<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_areerat_running.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> เดินประถม1กับถ้วย70ใบ

เดินจนได้ดี

 

โดย...น้องหนึ่ง-อารีรัตน์

 

“หนึ่ง” ค่ะ อารีรัตน์ ชวนเกษมวิวัฒน์  อายุ 29 ปี ตอนเด็กๆคิดว่าเป็นเด็กที่ค่อนข้างขี้เกียจมาก เพราะคุณแม่ขยันมากทำอะไรแทนให้เกือบหมด บ้านอยู่แถวศรีย่านเรียนที่โรงเรียนโยนออฟอาร์คตั้งแต่ชั้นประถมฯ 1 จนถึง มัธยมฯ 3 ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 3 ป้ายรถเมล์ แรกๆคิดว่าไกลก็เลยนั่งรถเมล์แต่ที่ไหนได้ รถเมล์จอดนานมากตรงแยกสุโขทัย กว่าจะผ่านแยกนั้นมาได้ก็ร่วมครึ่งชั่วโมง คุณพ่อซึ่งตามมาส่งตอนเช้า(เมื่อสมัยอยู่ชั้นประถม) เลยให้เดินดีกว่าแค่ 3 ป้ายรถเมล์เอง ใช้เวลาเดินไม่ถึง 20 นาที เดินทุกวันตั้งแต่ชั้นประถมฯ 1 ใหม่ๆก็ขี้เกียจอยู่บ้างแต่เดินจนชิน ขากลับก็เดินกลับ ดูเหมือนขี้เหนียวกับค่ารถ
แต่ดีกว่าขึ้นรถมากเลยคะ ได้เดินชมผ่านวังสุโขทัยซึ่งสมัยก่อนไม่สวยเท่าทุกวันนี้แต่ก็ร่มรื่นน่าเข้าไปชม ใครๆก็เข้าไปเดินเล่นได้ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้เสียแล้วคะ

 จนเข้าม.ปลายที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย แต่ก็ยังได้เดินอยู่ดี เพราะย้ายบ้านมาอยู่ที่แถวสำเหร่ ใกล้วงเวียนใหญ่ บ้านอยู่ในซอยห่างจากถนนราว 700 – 800 เมตร  สรุปคือ เดินมากจนชินแล้วชอบเดินเร็วๆแล้วห้ามเดินลากเท้านะคะ คุณพ่อจะดุทุกครั้งถ้าได้ยินเสียงเดินลากเท้า มี 2 เหตุผลคือ 

1.รองเท้าจะสึกเร็วกว่าที่ควรและ 

2. เป็นบุคลิกที่ไม่ดีค่ะ 

และที่โรงเรียนสามเสนฯ ก็มีการจัดเดิน-วิ่งที่สวนจตุจักรกับเขาเหมือนกัน สมัยตอนเป็นนักเรียนก็ถูกครูเกณฑ์ไปวิ่ง โดยใช้วิชาพลานามัยมาเป็นข้อบังคับว่า ทุกคนต้องไปร่วมวิ่งและต้องวิ่งให้ครบ 3 กิโลเมตร ได้เหรียญมาเป็นหลักฐานประกอบการให้คะแนนค่ะ ถ้าใครไม่ไปก็จะมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายที่ต่างจากคนอื่นๆที่ไปวิ่งมา คือ ให้วิ่งรอบโรงเรียน 5 – 6 รอบแทนคะ ทำท่า sit-up อีก 30 ที ซึ่งจัดกันทุกปีจนมีการเปลี่ยน ผอ.ใหม่นโยบายก็เปลี่ยน ไม่ได้จัดไปตั้งหลายปี หลังๆ มานี้พึ่งจะกลับมาจัดใหม่ ซึ่งหนึ่งก็จะไปทุกครั้งที่โรงเรียนจัดคะ

เริ่มวิ่งอย่างจริงจังตามงานวิ่งตอนปีที่ในหลวงครบ 5 รอบ งานแรกคือของโรงเรียนสามเสนแล้วไม่ได้วิ่งไปอีก 1 – 2 ปีได้ เพราะโรงเรียนไม่ได้จัด เริ่มวิ่งอีกทีเมื่องานวิ่งมสธ. จัดที่ถนนราชดำเนินนอก วิ่งจากพระรูปถึงสะพานซังฮี้เลี้ยวที่ถนนจรัญฯ ไปจนขึ้นสะพานปิ่นเกล้ากลับมาที่ถนนราชดำเนินนอก ซึ่งเป็นการวิ่ง 10 กิโลครั้งแรกใช้เวลาตั้งชั่วโมงครึ่งแนะ เดินบ้างวิ่งบ้าง และเริ่มหางานวิ่ง คิดว่าได้ทำบุญและได้วิ่งออกกำลังกายไปด้วย เพราะเวลามีงานวิ่งที่ไหน รู้สึกว่าคนที่อดอยากอยู่แถวๆนั้นพลอยจะได้ทานไปด้วย อย่างเช่นที่ สวนลุมฯ เป็นต้น แต่บางครั้งก็รู้สึกรำคาญอยู่บ้าง แต่ก็คิดว่าแบ่งกันอยู่จริงไหมคะ

รู้งานวิ่งก็จากโบรชัวร์เพียงอย่างเดียว ก็เลยได้วิ่งเพียงเดือนละ 1 – 2ครั้งเท่านั้น เกือบจะเลิกวิ่งตั้งหลายทีอยู่เหมือนกันคะ เพราะการไม่ได้ซ้อมแล้วอยู่ดีๆไปวิ่งเลยนั้น หลังวิ่งจะมีอาการเมื่อยอยู่ 2 – 3วันเชียวหละคะ เคยเมื่อยจนแทบทนไม่ได้เพราะอาการบางทีเหมือนคนหัดเดินยังไงอย่างนั้นเลย ใครที่ลงมาราธอนมาแล้วคงทราบอาการนั้นดีหละคะ แต่ก็ยังไม่เข็ดหรือกลัวแต่อย่างใด และก็ยังไม่ได้ซ้อมเลยเพราะแค่ช่วยงานที่บ้านก็แทบหมดเวลาไปแล้วเวลาที่พอมีเหลือก็ขอนอนเอาแรงดีกว่า5555

จนต้นปี 43 มีการวิ่งที่สม่ำเสมอมากขึ้น คือ ได้วิ่งบ่อยขึ้นทุกอาทิตย์ จนปลายปีก็เริ่มได้ถ้วยจากงานแรกที่ฝั่งธนฯจัดวิ่ง 5 กิโล ลงมาจากสะพานสาทรมาถึงที่ถนนข้างโรงเรียนศึกษานารี และเริ่มได้มาเรื่อยๆในปี44 และปี45 ได้ปีละ 27 ถ้วย จากการตระเวนวิ่งทุกอาทิตย์ คำนวณกันเอาเองเลยคะว่า 1ปีมีกี่อาทิตย์และบางสัปดาห์ก็วิ่งถึง 2 ครั้ง เพราะมีรายการพิเศษเพิ่มขึ้นมา เช่นงานวิ่งข้าวสารของ jog&joy , งานวิ่งวันวิสาขะ, งานวิ่งเที่ยงคืนของโรงแรมอมารีฯ, งานที่เขาจัดหลบงานที่จัดชนกันในวันอาทิตย์ เป็นต้น

ตอนนี้รวมแล้วก็ได้มา 70 กว่าใบแล้วคะ(นับจนถึงเดือนพ.ค.ปี46) นะคะ ส่วนใหญ่จะวิ่งแต่งานในกรุงเทพฯคะ แต่มีอยู่อาทิตย์ที่เขาจัดพัทยามาราธอนไม่มีงานวิ่งในกรุงเทพฯ อยากวิ่งแต่ไปค้างยังไม่ได้กลัวแม่เป็นห่วง ก็ตัดสินใจออกจากกรุงเทพฯตอนตี 2 เพื่อนั่งรถแท็กซี่ไป เหมาไปประมาณ 1100 บาท ขับช้ามากคะ ไปถึงที่แถวพัทยาก็เกือบตี 5 แล้ว เขาปล่อยนักวิ่งมาราธอนออกไปแล้วเริ่มปิดถนนทำให้รถโดยรอบติดเข้าไปช้ากว่าจะถึงที่สมัครก็เกือบไม่ได้วิ่ง ต้องวิ่งแหวกเด็กนักเรียนซึ่งเยอะจริงๆคะ พอปีถัดมาไม่ไหวแล้วคะ เลยต้องขอไปค้างดีกว่า เดินจากโรงแรมไปที่วิ่งสบายๆ และเริ่มออกต่างจังหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ไปหลายจังหวัดอันนี้ต้องขอขอบคุณพี่ๆที่กรมป่าไม้ฯ พี่ศิริชัย, ไฟฟ้านครหลวง พี่จรัญ, โรงพิมพ์แสงเทียน ของเฮียแสงชัย, ชมรมนางนวลบางปู เฮียฮ้อ, สมชายและเพื่อนๆ ที่รวมตัวกันมาร่วมก๊วนเดินทางได้อย่างดียิ่ง เดินทางถึงกรุงเทพฯอย่างปลอดภัยทุกครั้ง และได้ท่องเที่ยวตามสถานที่มากมายหลายแห่งอีกด้วยคะ

ส่วนเรื่องการฝึกซ้อมก็อย่างที่เคยบอกนะคะ ว่าไม่เคยไปซ้อมวิ่งที่ไหนกับใครเขาเลย อาจเป็นเพราะว่ามีการเดินมาก คล้ายกีฬาการเดินทนแต่ไม่ได้เดินบิดตัวขนาดนั้นหรอกนะคะ 5555 ต้องเดินไปซื้อของให้คุณแม่ค่อนข้างบ่อยมาก แต่หลังๆมานี้ น้องชายเริ่มมาช่วยมากขึ้นก็มีคนเดินแทน นั่งทำงานมากขึ้นเดินน้อยลงคะ แต่หลังจากเสร็จภาระกิจทุกอย่างในบ้านที่ต้องทำแล้ว ก็จะประมาณ 5 ทุ่ม หรือบางที ก็เที่ยงคืนกว่า จะมายืดเส้นยืดสาย โดยแอโรบิกเบาๆสัก 15 นาที และ โยคะอีกประมาณ 7– 8 ท่า ทำ sit-up อีก 5 ชุดๆละ 30 – 70 ครั้งคะ เริ่มใหม่ๆไม่มาก ขนาดนี้หรอกนะคะ โยคะก็คล้ายๆกับท่าในวิชายืดหยุ่นที่เราเคยเรียนเมื่อสมัยมัธยมฯก็ยังสามารถทำได้อยู่ ส่วน sit-up นั้นเริ่มจากทีละ 10 คะ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 30 ครั้งไม่เหนื่อยแล้วก็ค่อยปรับเพิ่มเป็น 40 ครั้ง ทำมาหลายปีจนตอนนี้ก็ทำไปได้สูงสุดที่ 70 ครั้ง แล้วต้องออกเป็นเซ็ทคะ เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องของเรามี 5 ส่วน คือด้านบน, กลาง(พุง), ล่าง, ด้านข้างซ้ายและขวาคะ นับแล้วก็ทำวันละประมาณ 290 ครั้งเอง ดูมากแต่ไม่เบื่อเพราะได้ออกทั้ง 5 ส่วนเลยคะ จะลองจำไปหัดดูบ้างก็ไม่ว่ากันคะ 

ท่าแรก ก็เบสิกเลยคะ ที่เคยเห็นกันนั่นหละคะ คือ นอนราบกับพื้นแล้วชันเข่าขึ้นเท้าทั้งสองติดพื้นนะคะ มือทั้ง 2 ประสานไว้ที่หลังศีรษะหรือจะแนบลำตัวก็ได้ พยายามยกตัวขึ้นมาชนกับเข่า นับเป็น 1 ครั้งคะ ลองเริ่มที่ 10 ครั้งดูก่อนก็ได้นะคะ ถ้า 10 ไม่เหนื่อยก็ค่อยเพิ่มทีหลังคะ แล้วทำท่าต่อไปนะคะ 

ท่าที่ 2 คือ นอนราบ แล้วงอเข่าทั้ง 2 ข้างพับไปทางด้านซ้าย เป็นเข่าข้างขวาทับข้างซ้ายคล้ายท่านั่งพับเพียบคะแต่เรานอนอยู่ มือทั้ง 2 แนบข้างลำตัว และพยายามยกตัวขึ้นมานั่งและลงไปนอน นับเป็น 1 ครั้งคะ 

ท่าที่ 3 คือ นอนราบแล้วงอเข่าทั้ง 2 ข้างพับไปทางด้านขวา เป็นเข่าข้างซ้ายทับข้างขวาคล้ายท่านั่งพับเพียบคะแต่เรานอนอยู่ มือทั้ง 2 แนบข้างลำตัว และพยายามยกตัวขึ้นมานั่งและลงไปนอน นับเป็น 1 ครั้งคะ 

ท่าที่ 4 คือ นอนราบกับพื้นเหมือนกับท่าแรก มือทั้ง 2 ประสานไว้ที่หลังศีรษะ แต่ตอนยกตัวขึ้นไม่ต้องขึ้นมาจนถึงถึงหัวเข่า เพียงยกศีรษะและหัวไหล่ให้พ้นจากพื้นมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และวางศีรษะลงนับเป็น 1 ครั้ง ท่านี้จะช่วยในกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนบนได้มากเลยคะ 

ท่าที่ 5 คือ นอนราบกับพื้นแต่ขายกตั้งขนานกับพื้น มือทั้ง 2 ประสานไว้ที่หลังศีรษะ ยกศีรษะและหัวไหล่ขึ้นมากที่สุดเท่าที่ทำได้และวางศีรษะลงนับเป็น 1 ครั้ง ท่านี้ช่วยในกล้ามเนื้อส่วนล่างคะ สองท่าสุดท้าย ถ้าไม่เคยทำจะรู้สึกเหนื่อยมากคะ ค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งนะคะ อย่าใจร้อน เคล็ดลับของหนึ่งก็มีเท่านี้เองคะ ไม่ได้ออกไปซ้อมที่ไหนจริงๆคะ พอวันอาทิตย์ก็ลงสนามวิ่งได้เลย ไม่เคยวอร์ม เพราะใช้วิ่งไปวอร์มไปเหนื่อยก็ผ่อนลงไม่เดินเลยคะ แต่เมื่อวิ่ง 10 กิโลครั้งแรกนั้นก็มีอาการเมื่อยอย่างเช่นที่พี่ๆหลายคนคงเคยเป็น แต่ 2 –3 วันก็หายคะ

เมื่อ 6 ปีก่อนโน้น การประชาสัมพันธ์ของงานวิ่งไม่มากเท่าเดี๋ยวนี้  ก็เลยวิ่งได้แค่เดือนละ 1 – 2 งาน ตั้งแต่ปี 43 จนถึงปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์ที่มากขึ้นและเกิดเวปไทยรันนิ่งของเราทำให้ทราบข่าวสารได้ง่ายมากขึ้นก็เลยได้วิ่งทุกอาทิตย์สมใจไปเลย
บางอาทิตย์ก็มีการจัดในวันเสาร์ด้วยหนึ่งก็ไปคะ และเมื่อล่าสุดวันจันทร์ที่ 7 เมษายนที่อุบลฯพวกเราก็พึ่งไปกันมา ได้วิ่งทั้ง 2 วัน ก็ยังวิ่งได้ ดีใจจัง55555  แม่ยังบ่นจนทุกวันนี้เลยคะว่าซ้อมก็ไม่ได้ไปซ้อม กลัวว่าหนึ่งจะเป็นอะไรไปแล้วจะ….เดินไม่ได้นะสิ ฮิ ฮิ ได้ทั้งวิ่งและเที่ยว แถมได้เพื่อนร่วมก๊วนรู้ใจกันอีกมากมาย หลายสาขาอาชีพดีคะ ขอบคุณวงการวิ่งที่ทำให้พวกเราได้มาเจอกันรู้จักกันคะ ขอให้วงการวิ่งได้อยู่คู่เมืองไทยไปนานแสนนานนะคะ และ เวปไทยรันนิ่งก็เช่นกันคะ 

 


 

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่24 มิ.ย.46<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>