<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_marathon_bymarathon2_bygrit.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> มาราธอนต่อมาราธอน 2โดยกฤตย์

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 17ก.ย.48<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

มาราธอนต่อมาราธอน 2

 

โดย   กฤตย์   ทองคง

 

 

               มีพวกเราหลายคนชื่นชอบระยะไกลเป็นพิเศษอย่างมาราธอนมากกว่าระยะอื่นใด มีสนามวิ่งสี่สิบสองกิโลนัดไหนเป็นไม่พลาด  ปีหนึ่งก็หลายสนาม  ที่สำคัญบางช่วงมันใกล้ๆกันในคาบระยะสองเดือนอาจมีถึง 4-5 สนามก็เคย

               สำหรับผู้อื่นช่างเขา  เพราะประสบการณ์เขาเยอะ เขาชอบสะสมเหรียญมาราธอนเป็นร้อยเป็นพัน  แต่สำหรับเราที่อาจมีชั่วโมงบินไม่มากนัก  กระดูกยังไม่แกร่ง  จะเท่ากับเป็นการกระหน่ำทำร้ายร่างกายโดยไม่สมควร  อันจะนำไปสู่ความบาดเจ็บได้

               การวิ่งมาราธอนย่อมมีระดับความแตกต่างกับการวิ่งสิบหรือยี่สิบเอ็ดกิโลตรงที่  เราจะไม่วิ่งมันมากและบ่อยนัก  เพราะสี่สิบสองมันเป็นระยะที่ไกลเอาเรื่อง  ถ้าจะลงบ่อยๆ ผู้วิ่งจะต้องปูพื้นฝึกฝนร่างกายให้แข็งแกร่งสามารถรับงานหนักได้อย่างต่อเนื่อง  ดังนั้น คำเตือนนี้จึงมีไว้สำหรับให้พวกเราสังวรระมัดระวัง

               คำแรกที่เอาไปจากผู้เขียนขอบอกว่า  ไม่ควรวิ่งไกลระยะนี้มากกว่าปีละ 3-4 สนาม  ที่กล่าวเช่นนี้ มาจากพื้นฐานความจริงที่ว่า แชมป์โลกก็ยังไม่ทำกันเลย แม้จะแค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น   แต่ก็ยังกระจายห่างกันหลายเดือน  เพราะกว่าจะได้ลงสนามจริง  ผู้วิ่งต้องฝึกโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝึกวิ่งยาว  ดังนั้นเราจึงต้องนับจำนวนกิโลเมตรที่ฝึกเข้าในสกอร์ด้วย  แม้บางรายที่ซ้อมไม่เต็มสี่สิบสอง  แต่ก็ไม่ค่อยต่ำกว่าสามสิบโลแน่  ครั้งแล้วครั้งเล่า  มันก็เอาเรื่องเด้อ ผู้บ่าว

               และความเป็นจริงอีกประการก็คือ  กว่าร่างกายจะฟื้นมันก็ล่อเข้าไป 4-5 วัน  แต่นั่นมันก็ 70-80% เท่านั้น  แต่ความชอกช้ำของกล้ามเนื้อ,เนื้อเยื่อ,เอนไซม์,กระดูกและกระดูกอ่อน กว่ามันจะเข้าที่เหมือนสภาพก่อนแข่ง 100%  ก็จะเป็นเดือนๆ

               อธิบายต่อที่ว่าเป็นเดือนๆ มันถึงขนาดนั้นใช่แน่หรือ ? แล้วทำไมเราจึงรู้สึกสบายดีแล้วเล่า.. เส้นกราฟความชอกช้ำของเนื้อตัวที่ลดต่ำลงเท่าไร  ความรู้สึกด้านลบก็จะจางลงไปเรื่อยๆ  แม้ความรู้สึกนี้จะหายดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เส้นกราฟนี้จะลดต่ำลงถึงระดับผิวดินแล้ว  จึงมีผลทำให้นักวิ่งปฏิบัติตัวอย่างเชื่อมั่นมากเกินไป  เท่ากับเป็นการรบกวนกระบวนการซ่อมแซมร่างกาย  อย่างที่ผู้เขียนชอบเปรียบเทียบการไปถอยรถออกจากอู่ทั้งๆที่ยังซ่อมไม่เสร็จอย่างนั้น

               การไปมาราธอนบ่อยในเรือนร่างที่ยังไม่เก๋าพอจึงให้ระวัง “ขาเสีย”  หรือ  “จะเสียขา”  ที่มีความหมายว่าได้รับบาดเจ็บหรือนำไปสู่สภาวะฝึกเท่าไรก็ไม่ยอมขึ้น  สุดทางพัฒนา  อย่างที่มีเพื่อนนักวิ่งรุ่นเก่าๆบางรายประสบมา

               จะเปรียบเทียบความพร่องลงทั้งทางพลังงานจากกลัยโคเจน  และความพร่องลงทางความสามารถกล้ามเนื้อที่มีความล้า  กับการพร่องลงของน้ำในตุ่มที่เราตักเอามาใช้ในขณะเวลาเดียวกันที่น้ำก๊อกใหม่ก็ไหลลงตุ่ม ไม่ได้

               ร่างกายที่ปราศจากความสดในระดับที่พอเพียง  การฝึกใหม่เข้าไป  ร่างกายก็จะไม่เกิดการเรียนรู้หมายจำในงานหนักนั้น ถือว่าเหนื่อยฟรี  แล้วนี่เราจะวิ่งกันไปเพื่ออะไรเล่า  อีกทั้งยังเสี่ยงต่อความบาดเจ็บอีกด้วย

               ในขณะที่ความเป็นจริง  สนามใหม่ก็กระชั้นเข้ามา  นักวิ่งก็อยากฝึกเพิ่มเติม ประดังประเดกับความต้องการพักฟื้น (พักฝึกหรือฝึกเบา)  มันดูจะไม่ค่อยไปในทิศทางเดียวกัน  ยังความคับข้องใจกับนักวิ่งไม่น้อยว่าจุดตรงกลางระหว่างความหนักเอนไปข้างใดข้างหนึ่งอยู่ตรงไหน ที่จะวิ่งได้โดยไม่บาดเจ็บ

               ต่อไปนี้จึงเป็นกลวิธีปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ทำใจไม่ลงมาราธอนระยะเวลาใกล้กันไม่ได้  ให้มีความเสี่ยงบาดเจ็บน้อยที่สุด  ใช่หรือไม่ว่า มันจึงมีความสมเหตุสมผลที่ผู้วิ่งไม่ควรคาดหวัง การฝึก,การพัฒนาความก้าวหน้าและความเร็วขึ้นจากแผนการนี้  แค่พอรอดสันดอนก็พอแล้ว

 

1.  ให้วางแผนล่วงหน้า

               นักวิ่งต้องมีแผนตารางวิ่งที่กำหนดลงไปว่า  จันทร์วิ่งอะไร , อังคารวิ่งอะไร ไปเรื่อยๆทั้งสัปดาห์  มันจะเอื้อให้คุณกำหนดความหนักไม่ให้ติดกันได้  การทำอะไรมีแผน  จึงเป็นการทำอะไรที่รัดกุม และกำหนดยุทธศาสตร์อย่างที่เราเป็นฝ่ายกำหนดชะตากรรม  ไม่ใช่ชะตากรรมกำหนดเรา

               รวมไปทั้งกำหนดสนามมาราธอนว่า เราจะไปสนามไหน และตัดสนามไหนออกด้วย  เพื่อสอดคล้องกับการฟื้นของร่างกาย

 

2.  อย่ามองการหยุดพักมีค่าเท่ากับการขาดซ้อม

               เพราะเข้าใจเช่นนี้  เราจึงมีแต่ความร้อนรนตลอดเวลาที่จะเข้าแผนฝึกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้  มันจะผลักดันให้ผู้วิ่งปราศจากความสดอย่างพอเพียง อย่างที่กล่าวมาแต่ต้น

               ให้มองว่า  แผนที่กำหนดให้หยุดนั้น คือแผนฝึกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนเครื่องเทศที่ประกอบประสานให้เมนูนั้นเกิดความเอร็ดอร่อยกลมกล่อมลงตัวจะขาดเสียมิได้ หรือ การหยุดก็คือการฝึกนั่นเอง

 

3.  การลงแข่งระยะสั้น

               ไม่ว่าจะเป็นระยะ 5 ก.ม.  10 ก.ม.  หรือ 21 ก.ม.  ผู้เขียนมองว่าเราควรจัดสรรให้มีอยู่บ้างอย่างประปรายเล็กน้อย ที่ไม่ถึงกับต้องปฏิเสธมันเสียเลย  คือมองมันในแง่เป็นตัวแทนฝึก Speed Work นั่นเอง แต่ต้องไม่บ่อย  สนามแข่งระยะสั้นจึงเป็นการจัดสภาวะกดดันจำลองให้ร่างกายเคยชินกับภาวะอื่นๆ (Non-Physical  Factors)  เพราะถ้านานๆไปทีก็จะมีผลต่อการวิ่งออกมาไม่ดี ได้เหมือนกัน

 

4.  อย่าลงมันหนักทุกสนามมาราธอน

               ในคาบระยะเวลาที่ติดกันนี้  ควรจะหย่อนฝีเท้าลงอย่างตั้งใจตั้งแต่สนามแรกๆเลย  อย่าต้องให้ถึงกับมาหย่อนเอาในสนามหลังๆ  ให้เราเลือกแผ่วเสียตั้งแต่ต้น  จะทำให้เหลือสายป่านสำหรับตนเองในอนาคต  ย่อมเป็นเรื่องของนักวิ่งผู้ฉลาด  ด้วยว่า ในเทศกาลมาราธอน 2-3 เดือนนี้  เราย่อมไม่สามารถคาดหวัง P.R. ใหม่ได้อยู่แล้ว

 

5.  จัดสรรเวลาเตรียมตัวให้ได้

               มีเท่าไร  ก็เอาเท่านั้นมาดูว่าจะต้องจัดให้พักฟื้นกี่วัน  จะฝึกกี่วัน และจะ Taper เรียวลงเอาความสดคืนกี่วัน  ถ้าไม่มากพอจะได้รู้ว่าต้องตีหยุดยาว  โดยตัดวันฝึกออกไปให้หมด  แล้วไปลงจริงๆเลยเป็นต้น  ดังที่ผู้เขียนกำลังจะอธิบาย ดังต่อไปนี้

ถ้าคุณมีเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ระหว่างมาราธอนสองสนาม

               ให้บอกกับตัวเองว่า  มันไม่มีเวลาฝึก  ให้ผู้วิ่งใส่ใจกับการฟื้นคืนร่างกาย Recovery ให้มากที่สุด แม้จะฝึกให้ขึ้นนั้นไม่มี  ก็ขอเอาความสดกลับคืนบ้างก็ยังดี ระวังว่าจะกลายเป็น ฝึกก็ไม่ได้เนื้อหนัง สดก็ไม่มี  วิ่งไปลงหลุมดำแท้ๆ

               แล้วให้โหมกินคาร์โบโหลด 3-4 วันสุดท้าย  กินน้ำให้มากๆ  สังเกตสีปัสสาวะตนเองให้อ่อนจางกว่าสีน้ำเก็กฮวย เพราะขนาดนั้นเข้มเกินไปครับ ตลอดระยะเวลาที่เหลือ 2 สัปดาห์นั้น แม้จะไม่ใช่เวลาฝึกเลยก็ตาม เมื่อหม้อน้ำของรถแห้งผลย่อมออกมาไม่สวยเลย  เรามักจะละเลยเรื่องน้ำกันมาก  ไม่ยอมดื่ม บอกว่า ไม่กระหายนั้น  ผิดไปแล้วครับ  ต้องดื่มทั้งๆที่ไม่กระหายนั้นแหละ  ยิ่งในรายคอกาแฟ ยิ่งต้องดับเบิ้ล  กาแฟมีฤทธิ์ขับปัสสาวะครับ.

               ถ้านักวิ่งแสวงหาการนวดจากหมอนวดที่ไว้วางใจได้ก็จะดีมาก  ที่กล่าวเช่นนี้ให้ระวัง หมอที่นวดไม่เก่งแต่คุยเก่ง  เราจะได้รับผลเอง หมอมันช่วยอะไรไม่ได้

               ถ้านวด  ควรให้นวดหลังจากมาราธอนแรกราว 48-72 ช.ม. และนวดอีกครั้งก่อนออกสนามราว 1-2 วัน

               ตารางวิ่งต่อไปนี้  เป็นการฟื้นตัวสำหรับเอาไปสนามมาราธอนติดกันที่มีเวลาในโบรชัวร์ทั้ง 2 แผ่น ห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์

 

สัปดาห์ที่

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

อาทิตย์

2

-

-

3  ก.ม.

5  ก.ม.

-

10  ก.ม.

1-2 ช.ม.

1

-

6  ก.ม.

3  ก.ม.

-

-

3  ก.ม.

มาราธอน2

 

ถ้าคุณมีเวลา 4 สัปดาห์  ระหว่างมาราธอน 2 สนาม

               แค่ 4 สัปดาห์  ก็เรียกได้ว่า  พอมีเวลาได้บ้าง  แต่ก็ไม่สามารถจะคาดหวังอะไรดีขึ้น  ก็แค่ได้เวลาที่อย่าให้ตกลงมากนัก  ที่ผู้เขียนคาดหวังจะได้ก็คงที่ความสงบของจิตใจมากกว่าความก้าวหน้าของร่างกาย  ระหว่างนี้ ไตร่ตรองดูให้ดีเถิด  จะยังตัดสินใจว่าจะไปลงอีกดีหรือไม่  มีเวลาวันสุดท้ายให้ตัดสินใจเด็ดขาดวันไหน  กาไว้ในปฏิทิน  มันไม่ใช่เรื่องที่ผู้วิ่งขาดคุณสมบัติแน่วแน่เด็ดขาด  แต่เป็นความฉลาดที่จะเหลือทางเลือกให้กับตัวเอง แทนที่จะจำกัดขอบเขต  เพราะมันยังเปลี่ยนแปลงได้

               การฝึกใน 4 สัปดาห์นี้  ย่อมไม่ใช่การฝึกหนัก เทียบเท่าช่วงปกติ  วันหยุดที่เซ็ทไว้ จะพิจารณาเป็นฝึกต่างแบบ  Cross-training  ก็ย่อมได้ ให้สังเกตอาการ  แต่ละคนไม่เหมือนกัน  ให้ร่างกายคุณตอบรับหรือปฏิเสธสิ่งใด  ก็ให้ฟังสิ่งนั้น  ระหว่างวิ่งเบา , เดิน , หยุดหรือฝึกต่างแบบได้ทั้งนั้น และความเข้มก็จัดให้อ่อนในเทอมของเวลาทุกชนิด

               สัปดาห์แรกให้ถือปฏิบัติเรื่องนวดเหมือนกับโปรแกรม 2 สัปดาห์  วันอาทิตย์ให้วิ่งเบาตามความรู้สึกที่ไปอย่างช้าๆนานๆ แล้วแต่แต่ละคนและความชอกช้ำ  มีเป้าหมายช่วยร่างกายฟื้นฟูความยืดหยุ่น

               ที่ในรายที่พอมีความสามารถอยู่บ้าง และปกติเคยฝึกคอร์ท  ก็ให้จัดวิ่งความเร็วในอังคารและพฤหัสฯ โดยตัดให้น้อยเที่ยวลงสักครึ่งหนึ่ง แม้มีแผนจะเปลี่ยนคอร์ทใหม่ ก็อย่าเพิ่งเปลี่ยน ให้วางไว้ก่อน ใช้แผนเก่าดีกว่าครับ

               ส่วนในรายที่ไม่เคยฝึกคอร์ท ก็ไม่ต้อง  อย่าทีเดียว ให้เป็นวิ่งเบาธรรมดาไป

 

สัปดาห์ที่

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

อาทิตย์

4

-

3  ก.ม.

5  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

1-2 ช.ม.

3

-

5  ก.ม.

10  ก.ม.

5  ก.ม.

-

10  ก.ม.

2  ช.ม.

2

-

7  ก.ม.

10  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

2-3 ช.ม.

1

-

3  ก.ม.

5  ก.ม.

-

-

3  ก.ม.

มาราธอน2

 

ถ้าคุณมีเวลา 6 สัปดาห์  ระหว่างมาราธอน 2 สนาม

               โดยหลักการ ก็มีแนวปฏิบัติเหมือนกลุ่ม 4 สัปดาห์  แต่จะมีช่วงพักฟื้นและ Taper มากขึ้น  และมีประเด็นสำคัญในการฝึกให้เราตั้งใจมากกว่า  โดยที่ผู้วิ่งยังต้องอ่านสัญญาณร่างกายให้ออกเพื่อประสานการฝึกว่าร่างกายตอบรับได้ดี ไม่มีปัญหา หรือมีความเจ็บปวดใดๆเกิดขึ้น

โดยแบ่งคร่าวๆออกเป็น 3 ช่วง  ช่วงละ 2 สัปดาห์

-  ช่วงแรก           เป็นช่วง  ฟื้นตัว

-  ช่วงกลาง          เป็นช่วง  ฝึก

-  ช่วงหลัง           เป็นช่วง  เรียวแผนฝึกลง

 

สัปดาห์ที่

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

อาทิตย์

6

-

3  ก.ม.

5  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

1-2 ช.ม.

5

-

5  ก.ม.

10  ก.ม.

5  ก.ม.

-

10  ก.ม.

20  ก.ม.

4

-

7  ก.ม.

10  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

22  ก.ม.

3

-

7  ก.ม.

10  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

25  ก.ม.

2

-

7  ก.ม.

10  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

16  ก.ม.

1

-

3  ก.ม.

5  ก.ม.

-

-

3  ก.ม.

มาราธอน2

 

ถ้าคุณมีเวลา 8 สัปดาห์  ระหว่างมาราธอน 2 สนาม

               ก็มีเวลาให้ฝึกมากขึ้น  แต่ผู้เขียนก็ยังจัดให้ยังมีวันหยุดวิ่งอยู่ถึง 2 วันเต็มเหมือนเดิม  โดยให้อังคาร+พุธ+พฤหัสฯ   เป็นการวิ่งเบา ส่วนวันเสาร์ให้วิ่งด้วย Pace ที่คาดว่าจะวิ่งในวันจริง  ส่วนอาทิตย์ให้วิ่งด้วยความเร็วช้ากว่าวันที่คิดว่าจะวิ่งจริงเล็กน้อย  เรียกว่าพอถึง และให้สังเกตอาการตลอดเวลา

โดยจัดแบ่งเป็น 3 ช่วง  เหมือนกันคือ

-  2 สัปดาห์แรก    เป็นช่วงฟื้นตัว

-  4 สัปดาห์กลาง  เป็นช่วงฝึกที่ค่อยๆปรับขึ้นและค่อยๆปรับลง โดยมีระยะไกลราว 30 ก.ม.อยู่กลางสัปดาห์

-  2 สัปดาห์หลัง    เป็นช่วงที่เรียวแผนฝึกลง

 

 

สัปดาห์ที่

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

อาทิตย์

8

-

3  ก.ม.

5  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

1-2 ช.ม.

7

-

5  ก.ม.

10  ก.ม.

5  ก.ม.

-

10  ก.ม.

20  ก.ม.

6

-

7  ก.ม.

10  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

25  ก.ม.

5

-

7  ก.ม.

10  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

32  ก.ม.

4

-

7  ก.ม.

10  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

20  ก.ม.

3

-

7  ก.ม.

10  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

25  ก.ม.

2

-

7  ก.ม.

10  ก.ม.

7  ก.ม.

-

10  ก.ม.

20  ก.ม.

1

-

2  ก.ม.

5  ก.ม.

-

-

3  ก.ม.

มาราธอน2

 

               จากตารางที่ให้มา  ถ้าผู้วิ่งยังต้องการฝึกที่มากกว่านี้  สมควรให้ดูสุขภาพตนเองว่า  ให้แน่ใจฟื้นเต็มที่แล้ว  และเน้นแผนฝึกที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณครับ

               สำหรับผู้ที่มีระยะเวลาไม่เป็นไปตามที่จัดแบ่งไว้  เช่นมีระยะเวลาระหว่างมาราธอนที่ 3 , หรือ  5 สัปดาห์  ก็ให้เอาหลักการไปประยุกต์  โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้เฉพาะกรณี และจัดให้ตารางฝึกแตกต่างกันตามระดับความสามารถและความฟิตโดยให้ฟังร่างกายเป็นเกณฑ์  ผู้เขียนเชื่อว่าหากเราตั้งใจฟังสัญญาณจากร่างกายของเราอย่างพอเพียงแล้วล่ะก็  ร่างกายจะมีข่าวสารที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดกับความเป็นเฉพาะตัว ให้เราได้ตกลงใจเลือกทางที่เหมาะสมได้เสมอ

               และหลังจากเทศกาลมาราธอนผ่านพ้นไปแล้ว  นักวิ่งควรจะเจียมตัวไม่ว่าผลการลงสนามออกมาดีหรือไม่ดี  ต้องรู้จักหยุดและเข้าใจความบันยะบันยัง  ถ้าเราไม่หยุดเสียก่อน  ธรรมชาติมันจะหยุดให้เราเองอย่างแน่นอน จะเมื่อไรเท่านั้น  อย่าเอาคนอื่นมาเปรียบเทียบ  คนเราไม่เท่ากันครับ

               ขอให้โชคดี  สามารถเก็บสนามมาราธอนเข้าสะสมได้ดังใจโดยปลอดภัยครับ

  

11:20  น.

27  พฤษภาคม  2548

จาก         Multiple  Marathon

โดย          Hal  Higdon

www.halhigdon.com