<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_do_not_heavy_bykrit.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> อย่าเล่นของหนักแต่ต้นมือโดย_กฤตย์

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่11ก.ค.48<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

อย่าเล่นของหนักแต่ต้นมือ

 

โดย   กฤตย์   ทองคง

 

                              “อย่าเล่นของหนักแต่ต้นมือ”    เรื่องอย่างนี้ ใครๆก็รู้กันทั้งนั้น  แต่พวกเราชาวนักวิ่งไม่น้อยราย มักเลือกทำพลาดเสมอ แล้วก็ไม่ยอมสรุปบทเรียนเสียด้วย  น่าเสียดาย

               กี่ปีมาแล้วที่ทุกสนามการจัดแข่งขัน ภายใน VDO ที่ผู้จัดบันทึกไว้ จะเห็นปึกแถวด้านหน้าของนักวิ่ง ต่างกรูกันออกตัวเหมือนผึ้งแตกรัง คล้ายกับมีใครแจกของฟรี ที่นักวิ่งต้องรีบวิ่งไปชิงธงแดง มิฉะนั้นจะอดได้ของ ช่างขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ปรากฏในโบรชัวร์ว่าเป็นการวิ่งในระยะที่ไกลเป็นสิบๆโล

               และแล้ว ตดยังไม่ทันหายเหม็นที่กรูกันไปก็วูบอย่างไม่ทันต้องรอ นักวิ่งพวกนี้ดูๆแล้วไม่ใช่พวกนักวิ่งหน้าเก่า บางงานจะเป็นองค์กรท้องถิ่นที่เกณฑ์ชาวบ้านร้านช่องออกมาวิ่งกับพวกนักเรียนที่ถูกเกณฑ์อีกเช่นกันให้มาร่วมกิจกรรมของโรงเรียน มากกว่าจะเป็นนักวิ่งตัวจริง

               เมื่อกล่าวเช่นนี้ไปแล้ว ก็ขอให้พวกเราอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า กิริยาที่วิ่งเร็วต้นอย่างนี้จะเป็นพวกหน้าใหม่หรือเยาวชนที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องวิธีวิ่ง อะไรอย่างนั้นเสมอไป พวกเราหน้าเก่านี่แหละก็สำคัญนัก

               ที่ว่าสำคัญนักก็คือ ก็เพราะพวกเขาเป็นขาเก่า แปลว่าวิ่งมานานแล้ว หลายรายวิ่งมาก่อนผู้เขียนด้วยซ้ำ ลักษณะของพวกนี้แม้จะไม่พุ่งออกตัวเร็วเท่าม็อบเกณฑ์เหล่านั้น แต่ปลายก็ตกเหมือนกัน แม้ว่าจะทนนานหน่อย จนพวกแรกหมดไปแล้วนั่นแหละ จึงค่อยๆหดตัวตาม

               น่าเสียดายที่บางรายมีฝีเท้าและความฟิตดีมาก ระดับมีอนาคต ที่น่าจะได้ถ้วยกับเขา แต่ก็ชวดเสียทุกคราว ด้วยว่า กิโลแรกก็ติดกลุ่มนำ นั่นมันเป็นความเร็วที่เกินระดับไปแล้ว ผู้เขียนเคยเอ่ยเตือน

               “นายฝีเท้ามันดี แต่น่าเสียดายที่ไปเทแรงเสียแต่แรก มันเลยออกมาพลาด ควรวิ่งให้เหมือนเดิมนี่แหละ เพียงแต่กลับกัน ให้เอาช่วงที่เร็วไว้ข้างหลัง แล้วเอาช้าไว้ข้างหน้า เชื่อเถิดแล้วจะดีเอง”

               เห็นเขาฟังๆ แล้วก็ยิ้มอยู่ กี่ปีกี่ปีก็เหมือนเดิม แซงผู้เขียนไปไกล แล้วพอ ก.ม.5 หรือ ก.ม.7เห็นวิ่งตูดแกว่งอยู่ข้างหน้า โดนถูกแซงกลับทุกครั้งที่ไปเจอกันในสนามแข่ง โดยที่เรายังไม่ทันได้เร่งเลย เชื่อหรือไม่ครับ ซ้ำอย่างนี้อยู่เป็นสิบปี ไม่ยอมปรับปรุง

               จะว่าไป นักวิ่งอันดับบ้านเราก็วิ่งกันด้วยสไตล์นี้กันเยอะมาก กล่าวคือพวกเขามีแผนวิ่งชนิดที่ออกตัวอย่างแรงหนีม็อบเกณฑ์ และนักเรียนที่เกะกะออกไปก่อน หนีไปให้ไกลเลย จะสักโลหรือสามโลก็แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน ต่อไปก็เริ่มวิ่งรักษาสถานภาพเมื่อเริ่มเหนื่อยแล้ว ตลอดทั้งสนาม พวกนี้เล่าว่า  พวกผมก็วิ่งเร็วเท่าพวกคุณนั่นแหละ แต่แซงไปก่อน แล้วก็ชะลอลงวิ่งเร็วเท่าพวกคุณ โดยเลี้ยงไว้ไม่ให้ถูกแซงจนจบการแข่งขัน ก็สามารถชิงธงแดงได้ไป  ไม่เห็นมีความจำเป็นจะต้องวิ่งแบบ Negative Split  เลย (วิ่งครึ่งหลังเร็วกว่าครึ่งแรก)

               แล้วผู้เขียนก็คงไม่สามารถเถียงค้านคุณได้ เพราะพวกคุณได้ป้ายอันดับกันเป็นแถว ผลงานย่อมเป็นเรื่องพิสูจน์คุณภาพ  แต่มีข้อที่น่าสังเกตว่า แนวหน้าของโลก ของยุโรป หรือของเคนย่า แผนวิ่งชนิดพรวดพราดหนีไปก่อนอย่างที่บรรยายนั้น ไม่มีใครเขาทำกันเลย พวกเขาล้วนแต่วิ่ง Negative Split ทั้งสิ้น ทั้งขณะแข่งและซ้อม เช่น Brian Baker นักวิ่งแนวหน้าชาวอเมริกันระยะ 3,000 และ 5,000 เมตรที่ซ้อมคอร์ท 12X400 เมตรโดยกำหนดความเร็วของคอร์ทไว้ที่  เที่ยวที่ 1 ถึง เที่ยวที่ 4 ไว้ที่ 62 วินาที , เที่ยวที่ 5 ถึง เที่ยวที่ 8 ไว้ที่ 61 วินาที และเที่ยวที่ 9 ถึง เที่ยวที่ 12 ไว้ที่ 59 วินาที อย่างนี้เป็นต้น

               หรือแม้แต่แชมป์สถิติโลกมาราธอน ตอนหลังๆ ก็ล้วนแต่วิ่งทำลายสถิติด้วย Negative Split กันทั้งนั้น

               อยู่ที่ว่าเราจะเอาแชมป์ไทยหรือเอาแชมป์สากลเป็นโมเดล

               จำได้ไหม เราเคยถูกเตือนนักเตือนหนา เมื่อก้าวเข้ามาทำงานในสำนักงานใหม่ “จงอย่าฟิตจัด เดี๋ยวปลายจะเฉา Not to do too much too soon” แล้วประโยคเดียวกันนี้ก็กลับมาให้เราเห็นอีกครั้งในวงการวิ่งระยะไกล ไม่ใช่เพียงแค่ให้ออกตัวให้ช้าและปลายจะได้เร็ว แต่ยังครอบคลุมไปถึง จงพยายามอย่ารุ่งในวงการให้เร็วนักเช่นกันเพราะจะหายไปอย่างเร็วไม่ทันได้อยู่จนแก่อย่างที่พวกเราต้องการจะเป็น  ก็เห็นกันมากี่รายแล้วเล่า

               แรงจัด เป็นแชมป์ทั้งๆที่เข้าวงการมาไม่นานพอ ถมดินยังไม่แน่น ดันไปปลูกบ้าน แล้วบ้านมันก็จะทรุด ไม่ใช่ปลูกไม่ได้นะ ปลูกได้อยู่ แต่อาศัยไปได้สักพัก มันจะไม่มีคุณภาพเหมือนเดิม วงการเขาเรียกว่า “เนื้อสวก ยังไม่แกร่งเข้าฝัก”

               ดังนั้น ถ้าค่อยๆพัฒนาฝีเท้าขึ้นทีละนิด ในจำนวนเดือนปีที่ผ่านไปจะน่าอุ่นใจกว่า

               ถ้าเราจัดอัตราส่วนความก้าวหน้าของฝีเท้ากับจำนวนเวลา เป็นรูป แกน X และแกน Y เราจะได้กราฟฝีเท้าที่เติบโต เป็นเส้นที่ชันน้อยๆ  อย่างในรูป  จะเป็นดัชนีความน่าจะปลอดภัยดีกว่าเส้นกราฟที่ชันมาก

 

 

 

                             นักวิ่งชนิดนี้มีโอกาสบาดเจ็บต่ำ  และมีความก้าวหน้าชนิดไม่มีเพดาน                                        

                        นักวิ่งชนิดนี้ มีโอกาสสูญหายไปจากวงการสูง

 

 กล่าวโดยสรุป นักวิ่งที่ฉลาดเท่านั้น ที่พยายามฝึกปรือฝีเท้าตนเองให้ก้าวหน้าอย่างช้าๆแต่สม่ำเสมอ ไม่โลภมาก เพราะเรามีเวลาวิ่งตลอดทั้งชีวิต ใช่หรือไม่เล่าครับว่า เราควรจะวิ่งจนแก่ ไม่ว่าเราจะได้ถ้วยหรือไม่ก็ตาม โดยถือเอาการวิ่งเป็นโอกาสอันงดงามของเรา (For the rest of my life)

               จำเพาะกับน้องๆนักวิ่งที่เพิ่งเข้ามาในวงการใหม่ๆ  พี่ใคร่จะแนะนำว่า จงอย่ารีบร้อนเป็นแชมป์ , อย่ารีบร้อนพัฒนาเร่งรัดความเร็ว ด้วยว่าบางคน พอจะมีพื้นมาจากกีฬาชนิดอื่นอยู่บ้าง มาวิ่งได้ไม่กี่เดือน เริ่มได้ถ้วย ชักมัน ไปงานไหนก็ได้ถ้วยตลอด คิดว่าข้าเก่ง ทั้งที่ไม่ได้เก่ง เพียงแต่ คุณเกิดในเมืองไทย ประเทศที่ค่อนข้างอับเฉาแชมป์ตัวจริง ไม่มีตัว มันสัมพัธ์กับความเร็วตัวเองเลยดูเหมือนเก่ง ตกอยู่ในสถานการณ์ทางจิตวิทยาว่าสิ่งที่ได้(รางวัล)เป็นเสมือนที่ยืนยันว่า สิ่งที่ทำไปแล้วนั้นถูกต้อง (Reward) ดีแล้วและถือเป็นแนวทางตลอดไป และแล้ววันที่ตัดสินชะตากรรมก็ใกล้เข้ามา  ธรรมชาติมันแปลกตรงที่ ยินยอมให้เราสำเร็จโดยปราศจากความบาดเจ็บชอกช้ำใดๆอยู่บ้างเหมือนแกล้งให้เราลงเหว แต่ถ้าเราให้โอกาสมันเยียวยาสมานกล้ามเนื้อต่างๆไม่เพียงพอ  ความชอกช้ำ (ธรรมดา) จะกลายเป็นความบาดเจ็บ (ต้องพัก) แต่ด้วยฤทธิ์เหิมเกริมยังมี จึงกลายเป็นความรวดร้าว (ต้องหยุดยาว) แต่ยังไม่มีบทเรียน อ่อนประสบการณ์และดื้อดึงทนงตนจึงระเบิดระเบ้อ ขาดผึง เละตุ้มเป๊ะ แค่ย่างเพียงก้าวเดียวก็แปลบถึงขั้วหัวใจ อนิจจาสายไปเสียแล้ว ขนาดหยุดไป 2-3 ปียังไม่หาย แรกๆก็เจิ่นไปเจิ่นมาเลือนหายกลายเป็นท้อแท้แล้วลาจากในที่สุด  กี่คนแล้วจ้ะ กี่รายแล้วจ้า บทเรียนนี้เต็มลู่วิ่ง

               ถ้าคุณตระหนักในความข้อนี้ ค่อยๆพยายามสไลด์ความสำเร็จทีละนิดให้บางๆ สถิติที่ดีที่สุดของคุณ (P.R.) จะถูกทำลายทีละนิด ไม่กี่นาที อย่าให้ห่างกันมาก เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น คุณจะมี Bingo ได้ไม่กี่ครั้งในชีวิตคุณ  สู้เราวิ่งอย่างไรให้มี Bingo บ่อยครั้งไม่ดีกว่าหรือ จะได้มีความสุขมากๆ

               วันคืนที่ผ่านไป จงระลึกเสมอว่า เป้าหมายระยะยาวของเรายังมี และมันจะเป็นไปได้อย่างไร ถ้าเราจัดการกับเป้าหมายระยะสั้นแบบนี้  เวลาที่ผ่านไป ไม่ใช่เป็นการแช่เย็นแผนฝึกของเราให้แน่นหนามากขึ้นเท่านั้น แต่เป็นการอนุญาตให้ตัวเราค่อยๆปรับการเรียนรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่งให้กลมกล่อมและหอมหวานในที่สุด and realize that it takes time to run

 

 17:15 น.
14  ก.ค. 2547