<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_kenyatours.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> เคนย่าทัวร์ โดย   กฤตย์   ทองคง   สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนปรารถนาก็คือ  การได้ไปเยือนกลุ่มประเทศแอฟริกามาราธอน  ที่ประกอบไปด้วย  เคนย่า

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

เคนย่าทัวร์

โดย...กฤตย์ ทองคง

 

เผ่ามาไซในเคนย่า

     

 

 


สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนปรารถนาก็คือ  การได้ไปเยือนกลุ่มประเทศแอฟริกามาราธอน
ที่ประกอบไปด้วย  เคนย่า  เอธิโอเปีย และแทนซาเนีย
เพื่อไปเยี่ยมดูและศึกษากิจกรรมในแคมป์ฝึกวิ่งระยะไกลว่าพวกเขาฝึกฝนกันอย่างไร
 ไปดูให้เห็นรูปแบบการฝึกกันอย่างจะๆ  รวมถึงวิถีชีวิตทั่วๆไป
และวิถีจำเพาะเรื่อง
ที่อาจได้พบเห็นอะไรบางอย่างที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักวิ่งระยะไกล
จนกลายเป็นเมืองหลวงของมาราธอนของโลกแห่งนี้
Scott  Douglas  อดีตนักวิ่งมาราธอนแนวหน้า
ที่ผันตัวเองมาทำข่าวกรีฑาวิ่งระยะไกล  ได้มีโอกาสไปเยือนถึงถิ่นเคนย่า
(อเมริกันเรียกประเทศนี้ว่า “คีเนีย”  โดยอ่านประสมอักษร N
ไว้ไปเน้นในพยางค์หลังแทนที่จะไว้ที่พยางค์หน้าอย่างเราเรียก และออกเสียงตัว Y
เป็นเสียงสระอีแทนสระอา)
และรายงานสิ่งที่เขาพบเห็นล่าสุดให้นักวิ่งทั่วโลกได้รู้กัน  การที่  Scott
ได้มาทัวร์เคนย่าครั้งนี้  สมใจนักวิ่งอย่างพวกเรามาก
ยิ่งสำหรับผู้เขียนนับเป็นเรื่องที่น่าตื่นใจ  สนุกมากครับ
ก็อย่างที่รู้กัน  เคนย่า
และอาจรวมถึงประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงอย่างเอธิโอเปียและแทนซาเนียนั้น
เป็นประเทศที่น่าจะมีอะไรดีๆ
ที่ไม่เฉพาะแต่สร้างความฉงนให้กับพวกเราชาวไทยเท่านั้น
แต่วงการวิ่งระยะไกลทั่วโลกกำลังจับตาตูพวกเขาเหล่านี้ว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง
โดยบังเอิญและอาจถูกสร้างขึ้นมาภายหลังที่เอื้ออำนวยต่อการวิ่งระยะไกล
จันทร์ที่ 25 เมษายน  2005 16:36  น.  เมือง  Iten  ประเทศเคนย่า

บนที่ราบสูงสลับเนินลดหลั่นขบวนรถบรรทุกหลากหลายแบบที่กำลังบรรทุกนักวิ่งมาเต็มคันต่างมุ่งหน้ามาที่ราบสูงแห่งนี้
 ที่ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงที่ผ่านมา
ทุ่งนี้ยังเต็มไปด้วยฝูงปศุสัตว์เล็มหญ้าทั่วไปหมด  เพื่อฝึกฝน
ตั้งแต่รถปิ๊กอัพ , รถตู้ และรถแทรคเตอร์ตามแต่ที่จะหาได้
กลุ่มเด็กชายต้อนแพะราว 5-7 ขวบที่มักจะสวมเสื้อยืด Simpson
ใหญ่โคร่งที่ได้รับบริจาคจากประเทศตะวันตกกำลังจับจ้องกลุ่มนักวิ่งผู้มาใหม่อย่างไม่วางตา
 จ้องเอาๆราวกับพวกเขาเป็นมนุษย์ต่างดาวก็ไม่ปาน  ก็เพราะทั้งวิถีชีวิต ,
การงานและอาชีพและสถานะทางสังคม
พวกที่มาในรถต่างๆเหล่านี้ล้วนอยู่ในเครื่องแต่งกายที่อยู่ในมาตรฐานอเมริกัน
บ้างเป็นครายฟิตจากไนกี้ที่อยู่ใต้เจ๊กเก็ตกันลมแอสิค
หรือเสื้อวิ่งเนื้อคูลแม็กซ์ของดูปองท์
ที่มีราคาแต่ละชิ้นเกือบเท่ารายรับของครอบครัวยากจนที่นั่นทั้งปีทีเดียว
การดำรงชีพที่ต้องเอาแต่วิ่ง , วิ่งและวิ่งให้เร็ว  และต้องให้เร็วขึ้นไปอีก
โดยที่เด็กๆ ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่า
ความทนทานในความเร็วเหล่านั้นมันทำให้ร่ำรวยได้อย่างไร
อีกทั้งเสื้อผ้าแต่งกายและรองเท้าก็มีสีสันและรูปทรงฉูดฉาดบาดตาบาดใจ
แล้วมันจะไม่คล้ายคลึงกับมนุษย์ต่างดาวนั้นไปได้อย่างไร
ท่ามกลางทุ่งหญ้าลมแรงแห่งนี้
พวกเราเรียกพวกเขาว่า “พวกเคนย่า”  คือพวกที่เป็นแชมป์วิ่ง
แต่ผู้คนในประเทศเคนย่าด้วยกันกลับเรียกพวกนี้ว่า  “Kelenjin  runners”
เพราะดาววิ่งเคนย่าเกือบทั้งหมดมาจากเผ่า Kelenjin  ที่มีประชากรราว 10% 
ของประเทศกระจายกันอยู่ทั่วไปตามพื้นที่สูงฝั่งตะวันตกของประเทศ
ที่แคมป์วิ่งในเมือง Iten  แห่งนี้
เป็นสถานที่ที่เคยบ่มเพาะตัวเจ็บๆมาทั้งนั้นอย่าง  Catherine  Ndereba
แชมป์หญิงบอสตัน 4 สมัย  เมื่อ 18 เมษ 48 นี้ก็โตมาจากที่นี่เอง
รวมทั้งฝ่ายชายตัวแรงๆสิบตัวแรกของระยะมาราธอนก็กระจุกกันอยู่ที่นี่เช่นกัน
พวก Kelenjin  ที่มาเอาดีทางวิ่ง
มิได้เติบโตมาในวงการในวิถีทางอย่างตะวันตกที่เริ่มไต่เต้ามาจากนักวิ่งมือสมัครเล่นหรือจากตัวแข่งในทีมโรงเรียนมัธยมหรือมหาวิทยาลัย
 แต่ Kelenjin เริ่มต้นในสถานะมืออาชีพเลย  มากระจุกตัวกันที่นี่ เมือง Iten
เป็นศูนย์กลางการฝึกวิ่งมาราธอน  ที่แต่เดิมนั้นเป็นเมืองปศุสัตว์
โดยที่มีนักวิ่ง Kelenjin รุ่นบุกเบิก ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าเมือง Iten
และประเทศนี้ คือ  Godfrey  Kiprotich
ที่ปัจจุบันเป็นโค้ชดูแลนักวิ่งหลังจากถูกเลื่อนชั้นเป็นระดับอินเตอร์
ต่อมาได้กลายเป็นผู้ก้าวเข้ามาจัดการและทำความเปลี่ยนแปลงมาสู่หมู่บ้านและชุมชนแห่งนี้ให้เป็นโฉมใหม่

ที่พลิกแผ่นดินจากไร่ปศุสัตว์ยากจนแห้งแล้งล้าหลังให้เป็นเมืองเมกกะของแนวหน้าที่พลุกพล่านไปด้วยนักกรีฑาระยะไกลระดับโลก
 ปะปนกับโค้ชมือทอง และนักเวชศาสตร์กีฬาชั้นนำจากสถาบันที่มีชื่อจากยุโรป
แคมป์วิ่งที่ Iten  นี้ เป็นที่ชุมนุมของนักวิ่งมากกว่า 500 คน
จำนวนมากเป็นนายพรานล่าซองรางวัลจากสนามแข่งในยุโรปและอเมริกากลับบ้านเพื่อใช้จ่ายหนีความยากจนและเป็นฐานเศรษฐกิจหล่อเลี้ยงชุมชนละแวกนี้และทั้งเคนย่าเกือบทั้งหมด
พูดกันเล่นๆว่า
การที่ฝรั่งตะวันตกจะได้หวนเป็นแชมป์มาราธอนโลกได้อย่างเก่าก็ต่อเมื่อจะต้องเอาระเบิดมาหย่อนที่ค่ายวิ่งที่
Iten แห่งนี้ให้เผ่า Kelenjin  runners  เหล่านี้ตายหมดเสียก่อน
ความฝันจึงจะเป็นจริง

ก็เพราะที่ค่ายนี้เป็นแหล่งกระจุกรวมตัวของแนวหน้ามาราธอนและแชมป์เก่าที่อาจกำลังฝึกเพื่อทวงตำแหน่งคืนอย่างขะมักขเม้น
 รวมไปถึงนักวิ่งระยะ 10 ก.ม. ทั้งหญิงและชายที่ครองสถิติโลกหลายรายการด้วยกัน
อาจสงสัยว่า  ทำไมต้องเป็นที่ Iten  ไม่ใช่เมืองอื่น
ที่นอกจากความบังเอิญแล้ว  Iten  แห่งนี้มีระดับความสูงราว 8,000 ฟิต
จากระดับน้ำทะเล
เป็นความสูงที่มากพอให้ร่างกายเกิดความเคยชินกับภาวะเจือจางออกซิเจนขณะฝึก
เพื่อจะได้วิ่งให้ดีบนพื้นราบและมีทางชันเหลือเฟือ
แต่ก็ไม่สูงเกินไปจนกระทั่งนักวิ่งหมดสภาพการฝึกวิ่งเร็ว  ยังฝึกสปริ้นท์ได้
มีอุณหภูมิเฉลี่ยราว 50-80 องศา F และปราศจากความชื้นให้เหนอะหนะ
และมีแสงสว่างให้ฝึกวิ่งกันถึงวันละ 12 ช.ม.  ตลอดทั้งปี
ที่นี่ฝึกซ้อมกันเป็นกลุ่ม
ที่จัดกันตามระดับความสามารถและตามกิจกรรมฝึกในแต่ละวันที่ล้วนแต่หนักๆเกินจินตนาการคนอย่างเราทั้งนั้น
 มีระยะสะสมต่อสัปดาห์เกินร้อยสี่สิบกิโลกันทั้งนั้น  การจัดกลุ่มแบบนี้
ช่วยให้การฝึกหนักขนาดนั้นมีความเป็นไปได้
ยังความตื่นเต้นเร้าใจให้กับนักวิ่งแนวหน้าจากประเทศอื่นที่มุ่งหน้ามาดูงานและเยี่ยมเยือนที่นี่เกิดความตื่นตาเร้าใจเป็นอย่างมาก
สิ่งแวดล้อมที่นี่ ล้วนถูกพัฒนามาด้วยเงินจากรางวัลวิ่งเกือบทั้งนั้น
เป็นเครื่องล่อใจชั้นดีให้กับพลเมืองรุ่นใหม่ให้มองเห็นทางออกหนีจนหนีทุกข์หนีตาย
โดยลองวิ่งดู เผื่อๆมันจะเร็ว ถ้าใครเห็นรถ SUV ที่นี่ ก็สามารถแน่ใจได้เลยว่า
คนขับเจ้าของรถมีฝีเท้าวิ่งจัดจ้านคนหนึ่งเลย
การฝึกฝนประจำวันเริ่มต้นเริ่มเมื่อราว 6 โมงเช้า , ช่วงที่สองเริ่มราว
10โมงตอนสาย และตามด้วย 4โมงเย็น  และจะไม่มีใครที่ฝึกนอกเวลาเหล่านี้เลย
เพราะทุ่งหญ้าเหล่านี้จะเต็มไปด้วยฝูงแพะและปศุสัตว์
ผู้ที่ไม่ใช่นักวิ่งที่มีหน้าที่ดูแลแพะจะรู้ดีถึงเวลาที่แบ่งสันปันส่วนกันอย่างชัดเจน
 พอใกล้เวลา พวกเขาก็จะต้อนแพะเข้าคอกหมด  เปิดทางให้พวก Kelenjin runners
มาฝึกประจำวัน
ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งโรงแรม ,
ภัตาคารและรีสอร์ตในละแวกนี้มีลูกค้าต่างชาติเข้ามาอุดหนุนกันสะพรั่ง
ทั่วไปทั้งย่านที่มีภูมิประเทศสวยงาม
ล้วนแต่มีเจ้าของเป็นนักวิ่งมาราธอนระดับโลกทั้งหมด
ส่วนอีตา Kiprotich  กลายเป็นโต้โผใหญ่มีลูกทีมที่เป็นลูกจ้างโรงแรม ,
คนทำอาหาร , หมอนวดและภารโรงอยู่ในความดูแลจำนวนเป็นร้อยๆ
หน้าที่พวกเขาเหล่านี้ คือดูแลซักทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าวิ่ง
โดยซักมือเท่านั้น  ส่วนพวกที่กำลังพัฒนาฝีเท้า ยังเร็วได้ไม่ถึงที่ต้องซักเอง

 แม้กล่าวว่าพวกนี้ความเร็วยังไม่มากนัก  แต่หมายความว่าไม่เร็วอย่างเคนย่า
ไม่ใช่เทียบเคียงว่าไม่เร็วอย่างบ้านเรา  เขาเพียงแต่เป็นน้องๆแชมป์เท่านั้น
ที่ทำให้มงกุฏของแชมป์ตัวจริงกระเด็นเปลี่ยนตำแหน่งบ่อยๆเมื่อเกิดอ่อนซ้อม
ก็จะโดนพวกนี้เสียบเข้าโดยไม่ยาก
และพวกระดับรองนี้เท่านั้นที่มักจะมาแข่งบ้านเรา  ตัวจริงโค้ชไม่ให้มา
เพราะไม่จำเป็น เอาตัวรองของรองมาก็สามารถดึงซองรางวัลไปจากมือคนไทยได้แล้ว
ตัวแรงๆให้ซุ่มฟิตต่อไม่ให้ช้ำเพื่อทำลายสถิติโลก
ระบบโครงสร้างสาธารณูปการของเมือง Iten
ถูกยกระดับขึ้นไม่ใช่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวตะวันตก  หรือชาวเมือง
แต่เพื่อนักวิ่งชาวต่างชาติแนวหน้าทั่วโลกที่พยายามมาดูเคล็ดลับและฝังตัวนานหลายเดือนในแต่ละปีเพื่อฝึกปรืออินทรีย์ให้แก่กล้า
มักพักตามโรงแรมและรีสอร์ตต่างๆ ทั้งคนดำด้วยกัน , ญี่ปุ่น
และยุโรปกระทั่งอเมริกันมากหน้าหลายตา
นักวิ่งแนวหน้าจำนวนมากจากยุโรปมักจะอุดหนุนกิจการที่ดำเนินงานโดย Lornah
Kiplagat ผู้ที่ตอนนี้แปลงสัญชาติไปวิ่งให้ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ไปแล้ว
เพื่อแลกกับผลประโยชน์มหาศาลแม้ตัวจะดำปี๋แสดงออกอยู่อย่างนั้นก็ตาม
พวกนักวิ่งต่างประเทศที่มาพักตามรีสอร์ตเหล่านี้มักไม่ชอบอาศัยอยู่ปะปนกับนักวิ่ง
Kelenjin ท้องถิ่น แต่แยกตัวออกมาต่างหาก รับอาหารจากการบริการของกลุ่มธุรกิจ
Kiplagat


ผู้ที่คุ้นเคยและเข้าใจลิ้นฝรั่งยุโรปดีกว่าคนท้องถิ่นพื้นเมืองที่ไม่สามารถทำให้ได้
 และลีลาการออกฝึกของพวกเขาจะจับเป็นกลุ่มย่อยๆฝึกด้วยกันตามเทคนิคที่ไปรู้มา
นานๆทีจะเข้าไปในเมืองทีเพื่อเช็ค อี-เมล์ เป็นเป้าหมายหลักที่ไปรษณีย์
เด็กเล็กที่ยังไม่เดียงสา
ที่รักจะเล่นกันอยู่ตามประตูค่ายมักจะหยุดเล่นและจ้องมองดูพวก Wazungu (แปลว่า
“คนขาว”)
ที่กำลังยืดเส้นและยกเวทในอิริยาบถแปลกๆโดยไม่ค่อยเข้าใจว่าทำท่านั้นไปทำไม
นักวิ่งเหล่านี้บ้างเข้าประเทศมาเป็นกลุ่ม บ้างก็มาเดี่ยว
พวกที่มาเดี่ยวมักมีแนวโน้มชอบฝึกกับนักวิ่งท้องถิ่นมากว่าพวกที่มาเป็นกลุ่ม
ทำให้เกิดความใกล้ชิดและคุ้นเคยกับวัฒนธรรมท้องถิ่นมาก
โดยเฉพาะกับพวกเอธิโอเปี้ยนอพยพที่ครั้งหนึ่งเคยหนีภัยสงครามมา
แล้วต่อมาผันตัวเองเป็นนักวิ่งมาราธอนหนีความยากจน
พวกนี้มักสุมกันอยู่ที่แคมป์ของ Kiplagat ตั้งแต่ปี 2000
ปีที่เปิดแคมป์เป็นต้นมา


ความฉงนสนเท่ของคนท้องถิ่นต่อผู้มาเยือนหลากสีผิวที่นี้สงสัยว่า
ทำไมคนขาวจากยุโรปและอเมริกาถึงไม่หยุดนิ่ง  หลังซ้อมก็ไม่ยอมพัก
กลับตะลอนๆไปทั่ว ไม่พักผ่อนหรือไร  ที่ในสายตาของฝรั่งก็เห็นว่า
การมาต่างชาติต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมมากมายทั้งมิติด้านระยะทางและความรู้สึก
ย่อมสมควรจะเรียนรู้จักเข้าใจ ให้มากกว่าเพื่อมาวิ่งอย่างเดียว
จะได้คุ้มค่ากว่า  จะได้มีโอกาสรู้จักวัฒนธรรม ,
พูดคุยสนทนากับทั้งนักวิ่งและคนแปลกหน้า  ย่อมเป็นกำไรชีวิต  ส่วน Kelenjin
runners มักจะมีบุคคลิกตรงข้าม  มักใช้เวลาส่วนใหญ่
หมดไปกับการเตรียมตัวฝึกครั้งต่อไป แล้วก็นั่งเฉยๆ  ไม่ทำอะไรเลย
คุยกันเล็กน้อย หรือไม่ก็เงียบๆเป็นเวลานานๆ
รอคอยอย่างเดียวคือการฝึกครั้งต่อไป


เช้าวันหนึ่งขณะ Scott
เห็นนักวิ่งผิวดำสองคนกำลังฝึกสปริ้นท์ความเร็วขึ้นเนิน
หน้าประตูโรงเรียนมัธยม  St.Patrick
แม้ว่าจะเป็นที่สูงปานนี้ที่นักวิ่งธรรมดาต้องระมัดระวังและยังเป็นทางชันร่วม
10% แต่ฟอร์มวิ่งทั้งคู่ยังแจ๋ว  ดูพลิ้วและผ่อนคลาย
แม้จะผ่านไปหลายเที่ยวก็ตามด้วยใบหน้าที่เรียบเฉย ไม่แสดงความทรมาน
ทั้งคู่ชื่อ Kandic  Bushendich  กับ  Douglas  Kiptoo
ทั้งคู่ปรารถนาที่จะหนีจากชีวิตฟาร์มในประเทศด้อยพัฒนาแห่งนี้โดยวิถีวิ่ง
พวกเขาออกมาตอน 5 โมงเย็นและตอนเช้าทุกวัน
เมื่อ Scott ถาม Bushendich และ Kiptoo
และเพื่อนร่วมทีมขณะดื่มน้ำชาตอนเช้าว่า
ทำไมพวกเขาถึงต้องจากครอบครัวมาเพื่อฝึกที่นี่
พวกเขาตอบว่ามันเป็นวิถีทางเดียวที่มองเห็นว่าจะเป็นไปได้ที่จะโด่งดังและร่ำรวย
จึงต้องมาที่นี่เพราะใครๆก็รู้กันทั้งนั้นว่าที่ดีที่สุด  Simon  Kipturm
อายุ 18 ผู้ยังไม่พึงพอใจในความเร็วตอนนี้กล่าวว่า
บางทีอาจจะเป็นปีหน้าหรือสองปีหน้าที่ร่างกายจะแสดงผลการฝึกที่เขาพากเพียรวันนี้ออกมา
 เมื่อนั้นโค้ชจะส่งเขาไปแสดงฝีเท้าในสนามที่ไหนสักแห่งในยุโรป
และเมื่อนั้นเขาย่อมมีอนาคตในวงการแน่นอน


นี่เป็นรายงานจากนักข่าวที่เก็บมาเล่า แต่ถ้าผู้เขียนได้ไปเอง
จะต้องมีเรื่องเล่าอีกหลายตอนมากมายจนปากกากุด
แล้วยังจะต้องวิ่งด้วยขาของตัวเองอีกจนปวดเมื่อยเนื้อตัว  ก็ไปถึงทั้งที
ไม่วิ่งก็เหมือนไม่ได้ไป
มันคงมีเรื่องให้น่ารายงาน
ตั้งแต่ปัจจัยเล็กๆน้อยๆที่อาจมีผลต่อเบ้องหลังความสำเร็จของนักวิ่งระยะไกลที่นี่
และเคล็ดลับอีกมากหลายจากการฝึกที่ต้องโน้ตไว้  เพื่อกลับมาเล่าให้พวกเราฟัง
เมื่อเห็นบรรยากาศอย่างที่ Scott เล่าไว้นี้
กลับทำให้อยากไปดูมากที่สุดเป็นทวีคูณ  ทำให้นึกถึง
คุณสงครามหรือคุณสายัณห์ที่น่าจะลองจัดทัวร์ไปเคนย่ากันบ้าง
น่าจะได้บรรยากาศที่สนุกไปอีกแบบเมื่อเทียบกับทัวร์สนามวิ่งในยุโรปอย่างที่เคยๆมา
และแน่นอนที่ต้องไม่พลาดที่ Iten   ด้วยว่า ที่นี่เป็น Detroits of long
distance running
แล้วก็จะไม่ลืมขอลายเซ็นแนวหน้าแชมป์มาราธอนคนล่าสุดให้ลากปากกาเมจิคลงบนหน้าอกเสื้อกล้ามวิ่งเอามาฝากเพื่อนๆเป็นของที่ระลึก.

 




12:51  น.
13  พฤษภาคม  2548