% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_observe_overtrain.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %>
ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 5ก.ค.49<%
L=Len(NewHits)
i = 1
For i = i to L
num = Mid(NewHits,i,1)
Display = Display & ""
Next
Response.Write Display
%>
จับสังเกตโอเว่อร์เทรน
โดย กฤตย์ ทองคง
เนื่องจากกีฬาวิ่งระยะไกล เป็นกีฬาที่อยู่ในหมวดชนิดที่เป็น แอโรบิก เอ็กเซอร์ไซส์ ที่ไม่สร้างความรุนแรงให้กับร่างกายได้มากเท่ากับฟุตบอล , รักบี้หรือมวย ดังนั้น การบาดเจ็บในนักวิ่ง เกือบทั้งหมด จึงไม่ใช่การบาดเจ็บขึ้นมาอย่างกะทันหันในคราวเดียว หากแต่นักวิ่งมักจะได้รับการเตือนจากร่างกายตนเองมาก่อนเกือบทั้งสิ้น หากแต่ที่บาดเจ็บกันนั้น มักจะเกิดจากการเพิกเฉยไม่ฟังสัญญาญาณจากธรรมชาติ
หนึ่งในสัญญาญาณเตือนก่อนการบาดเจ็บนั้นก็คือ อาการโอเว่อร์เทรน ที่ลำพังการโอเว่อร์เทรนยังมิใช่การบาดเจ็บ หากพวกเขาหยุดพักหรือจัดให้เบาแผนฝึกลงไม่หักโหม และผ่านการพักผ่อนนอนหลับอย่างพอเพียง อาการทะล่อทะแล่ เหล่านั้นก็จะหายไป ความรู้สึกกระหายวิ่งก็จะกลับคืนมา
ตรงกันข้าม หากเป็นความบาดเจ็บ นักกีฬาได้ผ่านการนอนหลับไปตั้งหลายคืนแล้วก็ยังไม่มีอาการที่ดีขึ้นจากบริเวณนั้น จำต้องยุติการวิ่งโดยสิ้นเชิง เป็นระยะเวลานาน นั้น..ใช่เลย
ว่าจำเพาะการโอเว่อร์เทรน ก็มีหลายลักษณะอาการ นักวิ่งจะเกิดเป็นบางอาการหรือหลายอย่างหรือครบทุกอย่าง ก็เป็นไปได้ ดังต่อไปนี้
หลับยาก
ความต้องการทางเพศลดลง
ไม่อยากวิ่งเหมือนเคย
วิ่งด้วยความเข้มเท่าเดิม แต่เหนื่อยกว่าเดิม
หงุดหงิด
ไปแข่งได้เวลาตกลงอย่างมากผิดปกติ
ใจสั่น
รู้สึกเมื่อยล้าเรื้อรัง
ไม่ยอมหายสักที
ชีพจรขึ้นมากว่าปกติ
ภูมิต้านทานลดลง
เป็นหวัดง่าย
เบื่ออาหาร ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ใครก็เป็นโอเว่อร์เทรนกันได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นนักวิ่งแนวหน้าหรือแนวหลัง ด้วยว่าความเข้มจากการฝึก มันผันแปรตามระดับความสามารถทางร่างกายของนักวิ่งแต่ละคน
แต่ที่ผู้เขียนนำมาขยายในวันนี้ จะนำมาเฉพาะการตรวจนับชีพจรอย่างง่ายๆด้วยตัวนักวิ่งเองเพื่อเช็คร่างกายเป็นเบื้องต้นก่อนที่จะไปหาโค้ชหรือพบแพทย์ ซึ่งเป็นวิธีการที่แนะนำโดย นักวิจัยชาวฟินแลนด์ Heikki Rusko Ph.d. ซึ่งเป็นการตรวจสอบที่เมื่อพิจารณาดูแล้วก็น่าให้ความเชื่อถือ ทั้งนี้พวกเราหากได้ใช้วิธีการเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์จะหลีกเลี่ยงได้เร็วขึ้นก่อนที่มันจะแตกโพล๊ะ
วิธีการของรัสโก ก็ใช้วิธีการเดียวกันกับเทคนิคเปรียบเทียบระดับของชีพจรขณะออกแรงเทียบกับขณะพัก แต่ปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ประการแรก
ให้ผู้ทดสอบ นอนสงบนิ่งราว 10 นาที แล้วลุกขึ้นยืนรอสัก 12 วินาทีก่อนวัดชีพจรใน 6 วินาที ว่าเต้นกี่ตุ้บ แล้วจดลงกระดาษไว้
ขั้นต่อมา
ให้ยืนอย่างเดิมต่อไปจนกระทั่งได้เวลาไป 90 วินาที (นับจากหลังยืน) ก็ให้กลับมาจับชีพจรอีกครั้ง แต่คราวนี้ให้จับนาน 30 วินาที ได้จำนวนกี่ตุ้บ ให้จดลงไปอีก
ขั้นสุดท้าย
เอาทั้งสองตัวเลขมาคิดคำนวณโดยคูณข้อแรกด้วย 10 และคูณข้อที่สองด้วย 2 ก็จะได้ตัวเลขมา 2 ชุดในการวัดแต่ละครั้ง ให้ถือปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อยๆทุกวัน และเพื่อให้ดียิ่งขึ้น ควรเป็นเวลาเดียวกันทุกวันด้วย
การตีความ
ถ้าคุณปราศจากภาวะโอเว่อร์เทรนในระยะนั้น ตัวเลขทั้งสองชุดในแต่ละวันก็จะคงที่ คือมักจะเท่าๆกัน เพี้ยนบ้างนิดหน่อย ตามการวัดที่อาจคลาดกันบ้าง แต่หากมีภาวะโอเว่อน์เทรนมาเยี่ยม หรือกำลังจะ.บาดเจ็บ....คุณก็จะพบว่าตัวเลขเพิ่มขึ้น ก็เหมือนกับการบาดเจ็บ ภาวะโอเว่อร์เทรนจะไม่เกิดปุบปับ แม้ว่าคุณจะฝึกหนักจนร่างกายเริ่มจะรับไม่ไหว แต่มันจะโอเว่อร์เทรนขึ้นทีละน้อยๆ
ดังนั้นการที่วัดไปเรื่อยๆทุกวันจนเป็นนิสัย มันจึงดีตรงที่ ตัวเลขมันจะทยอยขึ้นทีละวันทีละวันให้ผู้ทดสอบสังเกตเห็นได้ชัดเจน ที่ถ้าหากไม่ได้วิธีนี้ แต่อยู่เฉยๆ คุณอาจไม่รู้สึกอะไรมากนัก อะไรที่ผ่านมาและผ่านไปเหมือนลมพัด , นกบินผ่านและสายน้ำไหล ไม่ทันสังเกตตัวเลขที่ทยอยขึ้นจะขึ้นทั้งสองตัว แต่ให้สังเกตตัวเลขที่สอง จะขึ้นมาให้ดูชัดเจนเลย
นักวิจัยรัสโก ได้ใช้วิธีนี้ ประกอบการระแวดระวังแผนการฝึกสกีครอสคันทรี่ของทีมชาติฟินแลนด์ ที่ตัวเลขในข้อที่สองของนักสกีที่รับภาวะฝึกหนักไม่ไหวจะกระโดดขึ้นไปมากกว่าปกติ ถึง 10-15 ตุ้บต่อนาที ในคาบระยะเวลา 4 สัปดาห์
การวัดชีพจรแบบวิธีของรัสโกนี้ จะแม่นยำกว่าการจับวัดชีพจรขณะพักที่เป็นเลขตัวเดียวแบบที่นักวิ่งนิยมทำกันทั่วไป
ผลได้อีกประการหนึ่งก็คือวิธีนี้จะเป็นการช่วยโค้ชดูแลพฤติกรรมนักกีฬา ด้วยว่าแต่เดิมโค้ชจะต้องหยั่งใจนักกีฬาด้วยว่าที่นักกีฬาแจ้งอาการต่างๆให้ฟังนั้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นจริงๆหรือเป็นการเสแสร้งเพื่อผลอย่างอื่นที่นักกีฬาต้องการ แต่วิธีนี้จะช่วยเหลือโค้ชให้โค้ชแน่ใจ (มากกว่าตัวนักกีฬาจะรู้สึกเองด้วยซ้ำว่า เขากำลังจะโอเว่อร์เทรนจริงหรือไม่ ถ้าจริงจะได้รีบเบาแผนฝึกได้ทันท่วงทีกว่าวิธีก่อนๆ ชะตากรรมที่ต้องเจ็บแน่ๆ ก็อาจรอดพ้นไปได้
ลองเอาวิธีการของรัสโกไปปรับใช้ดูนะรับ ไม่ต้องเสียสตางค์และได้ผลดีมากทีเดียว
22:44 น.
31 ม.ค. 2548
จาก Back from the Brink
โดย Porter Shimmer
R.W. June 1995. P.22