% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_nutrition_sport.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %>
อาหารมีความสำคัญต่อร่างกายจึงจำเป็นที่ร่างกายจะต้องได้อาหารในการดำรงชีวิต ประกอบไปด้วยสารอาหารหลักได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ถึงแม้ว่าน้ำจะไม่ใช่สารอาหาร แต่ก็มีความจำเป็นต่อร่างกายและขาดไม่ได้ ความต้องการสารอาหารจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ เพศ น้ำหนักตัว หรือรูปร่าง ภาวะร่างกายของบุคคลนั้น รวมถึงกิจกรรมต่างๆ เช่นในกรณีเจ็บป่วยเป็นไข้ หรือการออกกำลังกายเป็นต้น
ความต้องการสารอาหารหลักเพื่อให้ภาวะโภชนาการดี ควรได้รับในอัตราส่วนกระจายตัวของพลังงานจากสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 55-60 % โปรตีน 15 % และไขมัน 25-30 % และควรถือหลักรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ทุกมื้อ ทุกวัน
พลังงาน ร่างกายได้รับพลังงานจากสารอาหารโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยสารอาหารเหล่านี้ 1 กรัม ให้พลังงานเท่ากับ 4 , 4 และ 9 กิโลแคลอรี่ ตามลำดับ ร่างกายต้องการพลังงานเพื่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ และเพื่อการเจริญเติบโตในผู้ใหญ่ ความต้องการพลังงานของร่างกายขึ้นอยู่กับการประกอบกิจกรรมเป็นเกณฑ์ โดยดูจากการทำงานเบา ทำงานหนัก เป็นต้น ความต้องการพลังงาน ของชาย หญิง ผู้ใหญ่ ทำงานหนักปานกลาง อาจคำนวณง่ายๆ โดยเอาน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม x 45 - 50 ( ผู้ชาย ) หรือ 35 - 40 ( ผู้หญิง ) ก็จะได้จำนวนพลังงานที่ต้องการ
คาร์โบไฮเดรต ร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งของพลังงานมากที่สุด 50 - 60 % ของความต้องการพลังงานของร่างกายทั้งวัน แหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรตที่ดีควรอยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว แป้ง เผือก มัน เป็นต้น เพราะนอกจากจะได้พลังงานแล้วยังได้เกลือแร่ และวิตามินอีกด้วย ส่วนในนักกีฬาที่ต้องอาศัยความอดทนเป็นพิเศษ เช่น นักวิ่งมาราธอน ควรมีการเสริมอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้สะสมเป็นไกลโคเจนซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกายที่จะถูกนำมาใช้
โปรตีน ความต้องการของโปรตีนของคนไทยผู้ใหญ่ประมาณวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทั้งนี้คิดจากการได้รับประทานอาหารโดยทั่วๆ ไป สำหรับผู้ที่ใช้แรงงานมากอาจมีการสูญเสียไนโตรเจนไปบ้าง ความต้องการโปรตีน อาจสูงขึ้นเป็นประมาณ 1.5 - 1.7 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากมีการใช้โปรตีนมีคุณภาพสูง เช่น นม ไข่ เนื้อสัตว์ โดยให้มีสัดส่วนโปรตีนจากสัตว์ และพืชให้เหมาะสม คาดว่าความต้องการโปรตีนอาจลดลงกว่านี้ ข้อมูลนี้ถ้าจะนำมาประยุกต์ใช้กับนักกีฬา จะเห็ฯว่าถ้าเป็นระยะที่มีการฝึกหนักอาจต้องคำนึงถึงการจัดอาหารที่มปริมาณโปรตีน ที่มากกว่า 1 กรัม / 1 กก. และต้องเป็นโปรตีนคุณภาพดี ปกติอาหารไทยจะต้องมีแหล่งโปรตีนจากสัตว์และพืชในอัตราส่วนประมาณ 50 : 50 หรือ 60 : 40 โดยได้จากเนื้อสัตว์ประมาณ 200 กรัม ( โปรตีน 15 - 20 กรัม / 100 กรัม ) ต่อวัน หรือได้จากเนื้อสัตว์ 100 กรัม ไข่ 1 ฟอง นม 1 แก้ว ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นพลังงานทั้งหมดจะได้ประมาณ 12 - 15 % เพียงพอ ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
แต่การบริโภคจะต้องไม่มากเกินไป เพราะนอกจากไม่เกิดประโยชน์แล้ว ยังทำให้ตับและไตทำงานหนักขึ้นในการขับของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ไตเสื่อมง่าย
ไขมัน ปกติความต้องการของร่างกายจะประมาณ 25 - 30 % ของปริมาณพลังงานทั้งหมด ไขมันเป็นสารอาหารที่ให้ปริมาณพลังงานมากที่สุด และเมื่อมีการออกกำลังกล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากไขมันและคาร์โบไฮเดรต ร่างกายจะพยายามใช้พลังงานจากโปรตีนน้อยที่สุด
วิตามิน สำหรบนักกีฬา ความต้องการวิตามินต่าง ๆ ไม่ได้เพิ่มกว่าคนปกติ ถ้ามีการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และสัดส่วนพอเหมาะ ก็จะได้รับวิตามินเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่จำเป็นต้องมีการเสริมวิตามิน
เกลือแร่ ความต้องการเกลือแร่ก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีการบริโภคอาหารครบและสัดส่วนพอเหมาะก็จะได้รับแร่ธาตุครบถ้วน แต่อาจพบว่าเกิดปัญหาการขาดธาตุเหล็ก ในกีฬาบางประเภทได้ แต่มักจะเป็นชั่วคราวอย่างไรก็ตาม ควรมีการแนะนำให้มีการบริโภคอาหารที่มีเหล็กสูง เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ( ควรจำกัดปริมาณเพราะมีโคเลสเตอรอลสูง ) และเพื่อประสิทธิภาพการดูดซึมเหล็ก ควรรับประทานผักสด และผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงด้วย
น้ำ น้ำมีความสำคัญมาก ช่วยระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ความต้องการน้ำโดยปกติ 6 - 8 แก้ว ต่อวัน หรือประมาณ 30 มิลลิลิตร / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในกรณีที่สูญเสียน้ำมาก ๆ เช่น การเสียเหงื่อในการทำงานกลางแดด หรือการเล่นกีฬา ต้องการการทดแทนให้เพียงพอ
อาหารสำหรับนักกีฬา
เนื่องจากนักกีฬาใช้พลังงานมากในการฝึกซ้อมกีฬา
อาหารที่พิเศษกว่าก็คือ
ปริมาณ
พลังงานที่ได้รับจะสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังหรือเล่นกีฬา
ในขณะที่สัดส่วนสารที่ให้พลังงานของนักกีฬาจะไม่แตกต่างจากคนปกติแต่อย่างใดอันที่จริงแล้ว
ไม่มีอาหารชนิดใดที่จะให้สารอาหารได้ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ
จำเป็นต้องได้รับจากอาหารทั้ง
5 หมู่
และที่สำคัญที่สุดคือ
น้ำ และต้องนึกเสมอว่า
การมีภาวะโภชนาการที่ดีไม่ได้ทำได้ในระยะเวลาอันสั้น
ต้องใช้เวลานาน
ในการสร้างสมภาวะโภชนาการที่ดีดังกล่าว
( เอกสาร การกีฬาแห่งประเทศไทย )
ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่
30 ก.ค.44<%
L=Len(NewHits)
i = 1
For i = i to L
num = Mid(NewHits,i,1)
Display = Display & ""
Next
Response.Write Display
%>