ประวัติความเป็นมาของการวิ่งมาราธอน ( โดยสังเขป)

 

 

                ประมาณ 2,500 ปีเศษ ย้อนไปอาณาจักรโรมันรุ่งเรือง แต่รบราฆ่าฟันทำสงครามกับคู่รักคู่แค้นกับเปอร์เซียตลอดเวลา ครั้งหนึ่งรบกันที่เมืองสปาตา โรมันชนะศึกทหารชื่อ " ฟิดิปปิเดซ " ( Pherdippides ) ถูกใช้ให้กลับไปรายงานเจ้าเมืองเอเธนเป็นเพราะม้าศึกตายหมดหรือไงไม่ทราบ พ่อคุณฟิดปปิเดซรายนี้ต้องวิ่งจากเมืองที่ทำศึกข้ามทุ่ง " มาราธอน " ตามประวัติเขียนไว้ว่าใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง เมื่อฟิดิปปิเดซวิ่งข้ามประตูเมืองเขาตะโกนว่า " Victory " ( เราชนะแล้ว ) พอสิ้นเสียงเขาก็ขาดใจตายอยู่ ณ ตรงนั้น นี่เป็นตำนานเล่าขานกันมา เมื่อมีการจัดแข่งขันวิ่งทนระยะยาวขึ้นเป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิคเขาจึงตั้งชื่อว่า " มาราธอน "

มาราธอน หมายถึง ระยะ 26 ไมล์ 385 หลา แต่ทางแถบเอเซียนิยมใช้เป็น 42.195 กม.

วิ่งบนถนนทั่วไป    ( Road Races )    คือระยะที่อาจมากหรือน้อยกว่ามาราธอน ( Mini Marathon ) จะเป็นระยะกี่กิโลก็ตาม แม้แต่ที่เรียกกันว่า ครึ่งมาราธอน ( 21.100 กม.) ก็เรียกมินิได้เช่นกัน ส่วนคำว่า ซูเปอร์ฮาล์ฟมาราธอน ( ซูเปอร์ครึ่งมาราธอน ที่บางคนเข้าใจว่าเป็นระยะมากกว่าครึ่งมาราธอน เช่น 25-30 กม. ความจริงคำว่า ซูเปอร์ฮาล์ฟนี้ฝรั่งไม่รู้จัก พี่ไทยเราตั้งกันเองตามประสาสิบล้อครีเอท แต่ถ้าเป็นระยะที่ยาวกว่ามาราธอน ( 42.195 ) เขาเรียก " Ultramarathon " มักจะมีมาตราฐานไว้ที่ 100 กม. มีการจัดบ่อยในยุโรป ส่วนใหญ่แชมป์จะทำเวลาอยู่ประมาณ 6.30-7 ชม.

 

AIMS       มีสมาชิกที่เป็นสนามวิ่งอยู่ทั้งหมดทั่วโลก ปัจจุบัน 55 ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นสนามแข่งขัน 166 แห่ง สนามวิ่งในประเทศเราที่เป็นสมาชิกของ   AIMS   มีอยู่ 1 สนาม คือ " กรุงเทพมาราธอน "  สนามวิ่งที่เป็นสมาชิกของ AIMS   จะต้องได้รับการพิสูจน์วัดระยะของเส้นทางแข่งขันในระยะที่ถูกต้องตรงตามมาตราฐานวัดที่สุด กรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางแข่งขันเดิมเลย เมื่อครบ 5 ปี ผู้แทนฝ่ายเทคนิคของ AIMS ซึ่งปัจจุบันร่วมมือกันกับ IAAF ( International Amateur Atheletic Federation ) จะต้องทำการพิสูจน์วัดเส้นทางใหม่ นอกจากดูแลเคร่งครัดเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของเส้นทางแข่งขันแล้ว AIMS ยังควบคุมดูแลโครงสร้างการจัดงานที่ได้มาตรฐานอื่น ๆ อีกด้วย

 

การแข่งขันวิ่งมาราธอนครั้งแรกของโลก

ปี 1896 ในโอลิมปิคเกมส์ จัดที่เอเธนในระยะทาง 24 ไมล์ 1500 หลา ผู้ชนะในครั้งนั้น เป็นชาวกรีกนั่นเอง คือ สปิริดอน หลุย ( Spyridon Louis ) ทำเวลา 2.58.50 ชม.

ชื่อของ สปิริดอน เป็นประวัติศาสตร์ ปัจจุบันเรามักจะเห็นตัวผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬานำเอาคำว่า " Spyridon " ไปใช้ เช่น ชื่อบริษัทเกี่ยวกับกีฬา ฯลฯ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา

 

ระยะทาง Marathon ถูกเปลี่ยนแปลง

ปี 1908 มีการจัดโอลิมปิคเกมส์ ที่ London ระยะทางเดิมถูกปรับให้ยาวออกไปเป็น 26 ไมล์ 385 หลา ( 42.195 กม.) ด้วยเหตุผลที่คณะกรรมการยินยอมกำหนดเส้นชัยอยู่ตรงหน้าพระพักตร์เจ้าหญิงพอดี และต่อจากนั้นมาได้ยึดระยะนี้เป็นมาตราฐานจนถึงปัจจุบัน ผู้เป็นแชมป์คนแรกในระยะ 42.195 กม. นี้คนแรกคือ จอห์น เฮย์ ( John Hayes ) นักวิ่งอเมริกัน ทำเวลา 2.55.18 ชม.

การแข่งขันวิ่งมาราธอนสำหรับประชาชนทั่วไปครั้งแรกในโลก

ทันทีที่มีการแข่งขันวิ่งมาราธอนในโอลิมปิคเกมส์ที่เอเธนปี 1896 เมือง " บอสตัน " สหรัฐ ฯ ก็ริเริ่มจัดให้มีการแข่งขัน "วิ่งบอสตันมาราธอน" ขึ้นเป็นครั้งแรกใช้กฏกติกาการแข่งขันเหมือนโอลิมปิค เพียงแตกต่างกันที่เปิดโอกาสให้นักวิ่งประชาชนทั่วไปเข้าแข่งได้ " บอสตันมาราธอน " จึงกลายเป็นงานวิ่งมาราธอนประเพณีประจำเมืองที่มีอายุมากที่สุดในโลก จนถึงปัจจุบัน 104 ปี และจัดต่อเนื่องกันมามิได้ขาด เมื่อครั้งครบรอบ 100 ปี มีนักวิ่งมาราธอนจากทั่วโลกเข้าร่วมแข่งขันกว่า 40,000 คน ในจำนวนนี้มีนักวิ่งไทยเข้าร่วมแข่งขัน 25 คน

( จากแฟ้ม ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน รวบรวมโดย สงคราม ไกรสนธิ์ )