<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_concentrate_running.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> สมาธิกับการวิ่ง

 

 

สมาธิกับการวิ่ง

 

โดย...ผศ.นพ.โรจน์รุ่ง  สุวรรณสุทธิ

 

               การวิ่งเป็นกีฬาชนิดหนึ่งและกีฬาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า การแข่งขันการเล่นเพื่อความสนุกสนาน โดยมากเพื่อเป็นการบำรุงร่างกายแข็งแรง ดังนั้นกีฬาที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็คือ การเล่นแข่งขันกันเพื่อความสนุกสนาน และเป็นการออกกำลังกายให้ร่างกายแ็งแรง การแข่งขันกีฬาเหล่านี้มีมากมายหลายชนิดซึ่งอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละชาติศาสนา แต่วัตถุประสงค์ของการกีฬาในเบื้องต้นนั้นจะเหมือนกัน

วัตถุประสงค์ของการวิ่งนั้น คือความสนุกสนานและการออกกำลังกายโดยอาจอาศัยการแข่งขันเป็นเครื่องมือ เพราะฉะนั้นนักวิ่งจึงควรที่จะไม่ลืมวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการกีฬาอย่าได้หลงมัวเมา
ในชัยชนะในการแข่งขันจนเกินไปจนกระทั่งทำลายคุณค่าของการกีฬาที่ดีงามลงไป
นอกจากวัตถุประสงค์ในด้านความสนุกสนานและการออกกำลังกายแล้ว
การวิ่งยังได้ถูกนำมาเพื่อพัฒนาบุคคลได้อีกด้วยเพราะนักวิ่งแต่ละคนจะต้องถูกฝึกฝนอบรม
ให้มีคุณสมบัตินักวิ่งที่ดี คุณสมบัติเหล่านี้ได้แก่

    1. การทำงานเป็นทีม

    2. ความอดทน

    3. ความเพียรพยายาม

    4. ความเสียสละ

    5. ความมีน้ำใจที่ดีงาม รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

การทำงานเป็นทีม คือการรวมกันเล่นเป็นทีมซึ่งประกอบด้วยการทำงานร่วมกัน ความสามัคคี การรู้จักหน้าที่ การประสานงาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่โทษเพื่อน แต่จะต้องมีความรับผิดชอบทั้งทีม การรู้จักอภัย การให้หรือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ตลอดจนการรู้จักวางแผน และดำเนินงานตามแผน ตัวอย่างเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของนักวิ่งจะต้องเรียนรู่ข้อบกพร่องของทีมของตน เพื่อการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

ความอดทน คือความสามารถของนักวิ่งที่จะต้องอดกลั้น อดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกซ้อม หรือการแข่งขันกับทีมที่มีความเข้มแข็งที่เราจะต้องต่อสู้เอาชนะไปให้ได้ นอกจากความอดทนต่อความยากลำบากแล้วยังต้องอดทนต่อทุกข์เวทนา บางครั้งต้องเจ็บตัวจากการแข่งันก็ต้องอดทนได้ไม่ท้อถอย หรือหมดกำลังไม่สู้แม้ทีมฝ่ายตรงข้ามจะมีร่างกายแข็งแรงและใหญ่โตกว่า ความอดทนอีกอย่างหนึ่งคือ ความอดทนต่อการเย้ายวนของกิเลสและตันหา นั่นหมายถึงนักวิ่งและต่อทีมของตนที่จะไม่ไปหลงใหลในสิ่งต่าง ๆ มัวแต่เพลิดเพลินหนีซ้อมหรือตอนเก็บตัว เพราะต้องการไปเที่ยวสนุกสนาน บางครั้งอาจจะคิดว่าเราไม่ใช่ตัวสำคัญในทีม เพราะฉะนั้นคงไม่เป็นอะไร ความคิดเช่นนั้นจะทำให้ทั้งทีมเสียหายและเป็นอันตรายต่อการวิ่ง ดังนั้นนักวิ่งจึงต้องฝึกความอดทนต่อสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

ความเพียรพยายาม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความสำเร็จดังสุภาษิตไทยกล่าวว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” หรือในธรรมมะของพระพุทธองค์ซึ่งตรัสถึงคุณธรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จคือ “อิทธิบาท 4” ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา วิระยะหรือความเพียรนี้จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการวิ่ง นักวิ่งที่ประสบผลสำเร็จนั้นจะต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นระยะเวลาที่นานที่จะต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ พากเพียรไม่ท้อถอย แม้บางครั้งจะผิดพลาดไปบ้างก็จะพยายามต่อไปอีก จนผลสุดท้ายก็จะพบกับความสำเร็จ ในที่สุดความสำเร็จเหล่านี้ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะไม่สูงสุดแต่อย่างน้อยที่สุดความสำเร็จในระดับหนึ่งก็พอที่จะได้รับ ถ้าไม่ละทิ้งความเพียรเสีย

ความเสียสละคือ การให้ การยอมสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม จิตใจอันนี้เป็นเรื่องที่ควรสรรเสริญและสนับสนุนให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนของคนไทย เช่น นักเรียนและนักศึกษาที่เสียสละเวลามาวิ่งให้กับโรงเรียน หรือสถาบันต่าง ๆ แน่นอนนักเรียนหรือนักศึกษาเหล่านี้ย่อมขาดเวลาที่จะดูหนังสือ การเรียนย่อมต้องตกลงไปเป็นของธรรมดา แต่ถ้าทุกคนเห็นแก่ตัวหมดจะเอาแต่คะแนนสอบการกีฬาย่อมเจริญขึ้นไม่ได้ เราควรที่จะให้เกียรตินักวิ่งเหล่านี้ไหม ในการเสียสละของเขา ที่รู้จักยอมสละประโยชน์ส่วนตนให้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเราควรสรรเสริญบุคคลเหล่านี้ไหม ถ้าโรงเรียนหรือสถาบันต่างให้การสนับสนุนมองเห็นความสำคัญ ของการเสียสละของนักกีฬาเหล่านี้ เขาก็จะมีกำลังใจที่จะเสียสละทำสิ่งอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมหรือประเทศชาติได้ในอนาคต

ความมีน้ำใจที่ดีงาม รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งของผู้ที่เป็นนักกีฬา เพราะการแข่งขันย่อมมีแพ้ชนะซึ่งจะเห็นจากข่าวในการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ที่มีการโกง ไม่เคารพกติกา หรือกีฬาแพ้คนไม่แพ้ยกพวกตีกัน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่คุณสมบัติของนักกีฬาเลยกลับเป็นพวกที่ทำลายวงการกีฬา ดังนั้นผู้ที่เป็นนักกีฬาที่รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักให้อภัยนั้นจึงเป็นผู้ที่มีจิตใจงาม เพราะไม่ได้ลุ่มหลงในชัยชนะจนทำให้เกิดความโลภ หรือไม่พอใจจนเกิดโทสะ คือมีจิตคิดร้าย ทำอันตรายต่อผู้อื่น ดังนั้นนักกีฬาจึงต้องฝึกฝนอบรมจิตใจให้ดีงามเพื่อที่จะต่อสู้กับความโลภและความโกรธ ซึ่งเป็นศัตรูตัวสำคัญของการกีฬา สมาธินั้นก็คือ เครื่องมือที่สำคัญที่จะนำมาใช้ ร่วมไปกับการฝึกวิ่ง เพื่อจิตใจของนักวิ่งที่มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหวในอารมย์ต่าง ๆ จะมีผลทำให้ความสามารถในการวิ่งดีขึ้น

 

การทำสมาธิคืออะไร

การทำสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว

การทำสมาธิมีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

การทำสมาธิมี 2 ประเภท คือ

1. สัมมาสมาธิ เป็นสามธิในทางที่ถูก คือ ต้องมี เจตนา ในการทำสมาธิ เพื่อละความชั่ว ในจิตออกไปชั่วขณะ และสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ชั่วขณะ

2.มิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิในทางที่ผิด คือ มี เจตนา ในการทำสมาธิ ด้วย โลภะ โทสะ แลโมหะ

2.1 โลภะ คือ หวังผลต่าง ๆ ที่คิดว่าเกิดขึ้นจากการทำสมาธิ เช่น อยากได้อิทธิฤทธิ์ อยากเห็นสิ่งต่าง ๆ อยากได้กุศลมาก ๆ อยากเรียนเก่ง เป็นต้น

2.2 โทสะ คือ มีจิตคิดร้ายต่อผู้อื่น เช่น ทำพิธีกรรมไสยศาสตร์ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น

2.3 โมหะ คือ ความหลง เช่น การทำสมาธิที่ทำใจให้เฉย ๆ ไม่รับรู้อารมย์ใดทั้งหมด ไม่มีการรับรู้ตามสภาวะความจริงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น หรือเป็นการทำสมาธิด้วยความงมงายปราศจากเหตุและผล

การทำ มิฉาสมาธิ เหล่านี้ เป็นการ สร้างความชั่วให้เกิดขึ้น

ทำไมจึงต้องทำสมาธิ

    1. เพื่อละความชั่วในจิตใจออกไปชั่วขณะทำให้จิตใจมั่นคง สงบเยือกเย็น แจ่มใส ไม่ฟุ้งซ่าน

    2. ทำให้ร่างกายคลายความตึงเครียด

    3. เป็นการสร้างกุศลอย่างหนึ่งในพุทธศาสนา

เราจะทำสมาธิให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

การทำสมาธิมีอยู่หลายวิธี วิธีหนึ่งก็คือ “อานาปนสติสมาธิ” หมายถึง การใช้ลมหายใจเป็นอารมณ์ในการทำสมาธิ ได้แก่ การระลึกรู้ลมหายใจที่ผ่านเข้าออกที่บริเวณจมูก ตรงจุดของลมกระทบเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

ขั้นเตรียมตัวก่อนทำสมาธิ

    1. นั่งในท่าที่สบาย ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนได้พัก

    2. ละทิ้งความกังวลใด ๆ ชั่วขณะ

    3. สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ

    4. ต้องมีความ เชื่อว่าบุญบาปมีจริง

    5. เราทำการอย่างไร ก็ได้รับผลอย่างนั้น

      1. ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว

      2. ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี

      3. การที่เราได้รับความทุกข์ ทางกายและใจเป็นเพราะเรได้ทำความชั่วมาแล้วในอดีตนั่นเอง

5. ต้องมีความ อดทน ต่ออุปสรรคต่าง ๆ ได้แก่

  5.1 อดทนต่อความทุกข์ยาก ลำบากต่าง ๆ เช่น อากาศร้อน มีเสียงรบกวน ฯลฯ   

  5.2 อดทนต่อความทุกข์เวทนาที่กำลังได้รับอยู่ เช่น ปวดศรีษะ หรือมีอาการไม่สบายเป็นต้น

  5.3 อดทนต่อความเย้ายวนด้วยกิเลสตันหา เช่น อยากนอน อยากดูโทรทัศน์ อยากสูบบุหรี่ มีจิตใจฟุ้งซ่าน และมีจิตใจเศร้าหมอง

6. ต้องสร้าง อิทธิบาท 4 ให้เกิดขึ้น คือ

    1. มีความ พอใจ ที่จะฝึกจิตของเราให้สงบ

    2. มีความ พากเพียร ที่จะประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องสม่ำเสมอ

   3.    มี จิตใจจดจ่อ อยู่ในการระลึกรู้ลมหายใจ เข้า – ออก แต่เพียงสิ่งเดียว ไม่ซัดส่ายไปทางใด
   4 .    ก่อนที่ประพฤติ ปฏิบัติจะต้องใช้ ปัญญาพิจารณา กลั่นกรองด้วยเหตุด้วยผล อันถูกต้อง

             

                 ( จากหนังสือ บาดเจ็บจากการวิ่ง )

 

                  ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค.44<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>