ร่วมกับอาการ ขาหนัก, ตะคริว, เส้นเลือดขอด, ขาถ่วง, บวม
สัญญาณเตือน
โรคหลอดเลือดขอดบกพร่อง
ขาเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา
ขาช่วยให้เราทำกิจกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวัน
ได้อย่างมีอิสระและมั่นใจ
ดังนั้นการดูแลเอาใจใส่ขาของตนเอง
จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องพึ่งขาทั้ง
2 ข้าง เป็นหลัก เช่น ครู,
พยาบาล, จราจร แม่ครัว,
ช่างเสริมสวย, พนักงานขาย
เป็นต้นอาชีพเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะต้องใช้ขาทั้ง
2 ข้าง
ยื่นอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ
อย่างน้อยวันละ 4-6 ชั่วโมง
การยืนอยู่กับที่เป็นเวลานาน
ๆ
เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดขาซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อขาเมื่อยล้า
ถ้าได้นั่งพักหรือนวดเบา ๆ
บริเวณที่ปวดเมื่อย
อาการอาจทุเลาลงหรือหายไปได้
แต่ถ้าอาการปวดขาที่เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของหลอดเลือดดำ
ซึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจไม่สะดวก
เกิดการคั่งค้างของเลือด
ก็จะเกิดอาการอื่น ๆ
ร่วมกับอาการปวดขา เช่น
อาจรู้สึกขาหนักถ่วง ๆ
เมื่อยล้า บวม
ขาหรือร้อนวูบวาบในบางครั้ง
มักเป็นตะคริวในเวลาเย็นหรือกลางคืน
โดยที่อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ
จนกระทั่งรบกวนความรู้สึก
และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
อาการดังกล่าวถือเป็นอาการเริ่มต้นหรือสัญญาเตือนของโรคหลอดเลือดดำบกพร่อง
ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้
การเสียสภาพของหลอดเลือดดำอาจมากขึ้นจนเห็นได้ชัด
เช่น เส้นเลือดขอด อักเสบ
แผลเรื้อรัง เกิดลิ่มเลือด
อุดตัน เป็นต้น
อาการที่สังเกตได้
อาการหรือสัญญาเตือน
เมื่อหลอดเลือดดำที่ขาของคุณเริ่มทำงานบกพร่องคุณอาจรู้สึกถึงอาการต่าง
ๆ เช่น ปวดขา
รู้สึกหนักถ่วง เมื่อยล้า ชา
ร้อน บวม
เป็นตะคริวในเวลากลางคืน
โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำแต่เนื่องจากในระยะนี้หลอดเลือดยังไม่เสียสภาพมาก
จึงยังไม่พบร่องรอยของ เส้นเลือดขอด
ปล่อยทิ้งไว้
ไม่สนใจดูแลรักษา
เส้นเลือดขอด
จะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดนั้นเสียสภาพไปมาก
ซึ่งร่องรอยที่เกิดขึ้นนี้มักก่อความกังวลใจโดยเฉพาะสาว
ๆ ที่ขอบใส่กระโปร่งสั้น
ดังนั้นควรเอาใจใส่ขาตั้งแต่เนิ่น
ๆ อย่างรอจนกระทั่งเป็น
เส้นเลือดขอด
เพราะจะรักษาได้ยาก
อาการที่รุ่นแรง
ในภายหลัง
เมื่อหลอดเลือดดำขนาดใหญ่เสียสภาพไป
จะส่งผลกระทบถึงระบบเส้นเลือดฝอย
และน้ำเหลืองซึ่งอยู่ต่อเนื่องกัน
ทำให้การหมุนเวียนเลือดและน้ำเหลืองผิดปกติ
เกิดการคั่งค้างทำให้เกิดอาการบวมอักเสบ
และลุกามจนเป็นแผลเรื้อรัง
หรือเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
การรักษา
1.
เมื่อเริ่มต้นมีอาการหรือสัญญาณเตือน
ควรจะเริ่มต้นปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันโดยปฏิบัติตามข้อแนะนำ
(ที่จะกล่าวต่อไป) อย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรครุ่นแรงขึ้น
แต่ในกรณีที่อาการดังกล่าว
รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
อาจจะได้รับยาเม็ดที่ช่วยรักษาความผิดปกติของหลอดเลือดดำ
และช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ
ร่วมด้วย
2.
ในระยะที่มีเส้นเลือดขอด บวม
แผลเรื้อรัง
การรับประทานยาจะช่วยบรรเทาอาการต่าง
ๆ ให้ดีขึ้น แต่ควร
ปรึกษาแพทย์
หรือเภสัชกรเพิ่มเติมพิจารณาถึงแนวทางการรักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรม
หรือฉีดยาร่วมด้วย
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว
1.ไม่ควรยืนนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน
ๆ ถ้าจำเป็น
ควรเปลี่ยนอริยาบทบ่อย ๆ
2.หลีกเลี่ยงไม่ให้ขาสัมผัสกับความร้อน
เช่นอาบน้ำร้อนเกินไป
ยืนบนพื้นร้อน ๆ อาบแดดนาน ๆ
3.สวมร้องเท้าสูงไม่เกิน
5 ซม.
4.ในกรณีที่ต้องยืนนาน
ๆ
ควรสวมถุงน่องที่ช่วยพยุงและกระชับกล้ามเนื้อขา
ซึ่งมีแรงบีบรัดไม่น้อยกว่า
30
มิลลิเมตรปรอท
และควรสวมตั้งแต่เท้าจนถึงเหนือเข่า
5.
ออกกำลังกายที่ช่วยให้กล้าเนื้อ
และหลอดเลือดแข็งแรง
เช่นว่ายน้ำ วิ่ง
ขี่จักรยานแต่ควรหลีกเหลี่ยงกีฬาที่
รุ่นแรง
6.
ยกเท้าสูงประมาณ 12-15 ซม.
ขณะนอนพัก
จนกระทั่งรู้สึกสบายขึ้น
จึงนอนต่อในท่าปกติ
7. ไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
(ด้วยความปรารถนาดีจาก
บริษัท เซอร์เวียร์ (ประเทศไทย
จำกัด)