<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_pain_knee.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> บาดเจ็บบริเวณหัวเข่า

 

บาดเจ็บบริเวณหัวเข่า

 

 

บาดเจ็บหัวเข่าข้าพเจ้าพบบ่อยมาก พบแทบจะทุกวัน บางวันก็หลาย ๆราย ทั้งในนักวิ่งและนักกีฬาทุกชนิดทุกเพศทุกวัย ยิ่งในฤดูการแข่งขันด้วยแล้วยิ่งมากขึ้นหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นเจ็บในเข่า นอกเข่าขณะวิ่ง หรือเข่าบวมเมื่อวิ่ง ฯลฯ บางคนก็วนเวียนมาหลายครั้งหลายหน เพราะไม่หาย ก็จะไปหายได้อย่างไรเพราะบอกอย่างทำอย่าง ยิ่งบางโรคซึ่งละเอียดอ่อนมาก เช่น โรคข้อเข่านักกระโดดหรือกระโจน
( Jumper's knee ) อาการที่เป็นดูเหมือนไม่มาก ก็คิดว่าไม่เป็นไรมาก แต่ก็ไม่หายสักที ทำให้วิ่งไม่ได้เต็มที่ แข่งขันไม่ได้ ด้วยความใจร้อนอยากจะหายเร็ว ๆ จึงเอาทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นหมอพระ หมอนวดหรือหมอโบราณ ใครที่ว่าดีไปหมดก็ยังไม่หาย ซึ่งเรื่องข้อเข่านักกระโดดหรือกระโจนนี้ ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจริง ๆ ให้พักก็ต้องพักหรืองดเว้นการงอเข่าก็ต้องทำจริง แล้วการให้ยาและการทำกายภาพบำบัดจึงจะทำให้หายได้ (การตั้งใจที่จะทำอะไรอย่างจริงจังสามารถประสบผลสำเร็จได้ไม่ยาก  ไม่เพียงแต่การรักษาตัวให้หายจากโรคเท่านั้น )

บาดเจ็บบริเวณเข่านี้ เป็นบาดเจ็บที่พบได้มากที่สุดจาการวิ่งที่พบได้บ่อย ๆ คือ

1.โรคข้อเข่านักวิ่ง ( Runner's knee )

ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่นักวิ่งเพราะพบมากที่สุด  เป็นบาดเจ็บที่บริเวณผิวกระดูกอ่อนของกระดูกสะบ้า สำหรับผู้ที่มีรูปทรงของกระดูกสะบ้า ไม่ปรกติหรือวิ่งมากไปไม่ถูกเทคนิค  ทำให้การลื่นไหลของกระดูกสะบ้า ระหว่างที่มีการเหยียดและการงอเข่าไม่สะดวก  เมื่อวิ่งมาก ๆ จะทำให้แรงเค้นเกิดขึ้นมารวมกันอยู่ที่ผิวกระดูกอ่อน  เมื่อมากขึ้นเรื่อย ๆ จำมีการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อของกระดูกสะบ้า  ยิ่งถ้างอเข่ามาก ๆ จะเกิดแรงอัดที่กระดูกสะบ้ามากทำให้ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายมากขึ้นไปอีก  ดังนั้นการวิ่งที่งอเข่ามาก ๆ เช่นการวิ่งขึ้นหรือลงที่สูง หรือที่ลาดเอียง  ชัน จึงทำให้เกิดโรคงอเข่านักวิ่งได้ง่าย  สำหรับอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการทำลายของผิวกระดูกอ่อนที่พบได้บ่อย ๆ ก็คือ กล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง  ทำให้ไม่มีตัวที่จะดึงรั้งกระดูกสะบ้าไว้เมื่อมีการเคลื่อนไหว  ผิวกระดูกอ่อนของกระดูกสะบ้า  จะไปถูไถกับกระดูกของข้อเข่า ทำให้มีการทำลายกระดูกผิวข้อได้

อาการของโรค  คือ ปวด  เจ็บ  ใต้ลูกสะบ้า  จะมีอาการเกิดขึ้นหรือเพิ่มมากขึ้นเมื่อวิ่งระยะทางมากขึ้น  หรือเห็นได้ชัดเมื่อวิ่งขึ้นที่ลาดเอียง หรือวิ่งขึ้นที่สูง  อาการที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดหลังจากหยุดวิ่งทันทีหรือภายหลังจากนั้น  ในรายที่เป็นมาก ๆ เมื่อนั่งงอเข่าจะเหยียดเข่าไม่ค่อยออกเนื่องจากเจ็บปวด

การปฐมพยาบาลและการรักษา

เมื่อมีอาการครั้งแรก  ให้พักประคบน้ำแข็งประมาณ 5-10 นาที แล้ว ให้ยาแก้ปวด  หลังจาก  24 ชั่วโมงให้ประคบน้ำร้อนเพื่อให้การอักเสบหายโดยเร็ว  นอกจากนี้การให้ยาต้านการอักเสบจะทำให้การหายจากโรคเร็วขึ้น

เมื่อหายแล้วสิ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างยิ่งคือการฟื้นฟูสภาพให้เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม  คือการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรงมาก ๆ ( บริหารกล้ามเนื้อต้นขา เกร็งเข่ากดน้ำหนักลงบนหมอน ) โดยเริ่มต้นยกน้ำหนักประมาณ  1 กิโลกรัม ประมาณ 10 ครั้ง เช้า และเย็น  จากนั้นให้เพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสามารถยกได้เท่ากับข้างที่ดี   หรือขนาดของกล้ามเนื้อต้นขาเท่ากับข้างที่ดี  ถ้าต้องการให้ประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อการแข่งขันในระดับสูง  ก็สามารถยกน้ำหนักมากขึ้นได้จนถึง หรือใกล้เคียง  1/3 ของน้ำหนักตัว

การป้องกัน

1.ตรวจร่างกายดูรูปทรงว่าผิดปรกติหรือไม่  เพื่อจะได้แก้ไขได้ถูกต้อง หรือเลี่ยงการเสี่ยงต่อการบาดเจ็บโดยเสริม หรือปรับปรุงวิธีการวิ่ง  เพื่อให้เหมาะสมกับรูปทรงเฉพาะตัวของเราเอง

2.เรียนรู้เทคนิควิธีการวิ่งที่ถูกต้องที่สุด

3.บริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรงอยู่เสมอ  เพื่อให้เกิดแรงเค้นที่กระดูกสะบ้าน้อยที่สุด

 

2.การเจ็บปวดบริเวณด้านข้างนอกเหนือหัวเข่าเล็กน้อย ( Iliotibial " band " friction  syndrome )

เกิดจากการเสียดสีของแผ่นพังผืดหนาที่อยู่ด้านนอกของข้อเข่า  มีการเสียดสีกับกระดูกหัวเข่าทางด้านนอก  ระหว่างการเหยียดเข่าทางด้านนอก   ระหว่างการเหยียดเข่าและงอเข่าในขณะที่วิ่งซ้ำ ๆ ซาก ๆ  ทำให้มีการอักเสบตามมาได้  อาการจะเจ็บปวดในขณะที่วิ่งมากขึ้น  ถ้าเป็นมากๆ การพักจะไม่หาย  โรคนี้จะพบในนักวิ่งที่มีโครงสร้างผิดปรกติ  คือขาโก่ง  หรือเท้าคว่ำบิดออกด้านนอก  ในนักวิ่งที่โครงสร้างร่างกายปรกติก็พบได้เช่นกัน   คือ พวกที่วิ่งโดยไม่ยอเปลี่ยนหรือซ่อมแซมรองเท้าที่สึกหรอแล้ว  โดยเฉพาะรองเท้าที่สึกหรอทางด้านนอก  เมื่อวิ่งจะทำให้เท้าเอียงและมีการเสียดสีของพังผืด  ดังกล่าวบริเวณข้อเข่า  ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้

การปฐมพยาบาลและการรักษา

เมื่อมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นให้ประคบด้วยน้ำแข็งนาน  15-20 นาที  หลังจากนั้นบริหารเพื่อยืดพังผืดนี้ให้หย่อนลงเพื่อลดการเสียดสี  และบริหารพังผืดนี้แข็งแรงด้วย ( การบริหารยืดพังผืดด้านนอก  ยืนไขว้ขามือยันฝาดันตัวเข้าหาฝา   และการบริหารยืดพังผืดด้านข้าง   ให้นอนตะแคงยกขาที่ถ่วงด้วยน้ำหนักขึ้น ลง )  จะได้ไม่เป็นซ้ำอีก  แม้แต่ในคนที่มีความผิดปรกติของโครงสร้างร่างกายดังกล่าวแล้ว  ถ้าไม่มากนักก็สามารถบริหารเพื่อไม่ให้เกิดอาการจากการวิ่งได้เช่นกัน  ถ้าในรายที่อาการมีมาก  การรักษาที่จำเป็นคือ  การให้ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบทั้งชนิดกินหรือฉีดยาเฉพาะที่ด้วย

การป้องกัน

1.ดูรูปทรงของร่างกายว่ามีขาโก่งหรือเท้าคว่ำบิดออกด้านนอก หรือไม่       เพื่อจะได้เสริมด้วยรองเท้าหรือปรับปรุงวิธีการวิ่งให้รูปทรงในการวิ่งเป็นปรกติที่สุด  ถ้าเป็นมาก ๆ อาจจำเปนต้องผ่าตัดแก้ไข

2.บริหารให้ส่วนพังผืดไม่ให้ตึงและให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ

3.ดูแลเรื่องรองเท้าไม่ให้สึกหรอ  โดยเฉพาะด้านนอกของพื้น  ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนใหม่ก็ต้องเสริมให้ถูกต้อง

3.การเจ็บปวดบริเวณด้านข้างนอกต่ำกว่าข้อเข่าเล็กน้อย ( Popliteal tendinitis )

เกิดจากการอักเสบของเอ็นที่เกาะตรงบริเวณนั้น  จะพบในนักวิ่งที่มีเท้าคว่ำบิดออกด้านนอก  หรือนักวิ่งที่วิ่งลงจากเนินหรือที่สูง   และพบเสมอ ๆ ในนักวิ่งที่วิ่งตามชายหาด และตามริมฝั่งแม่น้ำที่พื้นที่วิ่งไม่สม่ำเสมอ  และยุบตามแรงกดของเท้า  ทำให้เท้าอยู่ในท่าที่คว่ำบิดออกทางด้านนอก เกิดแรงเค้นต่อเอ็นบริเวณนั้นจึงเกิดการอักเสบตามมา  ถ้าเรานอนไขว่ห้าง  แล้วกดหัวเข่าลง  จะทำให้เกิดการเจ็บปวดตรงบริเวณนั้น

การปฐมพยาบาลและการรักษา

เมื่อมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น  ให้ประคบด้วยน้ำแข็งนาน  15-20 นาที  ให้ยาแก้ปวดแล้วพักไม่เกิน  3 วัน  อาการจะหายไป  ถ้ายังไม่หายจำเป็นต้องให้การรักษาโดยการให้ยาต้านการอักเสบชนิดกิน  หรือถ้ามากก็ต้องให้ยาฉีดเฉพาะที่ด้วย

การป้องกัน

1.ดูรูปทรงของร่างกายว่ามีเท้าคว่ำบิดออกด้านนอกหรือไม่  เพื่อจะได้เสริมด้วยรองเท้าหรือปรับปรุงการวิ่งให้รูปทรงใก้ลเคียงปรกติ

2.ดูแลเรื่องรองเท้าไม่ให้สึกหรอ  โดยเฉพาะด้านนอก  ถ้าไม่เปลี่ยนก็ต้องว่อมแซมให้ถูกต้อง

3.หลีกเลี่ยงการวิ่งตามพื้นที่ที่ยุบจากแรงกระทกของเท้า  เช่นบนทรายชายหาด หรือบนตลิ่งที่พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ  และวิ่งลงจากที่สูง

4.โรคข้อเข่านักกระโดดหรือกระโจน ( Jumper's knee )

ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติอีกเช่นกัน แก่ผผผผู้ที่ชอบกระโดดหรือกระโจน  ถึงแม้ว่าจะพบไม่มากนักในนักวิ่ง  แต่สำหรับพวกที่ชอบกระโดดกระโจนแล้วเป็นสิ่งที่แทบจะคู่กันเลยทีเดียว  เป็นบาดเจ็บที่เกิดจากการฉีกขาดของเอ็นหรือพังผืดที่บริเวณกระดูกสะบ้า  อาจจะค่อยเป็นค่อยไป  หรือเกิดขึ้นทันทีก็ได้  สาเหตุนั้นเกิดจากการกระตุก  การะชากของเอ็นที่เกาะที่กระดูกสะบ้าในทันที  ทำให้มีการฉีกขาด  โดยเฉพาะนักวิ่งที่มีกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง   ไม่มีตัวที่จะประคองการกระตุกนี้  ทำให้เกิดการฉีกขาดได้ง่ายทั้งที่แรงที่กระทำก็ไม่มากนัก

อาการของโรคคือ  เจ็บปวดบริเวณรอบ ๆ กระดูกสะบ้า ตำแหน่งใด  ตำแหน่งหนึ่ง  หรือหลาย ๆ ตำแหน่ง  ในรายที่เป็นมากจะเจ็บอยู่ตลอดเวลา ดรือบางรายจะมีอาการก็ต่อเมื่อวิ่ง  กระโดดหรือกระโจน

การปฐมพยาบาลและการรักษา

เมื่อมีอาการครั้งแรก  ให้พักประคบน้ำแข็งประมาณ  5-10  นาที  แล้วให้พักอยู่ในท่าเข่าเหยียด  ให้ยาแก้ปวด  หลังจาก 24 ชั่วโมงจึงประคบร้อนถ้ายังไม่หายใน 3 วัน  ต้องล็อคเข่าให้อยู่ในท่าเหยียดนาน  3 สัปดาห์  และให้ยาต้านการอักเสบชนิดกิน  หลังจากหายแล้วให้บริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรงมาก ๆ เพื่อที่จะได้ทนแรงกระตุกหรือกระชากนั้นได้  ในรายที่อาการค่อยเป็นค่อยไปหรือเป็นแบบเรื้อรัง  การรักษานอกจากหลีกเลี่ยงการกระโดด  กระโจนแล้วต้องไม่พยายามงอเข่า  ให้ยาต้านอักเสบรวมทั้งการรักษาทางกายภาพบำบัด  เช่น  การใช้ความร้อน   หรือคลื่นเหนือเสียง (อุลตราซาวด์) ในการรักษาด้วยจึงจะทำให้การหายเร็วขึ้น  สิ่งที่ไม่ควรลืมเลยคือการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรงกว่าเดิมให้มาก ๆ เพราะเมื่อเราวิ่งอีกจะได้ไม่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น

การป้องกัน

1.หลีกเลี่ยงการวิ่งที่ต้องกระโดดหรือกระโจน

2.หลีกเลี่ยงพื้นที่แข็ง  เพื่อลดแรงกระแทก  กระตุกที่ข้อเข่า

3.บริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรงอยู่เสมอ

 

( จากหนังสือบาดเจ็บจากการวิ่ง   รศ.นพ.ธีวัฒน์  กุลทนันทน์  )

Click

อาการปวดส้นเท้า

ยางรองส้นเท้า

อักเสบส้นเท้า-ฝ่าเท้า

คลิก บทความเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
และบาดเจ็บต่างๆเช่นเจ็บเข่า,เอ็นร้อยหวาย ฯลฯ

 

 

 

 

ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.44<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>