<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_exercise_heart_attack.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> ออกกำลังกายเป็นประจำ

 

ออกกำลังกายเป็นประจำ : 

ทำไมยัง HEART ATTACK   อีก  ?

 

 

โดย...รศ.ดร.ประพัฒน์   ลักษณพิสุทธิ์

 

จิม ฟิกซ์ ซินโดรม   หมายถึงความเชื่อที่ไม่ถูกต้องที่ว่าคนที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิค  เช่นการวิ่ง  จะปลอดหรือไม่เป็นโรคเกี่ยวกับเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงหัวใจ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม  ซึ่งความเข้าใจผิดหรือไม่ถูกต้องทำนองนี้มีอยู่ 4 ประการ

ประการแรก  :  ความเชื่อที่ว่าตนไม่ได้เป็น หรือมีโรคหัวใจอยู่  สามารถจะวิ่งได้อย่างที่เคยวิ่ง  อย่างน้อยก็ไม่เคยมีอาการใด ๆ เกิดในขณะวิ่งเลย ( การทำ Stress Test  ถ้ากำหนดความหนักของงานที่  Submaximum จะไม่สามารถตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจได้เลย  นอกจากจะกำหนดความหนักของงานที่ " At or Near Maximum " ซึ่งในการออกกำลังกายโดยทั่วไปนักวิ่งก็มักจะออกกำลังกายในระดับ  Submaximum เท่านั้น  จึงไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างการวิ่ง )

ประการที่สอง :  นักวิ่งระยะไกล  เช่นนักวิ่งมาราธอนจะไม่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว  ( แสดงว่า นักวิ่งที่ฝึกวิ่งในระยะที่ไกลกว่านักวิ่งมาราธอน  ก็จะมีร่างกายที่สมบูรณ์กว่าเช่นนั้นหรือไม่  เพราะแท้ที่จริงแล้ว  การที่มีความเชื่อเช่นนี้แสดงว่าไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ อันได้แก่  ทุพโภชนาการและกรรมพันธู์ด้วย  ซึ่งจากรายงานการศึกษาการเสียชีวิต  ของนักวิ่งมาราธอนจำนวน 14 คน ที่ลงใน Journal of American Medical  Association พบว่า   การมีโภชนาการที่ไม่ดี  และไม่เพียงพอมีส่วนในการเสียชีวิตของพวกเขาด้วย )

ประการที่สาม :  การทำ Stress Test ไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างไร  บางทีอาจได้รับผลการวินิจฉัยที่ผิดความเป็นจริง  ( ทั้งทางบวกหรือทางลบ )  รวมทั้งแพทย์ผู้ทำการทดสอบอาจแปลผลจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จากการทำ  Stress  Test ไม่ถูกต้อง ( ถ้า จิม ฟิกซ์ ทำ Stress Test  ตามที่ ดร.คูเปอร์ แห่ง  The Cooper Clinic Institute for Aerobics Research  ได้เชื้อเชิญไว้  ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต 6 เดือน  เขาอาจมีชีวิตที่ยืนยาวกว่านี้ ก็เป็นได้  แสดงว่า หากจะทำ Stress Test ต้องไปพบแพทย์หรือสถานทีที่มี  Technician  ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในการทำ  Stress Test ) 

ประการสุดท้าย  :  ถ้าคุณเป็นนักวิ่งระยะทางไกลที่มีสมรรถภาพสูง คุณก็ลืมเรื่องประวิติสุขภาพของครอบครัวไปได้เลย  ( บิดา ของ จิม ฟิกซ์  เสียชีวิต ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว  เมื่ออายุได้ 43 ปี )

      ดังนั้น การที่มีความเชื่อที่ผิดดังกล่าว  แม้จะเพียงประการเดียวก็อาจเพียงพอที่จะทำให้คุณเสียชีวิตได้

      การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง  แม้จะไม่ช่วยเป็นเกราะป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลัน  หรือการเสียชีวิตแบบไม่ทันรู้ตัว  ( Sudden  Death ) ได้  แต่การออกกำลังกายก็ช่วยให้ผู้ออกกำลังกายอย่างถูกต้องเป็นประจำไม่ให้ตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงมากเกินไป  ประการสำคัญผู้ออกกำลังกายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป  หรือคนทีชอบเร่งในช่วงสุดท้ายของการวิ่ง ควรจะไปรับการทำ Stress Test   และควรทำเป็นประจำโดยผู้ชำนาญในกีฬาเวชศาสตร์  ( Sport Medicine ) เป็นจำนวนมากที่สามารถจะทำให้รายละเอียดและทำ Stress Test ให้แก่ผู้ต้องการได้ดีกว่า

 

        ข้อแนะนำในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีโปรแกรมการออกกำลังกายเป็นของตนเองอย่างปลอดภัย

        ในกรณีที่ท่านมีโปรแกรมการออกกำลังกายเป็นของตนเอง  ขอให้จดจำไว้ให้ขึ้นใจก่อนที่จะออกกำลังกายทุกครั้ง

1. รับการตรวจจากแพทย์เพื่อแสดงว่าท่านไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลัน  โดยเฉพาะควรได้รับการทำ  Stress Test 

 2. ในกรณีที่ท่านต้องการจะเข้าสู่โปรแกรมการออกกำลังกายที่หนักขึ้น  ท่านควรจะค่อย ๆ เพิ่มความหนักของงานขึ้นอย่างช้าๆ 
            3.อบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิตและระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง 

4.ออกกำลังกายแบบแอโรบิคด้วยระยะเวลา ( Duration ) ที่นานพอ  หนัก ( Intensity ) และบ่อยครั้ง ( Frequency) พอที่จะพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิตอย่างเหมาะสม

5. ระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้ร่างกายที่มากเกินไป อันอาจทำให้มีปัญหาเรื้อรังในระบบไหลเวียนโลหิต และระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง

6. หลีกเลี่ยงการเพิ่มการออกกำลังกายทันที เช่นวิ่งให้ได้ระยะทางเพิ่มเป็นสองเท่าของที่เคยวิ่งต่อสัปดาห์หรือต่อครั้ง

7.คลายอุ่น  ( Cook Down ) อย่างถูกต้อง ภายหลังการออกกำลังกายอย่างหนัก  เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายหลังออกกำลังกาย  ( Post - Exercise Peril )

8. พบแพทย์ทุกครั้งที่พบว่ามีอาการผิดปกติ  

 

                ถ้าท่านได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำดังกล่าวข้างต้นอย่างแข็งขัน ท่านก็สามารถจะวิ่ง  ว่ายน้ำ  ขี่จักรยาน  และหรือประกอบกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องการได้อย่างมั่นใจ มากขึ้น  และปราศจากความกลัว

 


( จากหนังสือ นิตยสารเพื่อชีวิตที่ดีกว่า   )

 



ประสบการณ์วิ่งแข่งครั้งแรก

( โดย..รองประธานชมรมวิ่งไทยรันนิ่ง...คุณปริญญา)

ยาวิเศษ

อัตราชีพจรสูงสุดในคนต่างวัย

การฝึกเพื่อกลับไปวิ่งใหม่ หลังจากการบาดเจ็บ