% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_hernia.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %>
ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่ 17 พค.44 :
<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>
ไส้เลื่อน หมายถึง ภาวะที่ลำไส้เลื่อนออกนอกช่องท้องผ่านผนังช่องท้องที่บอบบาง ตำแหน่งที่ลำไส้จะเลื่อนออกนอก ช่องท้องมีหลายแห่ง เช่น บริเวณขาหนีบ (groin hernia), ผนังหน้าท้อง (abdominal hernia), สะดือ (umbilical hernia), และ รอยแผลผ่าตัด (incisional heria) เป็นต้น ลำไส้เลื่อนส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณขาหนีบ ผนังช่องท้องบริเวณนี้มีหลายตำแหน่ง ที่ไส้เลื่อนออกนอกช่องท้องได้ ในผู้ชายส่วนมากลำไส้จะเลื่อนผ่านรูที่ผนังช่องท้องที่มีลักษณะเป็นวงแหวนเข้าไปใน ถุงอัณฑะ (indirect inguinal hernia) บางรายผ่านผนังผนังช่องท้องออกมาที่ขาหนีบมีลักษณะนูนเป็นลำ บางรายผ่านผนังช่อง ท้องแต่ไม่นูนออกมาให้เห็นและคลำไม่ได้
อาการของไส้เลื่อน
ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ ในเด็กมักจะมาหาแพทย์เพราะพ่อแม่คลำก้อนนูนที่ขาหนีบได้ ถ้าลำไส้ที่เลื่อนออกมาผ่าน รูที่เล็กและลำไส้ถูกรัดแน่นจะมีอาการปวดคล้ายในกรณีของลำไส้ตัน
สาเหตุของไส้เลื่อน
ส่วนมากเกิดจากความบอบบางของผนังช่องท้องในส่วนต่างๆ บางรายเกิดความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด บางรายเกิดจาก การผ่าตัด บางรายเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ ที่ทำความดันในช่องท้องมากขึ้น เช่น คนไข้ที่มีน้ำในช่องท้องจากสาเหตุอื่น ดันให้ ผนังท้องแยกออก หรือคนไข้ที่มีอาการไอเรื้อรัง หรือมีอาการท้องผูกเรื้อรัง เป็นต้น
การรักษาไส้เลื่อน
การรักษาที่สำคัญได้แก่ การผ่าตัด เพื่อเอาลำไส้ส่วนที่เลื่อนออกนอกช่องท้องกลับเข้าที่และซ่อมผนังที่ผิดปกติให้แข็งแรงคงทนเพื่อไม่ให้ลำไส้เลื่อนออกไปได้อีก ในบางกรณีที่คนไข้ไม่สามารถรับการผ่าตัด การใช้กางเกงรัดที่บริเวณขาหนีบเพื่อไม่ได้ลำไส้เลื่อนออกมาได้ อาจช่วยป้องกัน ผลแทรกซ้อนจากลำไส้อุดตันได้บ้าง
โดย....ประวิทย์ เลิศวีระศิริกุล. "ไส้เลื่อน ไส้ตัน." รามาธิบดี 10 (มกราคม 2522): 30-34
ถ้าพิจารณาจากบทความนี้แล้ว จะเห็นว่าไม่ได้เอยถึงสาเหตุของไส้เลื่อนว่าจะเกิดจากการวิ่งโดยไม่ได้ใส่กางเกงในเลย และ่ถ้าจะพิจารณาให้ดีๆ การวิ่งน่าจะช่วยให้ผนังหน้าท้องเราแข็งแรงขึ้น และมีระบบขับถ่ายที่ดีขึ้น ซึ่งก็จะเป็นการป้องอาการไส้เลื่อนได้อีักทางหนึ่ง....แต่ถ้าใครมีข้อมูล ไส้เลื่อน ที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งเพิ่มเติม ก็แจ้งไปได้นะครับ จะได้ทำให้บทความนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะนักวิ่งชายหลายท่านมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้. (ความเห็นเพิ่มเติม..นายยิ้ม)