 10 คนเท่านั้น ยังดูสดชื่น วิ่งสม่ำเสมอ แรงไม่ตก  ป้อหมานวิ่งไปจนถึงเวลาเที่ยงวัน จึงได้หยุด รวมระยะทางที่ทำได้ 58 กม.


หลังเที่ยงป้อหมานหยุดพักประมาณ 1 ชั่วโมง  ก็ออกมาวิ่งต่อ  แต่คราวนี้ แรงน้อยลงอย่างชัดเจนแล้ว  ในแต่ละรอบ จะวิ่งประมาณ 1 กม. ก็เดินอีก 1 กม. สลับกันไปเรื่อยๆ  ระยะทางก็คืบหน้าไปแบบช้าๆ  ลองแวะดู พนักงานนวดที่ผู้จัดจ้างมา  ก็ยังไม่มีผู้ใดว่าง เพราะนักวิ่งอื่นยังใช้บริการอื่นๆ อยู่  ช่วงบ่ายอากาศร้อนมาก  อยากให้ฝนตก แต่ฝนก็ไม่ตก  แถมไม่มีเมฆมาบดบังให้เลย  นักวิ่งก็ยังดูบางตา  เนื่องจากสลับกันพักสลับกันวิ่ง  ในช่วงบ่ายนี้ ป้อหมานหยุดรับมาม่า ถ้วย กินแก้หิว โดยเดินไปกินไป จำนวน 2 ครั้ง พร้อมดื่มกาแฟเย็นไปอีก 1 แก้ว เพื่อกระตุ้นการใช้พลังงานของร่างกาย   ป้อหมานยังไปได้เรื่อยๆ โดยวิ่งสลับเดินเช่นเดิม  บรรยากาศส่วนรวมก็น่าดู บางคนกางร่มเดิน บางคนใช้ผ้าขาวม้าโพกหัว เอาหมวกสวมทับ  พากันเดินบ้างวิ่งบ้าง ทำระยะทางกัน  ส่วนแนวหน้าเขาวิ่งกันอย่างเดียว ไม่มีเดิน  นอกจากวิ่งแล้วก็จะหยุดพักเลย 

 ในช่วงนี้ นักวิ่งหญิงที่ทำระยะทางได้อันดับ 1 คือ นักวิ่งต่างชาติ  ป้อหมานนึกสนุก ก็พยายามฝืนร่างกาย วิ่งตามเขาไปได้ 1 รอบ ก็ต้องเดินเช่นเดิม  จนถึง 15.00 น. ทำระยะไปได้ 70 กม. พักยาวอีกครั้ง คราวนี้ พักนอนไป 1 ชั่วโมง ที่บริเวณลานใต้อาคารที่ฝ่ายผู้จัด จัดไว้ให้ญาติและนักวิ่งพักนอน 

บ่าย 16.00 น. ออกมาวิ่งอีกที  โดยเปลี่ยนเป็นชุดวิ่งเสื้อกล้าม เพราะแดดร่ม ลมตกแล้ว  แต่เสียดาย วิ่งไม่ออกเลย  และเริ่มเจ็บตึงที่บริเวณเส้นหลังเข่าซ้าย  วิ่งได้นิดหน่อยก็ต้องเดิน  จึงคิดในใจว่า  เอเราเป็นอะไรหนอ  คงจะเนื่องจากวิ่งเร็ว  เมื่อเช้าแน่นอน  อารมณ์ช่วงนี้เปรียบเทียบกับช่วงเช้าของป้อหมาน  จึงผิดกันราวฟ้ากับดิน  ตอนเช้า ร่าเริงแจ่มใส ตื่นเต้น ดีใจ วิ่งเร็ว แรงดี  ขณะนี้แรงตก หดหู่  เสียดายการวางแผนผิดพลาดของตนเอง  ซึ่งป้อหมานหรือนักวิ่งรุ่นหลังที่มาอ่านต้องจำเป็นบทเรียนว่า การวิ่งระยะอุลตร้านี้  อย่าวิ่งเร็ว เพื่อทำระยะไว้ก่อนเป็นอันขาด  ให้วิ่งช้าไว้ตั้งแต่ต้น  โดยใช้ความเร็วต่อ กม. ของการวิ่งมาราธอนบวกเวลาเข้าไปอีก 2 นาที  แล้วก็วิ่งสม่ำเสมออย่างนั้นไปเรื่อยๆ  

 ป้อหมานวิ่งบ้างเดินบ้าง จนถึงเวลา 18.00 น. ทำระยะได้แล้ว 81 กม. หรือ 34 รอบ พอดีฟอร์รันเนอร์ที่บอกระยะทาง หมดแบตเตอรี่ จึงได้หยุดวิ่งอีกครั้ง เข้าไปพักยังที่พัก ใต้อาคารเช่นเดิม คราวนี้ กะพักให้นานที่สุด ให้พลังฟื้นคืนมา  เผื่อจะวิ่งได้ความเร็ว ระดับ 7 นาที ต่อ กม.บ้าง 

 จึงนอนพักไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที  เมื่อเวลาพักผ่านพ้นไปแล้ว  ความรู้สึกในตนเองรู้ว่า  ยังไม่สดชื่น และแรงไม่ฟื้นเลย  เป้าหมาย 150 กม. คงไม่ได้แล้ว  แต่จะได้เท่าไรยังไม่รู้  ต้องลองสู้ต่อไป 

 ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้สองทุ่มแล้ว  ป้อหมานจึงกลับออกสู่สนามวิ่งแข่งขันอีกครั้ง  แต่ขณะนี้ไม่ได้แข่งขันกับผู้ใดแล้ว เป็นการแข่งกับตัวเองล้วนๆ ว่าตนเองจะไปได้แค่ไหน  ออกมาวิ่งคราวนี้ จึงได้พูดคุยกับนักวิ่งด้วยกันอีกหลายคน  ได้เห็นการขับเคี่ยวกันของนักวิ่งหญิง ระหว่างอันดับ 1,2,3  ช่วง 21.00-22.00 น. นักวิ่งหญิงไทยแซงนักวิ่งต่างชาติแล้ว  จึงได้ลองวิ่งตามอันดับ 1 นักวิ่งหญิง โดยวิ่งสเต็บ ก้าวสั้น แต่ค่อนข้างเร็ว ก็รู้สึกดีเหมือนกัน วิ่งไปด้วยได้ 3 รอบ (รวมรอบที่ทำไว้เดิมเป็น 40 รอบ) 

 จึงได้หยุดพักเข้าห้องน้ำ   กลับออกจากห้องน้ำ  พบรุ่นน้องจากชมรมสนามศุภฯ มาวิ่งเป็นเพื่อน จึงได้กัดฟัน ออกวิ่งไปโดยไม่เดินเลย ได้ 2 รอบ  รอบที่ 2 ขณะผ่านซุ้มสตาร์ท  ไม่ได้ยินเสียงชิพที่ติดขาร้อง จึงเอะใจ  อ้าวเราลืมติดชิพหรือนี้  ปรากฏว่า วิ่งฟรีไป 2 รอบ เพราะลืมติดชิพ  จากนั้น จึงได้ทำใจ นั่งพักก่อน โดยไม่ต้องถอดชิพเดี๋ยวลืมอีก   แล้วก็วิ่งและเดินต่อได้อีกรอบรวมเป็น 45 รอบแล้ว  เกิดอาการเจ็บเส้นเอ็นหลังเข่าซ้ายมากขึ้นอีก 

 จึงคิดว่า  “เอหรือนี่ จะเป็นหลุมดำอุลตร้า ที่จะหลอกให้เราลงหลุม  ถ้าจะไม่ดีแล้ว หยุดเพียงแค่นี้ดีกว่า ก่อนที่จะเจ็บเกินไป” ว่าแล้ว ผมจึงหยุดวิ่ง และเข้านอน   ระหว่างนอนนั้นก็มีเพื่อนนักวิ่งอุลตร้าทยอยพากันเข้ามานอนด้วย  ได้ยินเสียงบ่น  เสียงรำพึงรำพันต่างๆนานา ได้ยินเสียงชิพของนักวิ่งที่วิ่งผ่านจุดสตาร์ท  อีกทั้งฤทธิของกาแฟ ทำให้นอนไม่หลับเลย  ได้แต่หลับตาเพื่อพักผ่อนไว้  เวลาผ่านไปประมาณ 2 ชั่วโมง จึงลุกขึ้นไปอาบน้ำ  เมื่ออาบน้ำเสร็จ รู้สึกสดชื่น ดูนาฬิกาขณะนั้นเวลาประมาณ 03.30 น. เหลือเวลาอีกสองชั่วโมงครึ่ง  อาการบาดเจ็บก็ค่อยทุเลาแล้ว  จึงได้ลุกไปเดินวิ่งเพิ่มได้อีก 5 รอบ รวมเป็น 50 รอบคิดเป็นระยะทาง 120 กม.พอดี ก็ถึงเวลา 06.00 น.รุ่งสางของวันที่ 11 กันยายน 2548