คุณหมออุดมศิลป์  ศรีแสงนาม ท่านเคยเล่าว่า “หัวใจเปรียบเสมือนเครื่องปั๊มน้ำ มหัศจรรย์” กล่าวคือ เต้นทุกวัน ไม่หยุด เป็นเวลาเท่ากับอายุขัยของผู้นั้น ถ้าคนนั้นตายเมื่ออายุ 50 ปี ก็แสดงว่าเป็นเครื่องปั๊มที่ทำงานติดต่อกันถึง 50 ปี และถ้าคนมีอายุขัยถึง 120 ปี นั่นก็คือเครื่องปั๊ม มหัศจรรย์ก็ปั๊มกันแบบ 120 ปี ต่อเนื่องโดยไม่ถอดปลั๊ก ซึ่งแม้ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่พบว่า มีเครื่องปั๊มน้ำเหล็กเครื่องใดที่ใช้ติดต่อกันโดยไม่ถอดปลั๊กถึง 10 ปีได้

ที่ว่าเป็นเครื่องปั๊มน้ำก็เพราะเปรียบเทียบให้ท่านผู้อ่านเข้าใจลักษณะหน้าที่การทำงานของมันว่าทำหน้าที่เคลื่อนย้ายของเหลว คือเลือด จากที่แห่งหนึ่ง ไปที่อีกแห่งหนึ่ง โดยสัมพันธ์กับปอด, กล้ามเนื้อ และหลอดเลือด

เมื่อหัวใจบีบตัว 1 ตุ้บ หรือหนึ่งครั้งก็จะเป็นการเคลื่อนย้ายเลือดจำนวนหนึ่งให้พุ่ง 1 ครั้ง ไปตามหลอดเลือด ทีนี้หัวใจที่อ่อนแอก็จะได้เลือดดังกล่าวน้อยในการพุ่งครั้งหนึ่ง ตรงข้ามกับหัวใจที่แข็งแรงก็จะได้เลือดในปริมาณที่มาก เมื่อมากก็ทำให้พอเพียงกับการที่ร่างกายนำเลือดที่ฟอกแล้วกับออกซิเจนไปใช้สันดาปกับกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย จึงเต้นน้อยลงตามส่วน ดังนั้นจึงเชื่อกันว่า การที่หัวใจเต้นน้อยครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หมายความว่าเป็นหัวใจที่แข็งแรง คือเป็นเครื่องปั๊มน้ำที่ทำงานเบาและตรงกันข้ามคือ หัวใจที่เต้นถี่มากครั้ง ย่อมแสดงว่าเป็นหัวใจที่ทำงานหนัก

ซึ่งข้อสรุปนี้นำมาสู่ข้อถกเถียงบางประการ เกี่ยวกับการออกกำลังกายว่า ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนี้การออกกำลังกายย่อมจะไม่น่าเป็นผลดีต่อสุขภาพ เพราะผลของการออกกำลังกาย จะทำให้หัวใจเต้นถี่ เต้นมาก เต้นแรง ทำงานหนัก จะทำให้หัวใจหมดสภาพเร็วขึ้นกว่าการไม่ออกกำลังกาย คืออายุสั้น

เพื่อทำความกระจ่างกับข้อถกเถียงดังกล่าว A.E. CODY นักวิ่งจาก DALLAS ได้ศึกษาและคำนวณการเต้นของหัวใจให้เห็นกันอย่างชัด ๆ ว่า อันที่จริงการออกกำลังกายอย่างปกติเป็นประจำนั้นจะช่วยให้หัวใจเต้นน้อยลงอย่างไร

 

ข้อเปรียบเทียบ อัตราการเต้นหัวใจ

โดยเฉลี่ยระหว่างผู้ไม่ออกกำลังกายกับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

 

 

อัตราการเต้นหัวใจโดยเฉลี่ย
ของผู้ไม่ออกกำลังกาย

อัตราการเต้นหัวใจโดยเฉลี่ย
ของผู้ออกกำลังกายเป็นประจำ

หัวใจเต้นขณะพัก    โดยเฉลี่ยต่อนาที

หัวใจเต้นต่อชั่วโมง โดยเฉลี่ย

หัวใจเต้นต่อวัน        โดยเฉลี่ย

หัวใจเต้นต่อปี           โดยเฉลี่ย

จำนวนครั้งต่อปีที่หัวใจเต้นมากขึ้น

เนื่องจากการออกกำลังกาย

จำนวนเต้นรวมทั้งปีจริง ๆ

ประหยัดจำนวนครั้งที่หัวใจเต้นต่อปี

72 ครั้ง

4,320 ครั้ง

103,680 ครั้ง

37,843,200 ครั้ง

 

0 ครั้ง

37,843,200 ครั้ง

-      ครั้ง

58 ครั้ง

3,480 ครั้ง

83,520 ครั้ง

30,484,800 ครั้ง

 

636,480 ครั้ง

31,121,280 ครั้ง

6,721,920 ครั้ง

 

โดยหาอัตราเต้นหัวใจขณะพักของผู้ออกกำลังกายเป็นประจำเฉลี่ย 58 ครั้ง/นาที โดยเปรียบเทียบกับผู้ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำเฉลี่ย 72 ครั้ง/นาที จะเท่ากับเป็นการประหยัดจำนวนครั้งการเต้นราว 6 ล้านครั้งต่อปี     โดยพิจารณาค่าเต้นหัวใจเพิ่มเติมขณะออกกำลังกายแล้ว   (โปรดพิจารณาดูในตาราง)

หมายเหตุ คำนวณจากการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ด้วยอัตราเต้นหัวใจที่ 160 ครั้งต่อนาที

นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยให้มีสุขภาพดีแล้วยังมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีกกล่าวคือช่วยให้ความดันโลหิตเข้าสู่สมดุลย์ ช่วยปรับปรุงภาวะคอเรสเตอรัล ช่วยให้ร่างกายมีสมรรถนะความยืดหยุ่นสูง ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน, โรคอ้วน ช่วยพิชิตความเครียด และบางทีช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิดได้

นี่คือเราสามารถเลือกให้หัวใจของตัวเองให้แข็งแรงหรืออ่อนแอได้โดยวิธีการออกกำลังกายแบบ Aerobic เป็นประจำ

 

ที่มา...-