% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_pain_bottom.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %>
ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.49<%
L=Len(NewHits)
i = 1
For i = i to L
num = Mid(NewHits,i,1)
Display = Display & ""
Next
Response.Write Display
%>
นักวิ่งเจ็บแก้มก้น
โดย กฤตย์ ทองคง
การที่นักวิ่งมีอาการผิดปกติเจ็บแก้มก้นมีหลายสาเหตุ ไม่ใช่เรื่องตายตัว อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ผู้เขียนได้เคยเขียนเรื่องกลุ่มอาการที่ใกล้เคียงนี้ไว้บ้างแล้วในบทความเรื่องอื่น เช่นเรื่อง แฮมสตริงหรือไซติกา นั่นก็คือเหตุหนึ่ง อีกสาเหตุที่นักวิ่งควรจะทราบเอาไว้บ้างจากการเจ็บแก้มก้น อาจมาจาก กล้ามเนื้อที่มีชื่อว่า Piriformis Muscle มีชื่อเรียกความผิดปกติจำเพาะว่า Piriformis Syndrome
อาจเป็นได้ที่นักวิ่งมีอาการเคืองๆเล็กน้อย หรือ เจ็บแบบรุนแรงก็ได้ทั้งสองอย่าง ในจุดบริเวณที่มีอาการคล้ายๆจุดเดียวกับความผิดปกติที่เกิดจาก Sciatic Nerves คือบริเวณลึกที่สุดของแก้มก้น
กล้ามเนื้อชุด Pirifomis มีจุดเชื่อมต่อจากปลายประสาท โยงไปสู่กระดูกขาอ่อนอยู่ใต้กล้ามเนื้อ Gluteus Maximus อีกที ในกรณีที่เกิดความผิดปกติแบบธรรมดา ก็คือเกิดอาการเกร็งตัวจากการฝึกที่มากเกินไป หรือ การไม่ยอมคลายตัวของ Piriformis ซึ่งจะไปมีผลต่อเนื่องไปดันเส้นประสาท Sciatic Nerves เส้นประสาทใหญ่อีกที
ผู้มีอาการจึงรู้สึกคล้ายกับความผิดปกติที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างหนีบทับปลายเส้นประสาท ดังที่บรรยายในบทความ แฮมสตริงและไซติก้า นั่นเอง
หลังจากนี้ ผลต่อเนื่องที่มาจากความผิดปกติทั้งสองสาเหตุก็คงจะคล้ายๆกัน คือจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของขา หัวเข่า น่อง ข้อ และเท้าต่อมาได้
และไม่ว่าจะเป็นเพราะสาเหตุหมอนรองกระดูกทับหนีบ หรือ Piriformis เกร็งตัวก็ตาม สิ่งที่น่าจะลองทำก่อนไปพบแพทย์ก็คือ ใช้ลูกเทนนิสช่วย
ใช้คลึงแก้มก้นเพื่อให้เกิดความคลายตัว ในกรณีที่ทำคนเดียวไม่เหมาะสมให้ใครมาช่วยคลึงบั้นท้ายให้ ให้ใช้วิธีนั่งทับลูกเทนนิส ใช้มือยันเก้าอี้หรือพื้น ช่วยในการถ่ายน้ำหนักของร่างกาย ให้ไปในทิศทางที่ร่างกายต้องการ โดยที่ให้สังเกตจากอาการขณะทำด้วยว่า ต้องไม่ใช่เป็นการกระทำที่ทำแล้วเจ็บมากขึ้น กดคลึงให้ลูกเทนนิสลึกเข้าไปในชั้นเนื้อราว 60 วินาที หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น
ควรทำวันละ 1-2 ครั้ง โดยให้ทำครั้งที่สองก่อนการไปวิ่ง (ถ้าวิ่งเย็น) และรักษาการทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนดีขึ้น
หลังจากนั้น 4 สัปดาห์แล้ว ความเจ็บมิจางคลาย หรือแย่ลงกว่าเดิม ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อจัดการต่อไป
นี่คือข้อที่นักวิ่งสามารถดูแลตัวเองได้ในชั้นต้น สำหรับการเจ็บแก้มก้น
14:44 น. 15 ธันวาคม 2548
จาก Tricks of the trade
โดย Clint Verran
Physical therapist and 2:14 Marathoner
R.W. May 2005 P.50