ผู้อ่านหลาย ๆ ท่านอาจมีอายุเกิน 60 ปีไปแล้ว บางท่านก็ยังไม่ถึง 60 ปี แต่กฏแห่งความจริงเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น สักวันหนึ่งทุกคนก็ต้องมีอายุถึง 60 ปี ถ้าไม่รีบด่วนจากไปเสียก่อน พอเรามีอายุ 60 ปีขึ้นไปสภาพร่างกายก็ถึงจุดที่เริ่ม มีความเสื่อมโทรมมาก ร่างกายไม่กระฉับกระเฉงเหมือนตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว ผิวหนังเริ่มเหี่ยว ระบบประสาทเริ่มเสื่อม การตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้าลง การประสานสัมพันธ์ระหว่างสมองกับกล้ามเนื้อลดลง สายตาเริ่มเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว ประสาทในการรับฟังก็เช่นเดียวกันก็เริ่มที่จะทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ระบบย่อยอาหารเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เพราะการย่อย เริ่มทำงานแย่ลง กระดูกก็เริ่มที่จะเปราะบางขึ้น กล้ามเนื้อลดความแข็งแรงและที่สำคัญหัวใจกับปอดเริ่มเสื่อม สภาพลง เมื่อเราทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นก็จำเป็นต้องมีความระมัดระวังเกี่ยวกับร่างกาย ในขณะที่มี อายุเพิ่มมากขึ้น เช่นรู้ว่าระบบประสาทเสื่อมลง ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่เล่นกีฬาที่ต้องเร่งรีบหรือกีฬาที่ต้องใช้ความว่องไวสูง เช่นแบดมินตัน เทนนิส แต่ถ้าเล่นกับผู้เล่นที่อยู่ในวัยเดียวกันก็อาจเล่นได้ แต่ควรเล่นเพื่อความสนุกสนาน ไม่ใช่แข่งขันกัน หรือเมื่อรู้ว่ากระดูกและกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพลงมากแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงกีฬาประเภทที่ต้องใช้แรงปะทะ เช่น รักบี้ ฟุตบอล ฯลฯ
มาถึงบรรทัดนี้ผู้อ่านก็คงสงสัยว่ากีฬาชนิดนั้นก็ห้ามไม่ให้เล่นชนิดนี้ก็บอกว่าเล่นไม่ได้ แล้วจะเล่นกีฬาอะไรดี ผู้เขียนอยาก จะเรียนชี้แจงว่า เมื่อคนเรามีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป จุดมุ่งหมายหลักของการออกกำลังกายก็คือ ทำให้ร่างกายมีสุขภาพดีขึ้น ไม่ใช่ ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อการแข่งขัน เมื่อสุขภาพร่างกายดีก็จะช่วยชลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ทำให้สนุกสนาน เพลิดเพลิน ที่สำคัญคือทำให้ดูแก่ช้าลง คนอายุ 60 ปีเท่ากันถ้าคนหนึ่งออกกำลังกายสม่ำเสมอและอีกคนหนึ่งไม่ออกกำลังกาย หรือไม่เคย ออกกำลังกาย ถ้ามายืนใกล้กันจะเห็นได้ชัดเจนว่า คนที่ออกกำลังกายจะดูหนุ่มกว่าอย่างน้อยถึง 5 ปีทีเดียว
ฉะนั้นการออกกำลังกายอะไรที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุก็คือการออกกำลังกายแบบ แอโรบิค นั่นเอง ซึ่ง การออกกำลังกายแบบแอโรบิคได้แก่ การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ การว่ายน้ำ และการขี่จักรยานอยู่กับที่เป็นต้น
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยปรับปรุงระบบ การไหลเวียนของโลหิตอันประกอบไปด้วย หัวใจ ปอด และหลอดเลือด ช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ช่วยลดโคเลสเตอรอลไม่ดีในเลือด และช่วยเพิ่มโคเลสเตอรอลดีในเลือด
ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงมีทั้ง
โคเลสเตอรอลไม่ดี และ โคเลสเตอรอลดี คืออย่างนี้ครับ
โคเรสเตอรอลประเภทไม่ดี
คือโคเลสเตอรอลประเภท LDL (Low Density Lipoprotein ) และ VLDL (Very Low Density Lipoprotein) ถ้าในเลือดมี
LDL และ VLDL มากไป
ก็จะทำให้ร่างกายมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น
ทั้ง LDL และ VLDL
เกิดขึ้นเนื่องมาจากการรับประทานอาหาร
ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก
และการที่ร่างกายมีอารมณ์เครียดบ่อย
ๆ
โคเรสเตอรอลประเภทดี
คือโคเลสเตอรอลที่เรียกว่า HDL (High Density Lipoprotein)
เกิดขึ้นได้เนื่องจากการออกกำลังกาย
แบบแอโรบิค ถ้าจำนวน HDL ในเลือดสูง
โอกาสในการเป็นโรคหัวใจก็จะน้อยลง อย่างไรก็ดีไม่ใช่ว่าผู้สูงอายุคิดอยากจะออกกำลังกาย
ก็จะเริ่ม ออกกำลังกายได้ทันที
วิธีที่ดีที่สุดคือ
ควรที่จะมีการตรวจร่างกายก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย
เพราะคนเราพอมีอายุมากขึ้นมักจะมี
โรคภัยไข้เจ็บซ่อนเร้นอยู่ เช่น
โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
และโรคเบาหวาน เป็นต้น
เมื่อทราบว่ามีโรคภัยไข้เจ็บแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะออกกำลังกายไม่ได้
ได้ครับ !
แต่ต้องออกกำลังกายภายใต้การดูแลและ
คำแนะนำของแพทย์
ไม่ว่าจะมีโรคภัยไข้เจ็บหรือไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
สิ่งที่ควรกระทำนั่นคือ
ควรมีการตรวจหาสมรรถภาพทางกาย
เสียก่อน
ตรวจไปทำไม ?
ตรวจเพื่อที่จะได้รู้ว่า
ตัวเองมีสมรรถภาพทางกายมากน้อยเพียงใด
แพทย์จะได้กำหนดโปรแกรม
การออกกำลังกายที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน
ทำให้สบายใจเวลาออกกำลังกาย
ไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดอันตราย
ในขณะออกกำลังกาย
โรงพยาบาลเกือบทุกแห่งมักจะมีบริการแบบนี้
ราคาไม่แพงอย่างที่คิด
โดยทั่วไปแล้วการออกกำลังกายแบบแอโรบิคมีหลักการออกกำลังกายหลายประการ ดังนี้ครับ
ประการแรก
ก็คือความหนักของการออกกำลังกาย โดยปกติตามทฤษฎีแล้วถ้าเป็นผู้ที่มีอายุมากจนเกินไปและออกกำลังกาย มาอย่างสม่ำเสมอควรเริ่มออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 60 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของแต่ละบุคคล และไม่ควรเกิน ร้อยละ 85 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของแต่ละบุคคล แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุก็อาจจะเริ่มออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 55 ของอัตรา การเต้นหัวใจสูงสุด และไม่ควรเกินร้อยละ 80 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด อย่างไรก็ดี ความหนักของงานอาจจะเปลี่ยนแปลง ไปตามระดับสมรรถภาพของแต่ละบุคคล ฉะนั้นผู้สูงอายุที่ผ่านการตรวจสมรรถภาพทางกายจากแพทย์ อาจจะถูกห้ามไม่ให้ออกกำลัง กายเกินกว่าร้อยละ 70-75 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดก็ได้ เนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากการออกกำลังกายได้ ถ้าออกกำลังกาย มากกว่าระดับนี้ ซึ่งโปรแกรมการออกกำลังกายก็ขึ้นอยู่กับผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายนั่นเองโดยปกติ ปัจจุบันการคำนวณหาค่าร้อยละของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดมักจะหาจากสูตรของ คาร์โวเน็น (Karvonen Principle)
เป้าหมายอัตราการเต้นหัวใจ |
= อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก |
+ จำนวนร้อยละของอัตราการเต้นหัวใจ สูงสุดที่ออกกำลังกาย | |
x (220 อายุ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก) |
ตัวอย่าง เช่น ผู้สูงอายุคนหนึ่งอายุ 70 ปี ต้องออกกำลังกายจนถึงอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดร้อยละ 60 โดยสามารถวัดอัตรา การเต้นของหัวใจขณะพักได้ 80 ครั้งต่อนาที อยากทราบว่าผู้สูงอายุคนนี้ควรออกกำลังกายจนถึงอัตราการเต้นของหัวใจเท่าไร ? |
เป้าหมายชีพจรในการออกกำลังกาย |
= 80 + 60 % (220 70 80) |
|
= 80 + 42 |
|
= 122 ครั้งต่อนาที |
คำตอบก็คือผู้สูงอายุคนนี้ควรออกกำลังกายจนมีอัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับ 122 ครั้งต่อนาที |
ประการที่สอง ก็คือ ความบ่อยหรือความถี่ในการออกกำลังกาย ในช่วงต้นของการออกกำลังกาย ควรปฏิบัติอย่างน้อย สัปดาห์ ละ 2 3 ครั้ง ทำวันเว้นวัน ให้กล้ามเนื้อมีโอกาสพักผ่อน จากนั้นเมื่อร่างกายเริ่มเข้าที่เข้าทางก็สามารถเพิ่มเป็น 4 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้แต่ไม่ควรเกิน 5 ครั้งต่อสัปดาห์
ประการที่สาม ก็คือ
ระยะเวลาในการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายควรอยู่ในช่วง 20 30 นาที
โดยแบ่งเป็นช่วงอบอุ่น
ร่างกายซึ่งรวมการเหยียดยืดกล้ามเนื้อประมาณ
5 10
นาที
ช่วงออกกำลังกายแอโรบิคไม่ต่ำกว่า
12
นาที และช่วงฟื้นร่างกาย
สู่สภาพปกติอีกประมาณ 5 10 นาที
เวลาในช่วงต่าง ๆ
สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
ช่วงอบอุ่นร่างกายเป็นช่วงที่เตรียมร่างกายให้พร้อม
สำหรับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค
ในช่วงนี้ควรประกอบกิจกรรม
ที่เกี่ยวกับการยืดกล้ามเนื้อ
การทำท่ากายบริหารต่าง ๆ
ส่วนในช่วงการออกกำลังกายแบบแอโรบิคนั้น
ควรปฏิบัติอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 12 นาที
เพราะถ้าทำน้อยกว่านั้นประโยชน์ที่ได้จะเห็นไม่ชัดเจน
หลังจากออกกำลังกายแบบแอโรบิคเสร็จควรทำท่ากายบริหารแบบต่างๆ
ตลอดจนการเหยียดยืดร่างกาย
เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ
ปรับตัวลงสู่สภาพปกติ
ประการที่สี่ คือความก้าวหน้าในการออกกำลังกาย ควรเริ่มด้วยจำนวนน้อยก่อนแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดหรือความหนักของ การออกกำลังกาย ในช่วงแรกควรเริ่มด้วยการออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 55 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด จากนั้นก็อาจค่อย ๆ เพิ่มเป็นร้อยละ 60 ร้อยละ 65 ร้อยละ 70 ไปตามลำดับ
ประการสุดท้าย
คือชนิดของการออกกำลังกาย
คงไม่ต้องกล่าวมากอีกแล้ว
การออกกำลังกายที่สามารถทำให้ชีพจรหรืออัตรา
การเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นสู่ระดับที่ต้องการได้ก็คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิคนั่นเอง
ถ้าวันไหนที่เบื่อการออกกำลังกาย
แบบแอโรบิค
ก็อาจจะไปออกกำลังกายชนิดอื่นทดแทนบ้างก็ได้
เช่น เล่นกีฬาชนิดต่าง ๆ
แต่คงต้องย้ำอีกครั้งว่าควรหลีกเลี่ยงกีฬา
ที่ต้องใช้แรงปะทะ
หรือกีฬาที่ต้องใช้ความสัมพันธ์ของประสาทสูง
เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ไม่ควรออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักเลย
เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดได้
เพราะการออกกำลังกายชนิดนี้ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นไปอีก
การที่ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉงดูเป็นหนุ่มเป็นสาวขึ้น ที่สำคัญทำให้สุขภาพดีขึ้น ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเลยทีเดียว เมื่อสุขภาพดีขึ้นโรคภัยไข้เจ็บที่มาเบียดเบียนก็จะทุเลาลง หรือถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มาเบียดเบียน ก็จะมีชีวิตที่มีความสุขกระปรี้กระเปร่าขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
บทความจาก นิตยสาร ใกล้หมอ ปีที่ 20 ฉบับที่ 11 โดย รศ.ดร.วิชิต คนึงเกษม