<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_clydesdale_by_grit.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> นักวิ่งใหญ่_grit

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค.49<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

Clydesdale

นักวิ่งใหญ่

moki (วิทยา) - รูปร่างสูงใหญ่กว่าฝรั่งซะอีก

 

โดย   กฤตย์  ทองคง

 

               Clydesdale   (ไคลเดสเดล)               คำนี้เป็นคำเรียกนักวิ่งผู้มีเรือนร่างใหญ่และมีน้ำหนักมากโดยเฉพาะ  หรืออาจจะเรียกเป็น  Clydesdale Runners  ก็ได้    แต่ไม่ใช่เรียกคนอ้วนหรือนักวิ่งอ้วนนะครับ  คำนี้จัดไว้สำหรับผู้ที่มีเรือนร่างสูงใหญ่  ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมบ่งชี้ว่าใหญ่กว่าคนทั่วไป  สังเกตว่าต่างจากนักวิ่งอ้วนก็คือ  พวกนี้มักไม่มีหน้าท้อง  แต่คนอ้วนมี  ดังนั้นพวกเขาจะมีกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆที่ต้องใหญ่ตามตัวไปด้วย

                มีความเป็นจริงว่า  ในกิจกรรมที่ต้องออกแรงต่างๆ  ใครผู้มีน้ำหนักมากเท่าไร  ก็ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นเท่านั้น  ในขณะที่จะได้เนื้องานเท่ากับผู้ที่มีเรือนร่างเบา  หรือเพื่อให้ได้เนื้องานที่มีมากกว่า  เขาก็ต้องออกแรงหนักเป็นทวีคูณ

                นักวิ่ง  Clydesdale  เท่าที่ทราบ เริ่มมาจาก  อเมริกา  ที่มีฝรั่งตัวใหญ่ๆเยอะ โดยธรรมชาติอยู่แล้ว  และนักวิ่งใหญ่จำนวนไม่น้อย ก็มาจากนักฟุตบอลหมวกเหล็ก ที่คาดหวังว่าจะมาเอาคุณประโยชน์จากการวิ่งด้าน  Aerobic endurance  เอาไปใช้งานบนสนามหญ้า  Super Bowl    และยังมีอดีตนักฟุตบอลหมวกเหล็กที่เกษียณบอลตามอายุแล้ว  แต่ต้องการรักษาภาวะร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงต่อไปจึงมาวิ่ง

                พวก  Clydes  เหล่านี้มีจำนวนมากพอสมควร และถ้าจะนับรวม  พวกที่กำลังจะจัดเข้ากลุ่ม ดิวิชั่น นี้  โดยมีน้ำหนักเริ่มคาบเกี่ยวในระยะต้นๆของ  Clydesdale  นับวันมีสถิติที่ชี้ว่ามากขึ้นทุกทีเช่นกัน 

               จนต่อมามีความพยายามผลักดันให้ผู้จัดวิ่ง  (Race directors)  ทั้งหลายในสนามแข่งจัดกลุ่มแยกออกเป็นพิเศษต่างหากออกมาจากนักวิ่งทั่วไป  ที่เคยแบ่งตามอายุ  มาเป็นแบ่งตามรุ่นน้ำหนัก  ที่บ้านเราเคยเห็นจัดในค่ายของ จ็อกแอนด์จอย ของคุณสายัณห์เป็นเจ้าแรกและ ณ บัดนี้ก็ยังต้องถือว่าเป็นเจ้าเดียวอยู่ดี  เพราะตราบที่ยังเขียนอยู่นี้ก็ยังไม่เคยเห็นสนามอื่นจัดแยกน้ำหนักอีกเลย

                การที่คนหนึ่งจะได้ถ้วยรางวัล  โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับความเพียรฝึกฝนที่เป็นคุณสมบัติที่นักวิ่งแสวงหามาด้วยเจตจำนงและวินัย  ไม่ใช่มาจากจุดเด่นหรือข้อจำกัดตามธรรมชาติที่เกิดมาเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว  ด้วยเหตุอย่างนี้เอง  จึงมีการแบ่งกลุ่มประเภทผู้หญิง , ล้อเลื่อน และนักวิ่งตัวใหญ่โดยเฉพาะ  ด้วยว่าการเกิดมาใหญ่โตมีน้ำหนักมาก  เป็นสิ่งที่เหลือวิสัยที่นักวิ่งเลือกได้ด้วยใจสมัคร

                ณ ปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีความคิดใหม่ที่น่าสนใจกว่า  ในการแบ่งกลุ่ม  Clydesdale  ออกมาจากกลุ่มนักวิ่งอ้วน  ที่ยังใช้เกณฑ์ปะปนกันอยู่คือ  วินิจฉัยจัดแบ่งกลุ่มย่อยที่ใช้น้ำหนักตัวเป็นสิ่งตัดสิน  ที่ถ้าจะว่าไปตามที่เป็นจริงส่วนมากแล้วนักวิ่งอ้วนแทบจะไม่มีทางชนะพวก  Clydesdale  บางรายที่ฝึกปรือมาดี  อาจจะมีฝีเท้าวิ่งไล่รดต้นคอแนวหน้าผอมๆได้เหมือนกัน

                คำว่า  “Clydesdale”  ถูกเรียกใช้ในสมัยแรกๆ เมื่อราวปี 1986  โดยนักกายวิภาคออกกำลังกาย  Joe  Law  เป็นคนแรก  ในครั้งนั้นเขาเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม  Clydesdale  ในระดับชาติและจัดให้มีวารสารจำเพาะสำหรับนักวิ่งใหญ่พวกนี้  และโลกก็ได้ยินคำ  Clydesdale  ในความหมายนี้ก็จาก  Newsletter  นี้เอง  และการที่ผู้จัดทั้งหลาย (บางสนาม)  จัดให้มีกลุ่มผู้เข้าแข่งขันตามน้ำหนัก  ก็ถือว่ามาจากการผลักดันของกลุ่มนี้อีกเช่นกัน

                แต่ศูนย์กลางของกิจกรรมของพวก  Clydesdale  น่าจะอยู่ที่ชิคาโก อันเป็นที่ตั้งของชมรมนักวิ่งใหญ่ คือ   The Chicago Area Runners Association (CARA)   ที่ถือกำเนิดจากความพยายามปลุกปั้นจนสำเร็จของ  Buck  Hales  ผู้เป็นตัวตั้งตัวตี  ที่แกเป็นนักบอลหมวกเหล็กนั่นแหละมีน้ำหนักถึง 200 ปอนด์ทีเดียว

                ความแพร่หลายของพวก  Clydesdale  ก็มีพอสมควรจนกระทั่งสามารถยกระดับการจัดแข่งที่เป็นพิเศษต่างหากได้  โดยผู้สมัครเข้าวิ่งได้ต้องมีคุณสมบัติที่จำเพาะลงไปที่ต้องเข้าเกณฑ์ควอลิฟายด์ มีน้ำหนัก 190 ปอนด์ (ชาย)  และ 140 ปอนด์ (หญิง)  (โลนึงมีราว 2.2 ปอนด์)  เช่นงานวิ่ง  5 Miles in Somerville, Mass.

                ที่นี่ยังมีกฎแผลงๆด้วย คือ  ระหว่าง แข่ง 5 ไมล์นั้น (8 ก.ม.)  ผู้แข่งขันจะต้องกินฮอตด็อกชิ้นใหญ่ 1 ชิ้น และเบียร์อีก 1 เหยือก ในจุดให้น้ำ 3 จุดให้ครบจำนวน  ถ้าทำไม่ได้ถือว่า ผิดกติกา   ว่าไปโน่น

                ความเคลื่อนไหวและการเติบโตของกลุ่ม  Clydesdale  เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างเนิบๆ แต่สม่ำเสมอ  ตามจำนวนฮอตด็อกและเบียร์ที่เพิ่มเข้าไปและเริ่มเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจนก็ในปีต้นๆของยุค 1990  เห็นได้จากสนามแข่งระดับประเทศ (อเมริกา) เริ่มเพิ่มบรรจุประเภทการแข่งขันสำหรับพวก  Clydesdale  เข้าไปหลายสนาม เช่น  BIG  SUR (สนามวิ่งที่สวยที่สุดในโลก) , Marine Corps Marathon , The Tulsa Run  และ  The Mount Washington Road Race.  เป็นต้น

                ปัจจุบันมี  Web Site  สำหรับคนพวกนี้ ไว้สนทนาแลกเปลี่ยนอภิปรายกันจำเพาะ คือ   กลุ่ม  The Clydesdale Virtual Runners Team (CVRT)     นำขบวนโดย  Tim  Bergstresser ที่    http : // orik.com/cvrt   แม้การเริ่มต้นจะเป็นการรวมตัวของสมาชิกแค่ 30 คน  แต่ปัจจุบันบัญชีรายนามสมาชิกเพิ่มเป็นหลายร้อยคนแล้วจากรอบโลกที่พูดกันในขอบข่ายเรื่องคำแนะนำสำหรับพวกเขา  เรื่องราวแรงบันดาลใจ , ข่าวสารวงการวิ่งของ Clydesdale  ต่างๆ     Doug  Mitchell , สมาชิก  Clydes  รายหนึ่งถึงกับบรรยายว่า  “The mental-energy requirement of being big are greater than the physical ones.  It’s something that people who have the stereotypical  “Runner’s body” can’t understand.”     นักวิ่งไทยร่างใหญ่ผู้สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้แตกฉาน  น่าจะลองคลิกเข้าไปแลกเปลี่ยนดูนะครับ 

               อย่างเป็นที่ทราบกัน  ยิ่งพวก  Clydesdale  มีน้ำหนักมากเท่าไร  ก็ยิ่งต้องมีปัญหาจากการวิ่งมากเท่านั้น  ในแต่ละก้าวที่กระทบพื้นจะได้น้ำหนัก  Triple  3 เท่าของน้ำหนักตัว  ที่แม้พวก  Clydesdale  จะตระหนักในความหนักหนาประการนี้ดี  จึงไม่วิ่งเร็ว และพยายามให้ไปด้วยความเนิบช้าเพื่อลดแรงกระแทก  แต่ก็ทำได้ไม่น่าจะน้อยกว่า  Double  2 เท่า  ถ้าใครที่มีน้ำหนัก 140 ปอนด์ วิ่งช้า  แรงกระแทกจะเป็น 280 ปอนด์ และใครที่น้ำหนัก 210 ปอนด์ก็จะมีผลกระทบที่ 420 ปอนด์  นี่เป็นอัตราต่อก้าวนะครับ  ก็นับว่าหนักหนาพอดู

                นี่เป็นเรื่องที่พวก  Clydesdale  สมควรจะมีข้อควรระวังที่มากกว่านักวิ่งปกติ เช่น  ความเข้มจากการฝึกและแข่งที่จำต้องเป็นยุทธวิธีที่ซีเรียสมากกว่าคนผอมเยอะมาก

 

 ต่อไปนี้เป็นการประมวลผลเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติตัวของนักวิ่งใหญ่  Clydesdale

 

1)  จงโมดิฟายด์แผนฝึกให้เหมาะกับตัวเอง

               ที่เหมือนกับนักวิ่งปกติ  ที่มีการฝึกที่พัฒนาร่างกายที่ประกอบไปด้วย  คอร์ท , เขา , ยาว , สด ต่างๆแต่ที่แตกต่างออกไปก็คือ  ข้อควรระวังเพิ่มขึ้นในเรื่องการเพิ่มความเข้มข้นของแผนการฝึกที่ถ้าเพิ่มเร็วเกินไป ก็จะเจ็บง่ายกว่า  (Too Soon) 

 

               Keith  Stone  หนึ่งใน  Clydes  ที่เป็นโค้ชให้กับพวกเดียวกันเอง กล่าวว่า  เขาใช้แผนฝึก 3 เดือนระยะมาราธอนของคนปกติมาขยายเพิ่มเป็น 4 เดือนสำหรับสมาชิก

 

               Stan  James  M.D.  แพทย์  Orthopedic Surgene  จาก  Eugene , Oregon  แนะนำให้ช้าเข้าไว้  เพื่อเอื้อให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อต่างๆพัฒนารับมือกับความเข้มที่เพิ่มเข้ามาทีละน้อยได้  โดยเตือนพวก  Clydesdale  ให้คำนึงถึงกฏ  “Too  Rule”  ระหว่างการฝึก ก็คือ     Don’t run too much , too fast ,  too hard , too long  or too frequently.

 

2)  เล่น  Weight-training  อย่างรอบคอบ

               เพราะปัญหาของน้ำหนักตัวนี่เอง  ทำให้นักวิ่งต้องเบาไว้เสมอ  ตามคำแนะนำข้อที่ 1 ดังนั้นจึงสมควรใช้  Weight-training  ช่วยเพิ่มระดับความฟิตและลดแรงกระแทก  ซึ่งพวกเครื่องมือในโรงยิมเหล่านี้หลายตัว  จะเอื้อต่อการเติบโตกล้ามเนื้อส่วนบนง่ายมาก  ทำให้ยิ่งดูใหญ่เข้าไปอีก  ต้องพิจารณาให้ดี  ว่าจะเล่นเครื่องไหนที่เข้าท่ากว่ากัน

 

               Bob  Talamini  ผู้ฝึกสอนประจำโรงยิม ใน ฮุสตัน , เท็กซัส  รู้ความเสี่ยงข้อนี้ดี  เพราะมี  Clydesdale  หลายคนมาใช้บริการอยู่  เขามักจะแนะนำไม่ให้พวกนี้โหมฝึกเครื่องออกกำลังเหล่านี้มากเกินไป  อย่างมากก็แค่ปานกลาง  ประมาณ ระดับ 6 หรือ 7  ในสเกล 1-10    นี่คือถือว่า  ไม่ควรให้หนักไปกว่านี้  จะเอาแบบนักวิ่งซีเรียสรันเนอร์  ที่อยู่ในโรงยิมเล่นเครื่องต่อเนื่องนานครั้งละ 1-2 ช.ม. ไม่ได้เป็นอันขาด

 

3)  เรื่องอาหารการกิน

               Alice  Lindeman  R.D. : Ph.d    นักโภชนาการการกีฬากล่าวว่า  “จุดอ่อนของพวก  Clydesdale  คิดกับเรื่องอาหารของเขาก็คือ  กินให้น้อยเข้าไว้  ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง  เพราะพวกเขาเป็นเจ้าของเรือนร่างที่ออกกำลังกาย  ต้องการสารอาหารจำนวนมากเพื่อไปตอบสนองและให้กำลังงานกับอวัยวะต่างๆให้ทำงานโดยราบรื่น  โดยเฉพาะ  Clydesdal  เพื่อการแข่งขัน  จะปล่อยให้อดไม่ได้เลย  แต่อัตราเรโชระหว่างหมวดหมู่อาหารชนิดต่างๆ  จะใช้อัตราเดียวกันกับนักวิ่งปกติ

 

4)  เรื่องการดื่ม

               Lindeman  ยังกล่าวในเรื่องดื่มอีกว่า  โดยปกติ  คนที่ฟิตกว่า  จะมีเหงื่อออกมากกว่าคนที่ไม่ฟิต  และคนตัวใหญ่จะมีเหงื่อมากกว่าคนตัวเล็ก  ดังนั้น พวก  Clydesdale  ที่ย่อมมีความฟิตมากกว่าพวกไม่ออกกำลัง (Sedentarian)  แน่นอนอยู่แล้ว  ย่อมต้องการน้ำดื่มหรือสปอร์ตดริ้งค์ที่มากเป็นพิเศษ  แต่จะให้ดื่มมากขนาดไหน  ยังไม่อยากจะระบุลงไป  เพราะตัวเลขที่มีอยู่มันเป็นความเหมาะสมของฝรั่งในเมืองที่ไม่ร้อนอบอ้าวอย่างบ้านเรา  แต่ขอเพียงให้รู้ว่า  ถ้ารู้ตัวว่าเป็นนักวิ่งใหญ่ ก็ให้ดื่มจนเพียงพอ  โดยสังเกตจากสีปัสสาวะ และให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในวันที่ร้อนจัด

 

5)  เรื่องรองเท้าวิ่ง

               ของตายอยู่แล้ว  ที่จะต้องเป็นรองเท้าวิ่งอย่างหนาๆ และสร้างความมั่นคงให้กับผู้สวมใส่  เป็นรองเท้าที่ตรงกันข้ามกับรองเท้าวิ่งแข่งสำหรับนักวิ่งผอมๆแนวหน้าเขาใส่กัน  ที่เป็น  Racing flate sneakers  นั่นห้ามใช้เลย

 

               เมื่อจะเลือกซื้อรองเท้า  ให้หงายพื้นขึ้นมา ให้สังเกตดูว่า อย่าให้ส่วนที่สัมผัสพื้นตรงกลางอุ้งเท้าแคบนักMid Sole  ให้เลือกแบบกว้างๆเข้าไว้

 

               แต่ปัจจุบันบริษัทใหญ่ๆเริ่มเห็น  Clydesdale  ที่มากขึ้นจึงผลิตจำเพาะสำหรับเท้าและรูปแบบการเคลื่อนไหวของร่างกายพวกนี้ออกขายแล้วแล้ว  ไม่หายากเหมือนสมัยก่อน  มีหลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ  และนอกจากนั้นให้เลือกพื้นส่วนที่เป็น  Mid sole  หนาๆ  คู่ที่จะยิ่งดี ควรมี  Post  ด้วย    (Post  เป็นส่วนหนึ่งของ  Mid sole  ที่มีความแข็งและยืดหยุ่นตัวที่น้อยกว่าพื้น  Mid sole  ส่วนอื่นอยู่เล็กน้อย  เพื่อให้เกิดความเสถียรภาพมั่นคงในการเคลื่อนไหว  เป็นการปกป้องเท้าไม่ให้ไหวยวบไปกับรูปแบบชีวกล   Bio-Machanical  ที่จะปรากฏให้เราเห็นอยู่ในตำแหน่งกลาง  Mid sole  ใต้ตาตุ่มด้านใน)  

 

6)  ควรเปลี่ยนรองเท้าวิ่งบ่อยๆ

               ชาวบ้านเขาใช้กันคู่ละ 500 ไมล์  แต่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องรองเท้าวิ่ง  George  LeCours  ,  ผู้ทำงานด้านรองเท้า  Clydesdale  โดยเฉพาะให้กับ  Saucony  แนะนำให้นักวิ่งใหญ่เปลี่ยนทุกๆ  300-400 ไมล์เท่านั้น  ส่วนที่เขาเน้นเป็นพิเศษคือส่วนที่เป็น  Mid sole  นี่แหละที่จะหมดอายุเร็วกว่าส่วนอื่นๆ

 

               ลางบอกรองเท้าวิ่งที่เริ่มจะมีปัญหาก็คือ  ตอนที่วิ่งไปแล้วเหยียบกรวด  ผู้วิ่งเริ่มจับสังเกตได้ว่าเริ่มจะชัดเจนขึ้นกว่าเมื่อสมัยเพิ่งซื้อมา  ที่การใส่วิ่งอยู่ทุกวันกับความช่างสังเกต  ที่แต่ก่อนไม่รู้สึกอะไรเลยจะช่วยได้  ส่วนยางแผ่นดำที่สัมผัสกับพื้นถนนมีอาการคล้ายเปราะ แตก และฉีกขาดง่าย  และหลุดแยกออกจาก  Mid sole ถ้าเป็นอย่างนี้ควรเปลี่ยนได้แล้ว

 

7)  ทาน้ำมันจุดเสียดสี

               มีหลายจุด  เช่น หัวนม , ต้นขาด้านในหรือแม้กระทั่งรักแร้ที่จะเสียดสีกันเองในสภาวะสะสม  คือถูไปถูมาอยู่นั่นแล้วส่วนใหญ่เป็นการวิ่งระยะไกล  แต่สำหรับ  Clydesdale  จะเกิดแดงและแสบห้อเลือด  ในระยะทางที่สั้นกว่านักวิ่งปกติ  ดังนั้นพวกโลชั่นหรือวาสลีน  ควรได้จัดเตรียมซื้อหาไว้ใกล้มือ  เพื่อลดอาการหรือป้องกัน

 

8)  หาชุดใส่ที่สบายเข้าไว้

               ชุดวิ่งมีขายแต่ เบอร์ L เป็นส่วนใหญ่  เบอร์ XL หรือ  XXL  นั้นหายาก  ถ้าไม่ได้ขนาดกัน  ใส่แล้วจะดูโป๊  ต้องตัดพิเศษหรือหาซื้อหาฝากจากต่างประเทศ  หรือเลือกซื้อไว้ก่อนในสถานการณ์ที่หาได้  แม้จะยังไม่จำเป็น การได้ซื้อเก็บไว้  ก็เป็นทางเลือกที่ดี.

 

เวปไซท์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ  Clydesdale

 

The Somerville Road Runner’s Clydesdale Team in West Somerville , MA

www.srr.org/clydesdale.htm

 

Run Big Chicago Clydesdales     (เป็นกลุ่มย่อยของ  CARA  อีกที)

http://orik.com/runbig

  

12:00  น.

14  กันยายน  2548

Hoofin’It

Renee  Despres

R.W.  Aug  1998      p.62-9